ตีปิ๊บ..ล้างมรดกคสช.'ปิยบุตร'ลั่นเขียนรธน.ใหม่ไม่ยอมให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ชี้เป็นชี้ตาย


เพิ่มเพื่อน    

17 เม.ย.61- ปิยบุตร แสงกนกกุล โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul ระบุว่า...

Andrew Arato เสนอความคิดการจัดทำรัฐธรรมนูญแบบ post-sovereign เอาไว้ โดยมีใจความสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

ประการแรก ความคิดการทำรัฐธรรมนูญแบบ post-sovereign ต้องการคัดค้านและตอบโต้กับความคิดการทำรัฐธรรมนูญแบบ popular constituent power ที่ยึดถือว่า “ประชาชน” เป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดในการทำรัฐธรรมนูญ

ประการที่สอง ความคิดนี้ ไม่เห็นด้วยกับการยึดถือคำว่า People เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะ People เป็นองคภาวะทางการเมืองที่มนุษย์สมมติขึ้นมาให้เป็นหน่วยในการตัดสินใจทางการเมือง แทนที่พระเจ้าและกษัตริย์ ตามกระบวนการ secularization และ rationalization ที่ไม่ยอมให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือใครคนใดคนหนึ่งชี้เป็นชี้ตายได้ แต่ต้องเป็นคนทั่วไป คนทุกคน อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด เมื่อสร้าง People แล้ว ก็ต้องตามมากำหนดอีกว่า ใครเป็น People ใครถูกนับรวม ใครถูกคัดออก และต้องมีวิธีในการแสดงออกของ People อีก ซึ่งกรณีนี้เอง เปิดโอกาสให้ใครคนใด กลุ่มใด เข้าฉวยชิงเอา People ไปใช้ เกิดการกีดกันสิ่งที่ไม่ถูกนับว่าเป็น People ออกไป พลังทางการเมืองที่ชนะก็เป็น People ฝ่ายแพ้ ก็ถูกคัดออก

การทำรัฐธรรมนูญแบบนี้ ไม่อาจหาฉันทามติได้ และอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งใหม่อีก หากจัดการไม่ดี ก็จะเกิดการตอบโต้ไปมา จนหารูปแบบรัฐธรรมนูญที่พอจะยอมรับกันไม่ได้เลย

ประการที่สาม การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ อย่าง radical ไม่จำเป็นต้องเกิดจาก Revolution เสมอไป

ประการที่สี่ การทำรัฐธรรมนูญควรใช้รูปแบบ round table เอาทุกส่วนที่แชร์อำนาจกันอยู่เข้ามาทำร่วมกัน

การทำรัฐธรรมนูญมีหลาย stage ไม่ใช่มีแค่การยกร่างและประชามติเท่านั้น แต่ยังต้องมีขั้นตอนของการวางกรอบการทำรัฐธรรมนูญไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว การสร้างหลักประกันว่าการทำรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกรอบ การทำรัฐธรรมนูญตามแนวทางนี้ จึงต้องอาศัยทั้ง ประชาชน กลุ่มอำนาจต่างๆ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ พรรคการเมืองต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญ

โดยทั้งหมดต้องพร้อมที่จะเข้าสู่การทำรัฐธรรมนูญ มีเสรีภาพในการแสดงออก เวทีสนทนาที่เปิด และรับประกันเสรีภาพทางการเมืองไว้

การทำรัฐธรรมนูญแนวนี้ อาจยาก ใช้เวลา ต้องอาศัยสถาบันการเมืองที่เชื่อและเป็นประชาธิปไตยจริงๆ ต้องมีเสรีภาพทางการเมืองจริงๆ แต่ผลที่ได้ อาจทำให้รัฐธรรมนูญมั่นคงและเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยได้

รัฐธรรมนูญ จะไม่ใช่เอกสารทางกฎหมายของการยืนยันว่า “ผู้ชนะกินรวบทั้งกระดาน” ส่วน “ผู้แพ้รอวันเอาคืน” แต่รัฐธรรมนูญจะเป็น consensus ที่พอจะยอมรับกันได้ และเปิดทางให้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์และพัฒนาอย่างก้าวหน้าได้ต่อไปในอนาคต

รัฐธรรมนูญ 57 และ 60 ไม่ใช่กติกาที่เหมาะจะทำให้เกิดการทำรัฐธรรมนูญแบบนี้ได้

ระบอบ คสช ไม่มีทางที่จะทำให้เกิดบรรยากาศแบบนี้ได้

ศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอยู่ ไม่น่าเชื่อถือพอที่จะเป็นกลไกรับประกันกระบวนการทำรัฐธรรมนูญแบบนี้ได้

ดังนั้น

เราจึงต้องเริ่มต้นจาก จัดการมรดก คสช ยุติการสืบทอดอำนาจ คสช เปลี่ยนแปลงศาลรัฐธรรมนูญ แก้ รธน เพื่อเปิดทางให้ทำ รธน ใหม่

เพื่อสร้าง “สนาม” ของการทำรัฐธรรมนูญที่เปิดกว้าง เสรี ให้ทุกส่วนได้แชร์กัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"