เมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมา มีบุคคลสำคัญ ในราชราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง สิ้นพระชนม์ สร้างความสร้างความเศร้าโศกให้กับชาวที่อาศัยในต่างประเทศ และคนรุ่นเก่าในแผ่นดินลาว
เจ้าฟ้าโสริยะวงศ์สว่าง ประสูติเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2480 ที่โฮงหัวลาด พระราชอาณาจักรหลวงพระบาง แคว้นลาว ประเทศอินโดจีน ฐานันดรศักดิ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัฐบาลพลัดถิ่นลาว พระโอรสองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนากับพระอัครมเหสีเจ้าหญิงคำผูย สิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส สิริพระชนมายุ 81 พรรษา
พ.ศ. 2518 ราชอาณาจักรลาวเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย ไปสู่ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ราชบัลลังก์ลาวถูกยกเลิก สมาชิกราชวงศ์ถูกถอดออกจากฐานันดร บรรดาประชาชน พ่อค้าชาวขาย นักการเมืองนับล้านคน อพยพหนีคอมมิวนิสต์ออกนอกประเทศ
ทว่าพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ยังคงประทับอยู่ในลาว รวมทั้งอดีตกษัตริย์ พระราชินี องค์มกุฎราชกุมาร พระราชโอรส เจ้าฟ้าชายพระอนุชาในพระมหากษัตริย์ พร้อมด้วยสมาชิกครอบครัว
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีความพยายามจากฝ่ายราชอาณาจักรทูลเชิญอดีตสมาชิกราชวงศ์ให้เสด็จลี้ภัย รวมทั้งการต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ด้วยกำลังทางทหารอยู่หลายครั้งแต่ผลลัพธ์กลับเป็นลบ ย่างเข้าปีที่ 2 แห่งการปลดปล่อย สมาชิกราชวงศ์ถูกเชิญตัวไปยังค่ายสัมนา เพื่อเรียนรู้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล อดีตกษัตริย์ พระราชินี องค์มกุฎราชกุมาร เจ้าฟ้าชายศรีสว่าง พระราชวงศ์ ราชนิกุล ที่ประทับในลาวเกือบ 30 องค์ถูกเชิญตัวไปพร้อมๆกัน ขณะที่เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง และพระชายา ซึ่งประทับอยู่ในนครเวียงจันทน์ ทรงไหวตัวหนีออกจากที่ประทับได้ทันท่วงที ก่อนที่จะเสด็จข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน และขอลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของกษัตริย์และราชินีลาวองค์สุดท้าย จึงเป็นพระราชโอรสองค์เดียว ที่สามารถเอาชีวิตรอดจากระบอบใหม่ได้ หลังการรวมตัวกันของอดีตนักการเมือง ข้าราชการ-ทหาร ประชาชนลาวโพ้นทะเล เพื่อจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ได้ทูลเชิญ เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์ องค์ประธานสมาชิกพระราชวงศ์ รับราชภาระ “ผู้สำเร็จราชการ ต่างพระเนตร พระกรรณพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาว”
ระหว่างลี้ภัยในฝรั่งเศส เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง เปรียบดังองค์สมมุติกษัตริย์ของลาวพลัดถิ่น ทรงปฏิบัติราชกิจตลอดทั้งปี เพื่อบำรุงความเป็นลาวให้คงมีอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางศาสนา และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหล่อเลี้ยงลมหายใจของประเพณีโบราณลาว เช่น การเสด็จไปเป็นองค์ประธานร่วมกับเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง องค์รัชทายาทลาว ในพระราชพิธีบาศรีหลวง ที่ประชาชนลาวโพ้นทะเลพร้อมใจกันจัดถวาย บุญปีใหม่ บุญเข้า-ออกพรรษา ตลอดจนการปรากฏพระองค์ในที่ชุมนุมทหารผ่านศึก
ทรงเป็นบุคคลสำคัญของชาวลาว ทั้งในฐานะที่เป็นหนึ่งในสามชิกราชวงศ์เพียงไปกี่องค์ที่มีช่วงชีวิตพาดผ่านประวัติศาสตร์โชกเลือดบนแผ่นดินลาว และในฐานะของศูนย์รวมความหวัง ของลาวบ้านไกล
ทั้งนี้พระเจ้ามหาชีวิต องค์สุดท้ายของลาว คือพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา และองค์ราชินีคู่พระบารมีคือ พระอัครมเหสีคำผูย ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรส-ธิดาร่วมกันทั้งสิ้น 5 พระองค์ ได้แก่
1.องค์มกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง
2.เจ้าฟ้าชายศรีสว่าง
3.เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง
4.เจ้าฟ้าหญิงฉวีวรรณสว่าง มังคละมณีวงศ์
5.เจ้าฟ้าหญิงดาราสว่าง ศรีสุภานุวงศ์
สำหรับ เจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง องค์รัชทายาทลาว ประสูติ ณ พระราชวังหลวงในเมืองหลวงพระบาง เป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าชายมงกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง องค์มกุฎราชกุมารกับสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงมณีไลย องค์มกุฎราชกุมารี เป็นพระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาว
หลังจากการปฏิวัติของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ทรงถูกนำไปยังค่ายสัมมนา แต่เจ้าสุลิวงศ์ สว่างทรงสามารถหลบหนีออกมาได้พร้อมกับพระอนุชา เจ้าธัญวงศ์ สว่าง ในปี พ.ศ. 2524 แล้วจึงเสด็จลี้ภัยไปยังกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าชายมงกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง เสด็จสวรรคตไปตั้งแต่ปี 2524 ทำให้ เจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง องค์รัชทายาทลาว เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ลำดับต้นของราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบางในปัจจุบัน ซึ่งในพระราชสำนักลาว มีการเรียกพระนามของพระองค์ว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง
เจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง ทรงเข้าศึกษาต่อด้านนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลร์มองต์-เฟร์รองด์ ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันประทับในฐานะผู้ลี้ภัย ณ บ้านพักในเขตบิวซี ชอง จอร์ ชานกรุงปารีส ไม่ต่างบ้านชนชั้นกลางทั่วไปในฝรั่งเศส ไม่ได้ใหญ่โตหรูหราเหมือนพระราชวัง
พระองค์ใช้ชีวิตเยี่ยงคนธรรมดา ไปไหนมาไหนเหมือนคนทั่วไป ไม่มีรถนำขบวน ยกเว้นไปต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศจะจัดให้เพื่อเป็นการให้เกียรติ ส่วนใหญ่แล้วพูดจาด้วยภาษาของสามัญชน ไม่ใช้ราชาศัพท์ แต่ประชาชนลาวที่อาศัยในยุโรป ต่างให้ความนับถือ
คนที่ใกล้ชิดมักเรียกเจ้าชายแบบยกย่องตามภาษาลาวว่า ‘ตุวงศ์’ เป็นคนสูงสง่า หน้าตาดี พูดน้อย เคร่งขรึม หลายคนบอกว่าพระองค์สืบคุณสมบัติทุกประการของเจ้ามหาชีวิตมาเลยทีเดียว
ในฐานะรัชทายาท สิ่งที่ต้องทำคือ การพบปะประชาชนลาวที่พำนักอยู่ในต่างประเทศทั้งหมด ในเวลานี้ก็มีจำนวนหลายแสนคนทั่วโลก เฉพาะในสหรัฐอาจจะมีมากถึง 5 แสน ในจำนวนนั้นเป็นชาวม้งเสียเกือบครึ่ง ในฝรั่งเศสอีกนับแสนคน ในแคนาดา ออสเตรเลีย ลดหลั่นกันลงไป คนเหล่านี้หนีสงครามและการปกครองระบอบคอมนิวนิสต์ออกไปตั้งรกรากในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ล้วนเคยมีประสบการณ์ภายใต้การปกครองของระบอบกษัตริย์ทั้งนั้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |