22 ก.ค.63 มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพฯ) แถลงถึงความคืบหน้าการรับคืนหนังสือบุด จากกรณีการโจรกรรมเอกสารโบราณประเภทสมุดไทยหรือสมุดข่อย (หรือเรียกในภาษาใต้ว่าหนังสือบุด) ที่เก็บรักษาอยู่ในศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภายในงานเสวนา"พลิกพับบุด : หนังสือบุดสมุดข่อยโบราณ สมบัติชาติและมรดกทางภูมิปัญญาอันหาค่ามิได้” ทั้งนี้ ได้มีการดำเนินงาน โดยคณะสงฆ์และฆราวาส จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดตั้งศูนย์รับคืนสมุดข่อยวัดพระมหาธาตุฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช และหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปญโญสวนโมกขพลารามกรุงเทพฯ หรือผ่านช่องทางเพจ ศูนย์รับบิณฑบาตคืนหนังสือบุดสมุดข่อยเมืองนคร โดยพระครูเหมเจติยาภิบาล พระสังฆาธิการประจำศูนย์
นพ. บัญชา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส ฯ ให้ข้อมูลว่า จุดประสงค์ของการจัดงานเสวนาครั้งนี้เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของหนังสือบุด โดยเฉพาะในจ.นครศรีธรรมราช ซึ่งในอดีต ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้มีการเก็บรวบรวมทำให้มีหนังสือบุดในการดูแลมากที่สุดในภาคใต้ประมาณกว่า 4,000 เล่ม ที่เปรียบเสมือนมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น และที่สำคัญคือ วัตถุประสงค์ที่ต้องการขอรับคืนจากผู้ที่มีในครอบครอง เพราะบางคนอาจจะได้ครอบครองแบบไม่สุจริต คือรับซื้อจากที่ถูกขโมยมา จากการติดตามการประกาศขายหนังสือบุดในออนไลน์ และได้ติดตามผู้ที่ประกาศขาย ซึ่งหนังสือบุดมีการซื้อขายในออนไลน์ หากมีความสมบูรณ์ก็มีมูลค่ามากถึงหลักแสนบาท หลังจากนั้นจึงได้มีการจัดตั้งศูนย์ฯรับคืนหนังสือบุด กว่า 5 วัน ที่เปิดรับคืน มีผู้ครอบครองแสดงความประสงค์คืน โดยมีการทยอยคืนมาที่หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ซึ่งเป็นหนังสือบุดสีมากถา และหนังสือบุดพระอภิธรรม และวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 มีผู้ประสงค์แจ้งคืนอีก 4 เล่ม เป็นหนังสือบุดพระมาลัยขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเล่มที่สำคัญ มีที่ส่งคืนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 37 เล่ม และที่ส่งคืนไปยังศูนย์ฯ จ.นครศรีธรรมราช อีก 3 ลัง ซึ่งจะเปิดนับในวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งรวมแล้วล่าสุดประมาณ 100 เล่มที่ได้รับคืน
ทั้งนี้ในส่วนของจำนวนหนังสือบุดที่หายไปเท่าไหร่นั้น จากที่ทางเจ้าหน้าที่ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช แจ้งไว้กว่า 300 เล่ม และจากการตามข่าวของสื่อมวลชนพบว่าอาจจะมีส่วนที่หายไปกว่า 1,000 เล่ม ซึ่งการตรวจนับล่าสุดที่จัดทำรายงานการสูญหายพบว่ามีกลุ่มหนังสือบุดที่ทำทะเบียนเหลือเพียง 1,200 เล่ม และที่ยังไม่ทำทะเบียนอีกกว่าพันเล่ม โดยในการดำเนินงานการดูแลคือ 1.การรวบรวม 2. การทำทะเบียนทั้งหมด 3. การทำไมโครฟิล์ม 4.ทำการปริวัติ คือการนำมาแปลให้เป็นภาษาไทยเพื่อให้คนอ่านได้ง่าย และส่งเสริมพัฒนาและวิจัยต่อไป
นายสุรเชษฐ์ แก้วสกุล นักวิชาการอิสระผู้มีความสนใจด้านประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช หนึ่งในคณะทำงานของศูนย์รับบิณฑบาตคืนหนังสือบุดสมุดไทยเมืองนคร และผู้ที่ทราบเบาะแสการหายไปของหนังสือบุด กล่าวว่า มีความสนใจในเอกสารหรือสมุดไทยโบราณ รวมถึงสมุดบุดด้วย จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูลและในปี 2561 ได้มีโอกาสมาชมสมุดบุดที่จัดแสดงไว้ในที่ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช และได้ชมสมุดบุดที่อยู่ในตู้เอกสารที่คัดแยกประเภทไม่ได้ คือ ยังไม่ได้ลงทะเบียน ซึ่งมีหนังสือบุดสีมากถาเก็บอยู่ และเป็นครั้งแรกที่ตนได้เห็นของภาคใต้ ซึ่งตำราสีมากถาก็มีอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ จึงได้มีการบันทึกภาพเก็บไว้ นอกจากนี้ ตนก็ได้มีการติดตามทางช่องทางออนไลน์ในกลุ่มหนังสือเก่าหรือเอกสารโบราณต่างๆ ทำให้ตนได้ทราบว่าหนังสือบุดมีการลงขายออนไลน์ โดยมีการลงขายหนังสือบุดสีมากถา เล่มที่เหมือนกับที่ตนได้เคยเห็น รวมไปถึงหนังสือบุดพระมาลัย หนังสือบุดตำรานวดเส้น จากการจรวจสอบพบว่า มีการถ่ายบนฟูกนอน ไม่ใช่โต๊ะค้นคว้าแต่อย่างใด จึงเป็นเบาะแสแรกที่เริ่มทราบการสูญหายของหนังสือบุดใน ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช จึงได้มีการรวบรวมข้อมมูลและเปรียบเทียบทางภาพถ่ายจากของเดิมที่ได้มีการบันทึกไว้ พบว่ามีตำหนิตรงกันทุกประการ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทางคณะสงฆ์และฆารวาส มีความต้องการรับคืนหนังสือบุด และคาดว่าจะมีผู้ประสงค์ส่งคืนมากขึ้น เพื่อทำการดูแลรักษา
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |