22 ก.ค.63 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) แถลงว่า เหตุผลความจำเป็นในการขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังจากเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ก.ค.เราได้เชิญหน่วยงานความมั่นคง ประชาคมข่าวกรอง และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ซึ่งคุณหมอทั้งหลายได้ยืนยันกับเราว่า ยังต้องมีกฎหมายในลักษณะนี้ควบคุมต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อน
พล.อ.สมศักดิ์ กล่าวว่าเหตุผลเพราะว่าจากสถานการณ์โลกปัจจุบันจะพบว่ามีการติดเชื้อทั่วโลกเฉลี่ย 2 แสนคนต่อวัน ซึ่งยังเป็นสถานการณ์ที่ยังรุนแรงอยู่ และอยู่รายล้อมประเทศไทย เราจึงยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง และด้วยเหตุผลว่าขณะนี้อยู่ในช่วงที่เราจำเป็นต้องเปิดประเทศมากยิ่งขึ้น และวันนี้ในที่ประชุมศบค.ได้ให้ความเห็นชอบในหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการเปิดประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการรับแรงงานต่างด้าว การเปิดให้มีการผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น การมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น การอนุญาตให้ต่างชาติมาจัดประชุมในประเทศไทย หรือแม้แต่อนุญาตให้มาถ่ายทำในประเทศไทย ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่อยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยทางด้านสาธารณสุข
"เครื่องมือเพียงอย่างเดียวที่จะประกันได้ว่าสิ่งที่เราอนุญาติหรือผ่อนคลายไปในเชิงธุรกิจ เชิงเศรษฐกิจจะถูกช่างน้ำหนักโดยความปลอดภัยทางด้านสาธาณสุข เครื่องมือเพียงอย่างเดียวในขณะนี้ที่มีอยู่คือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ต้องขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ยังไม่มีกฎหมายตัวอื่น แต่ไม่ได้แปลว่าเรานิ่งนอนใจ
ผมเข้าใจดีว่าทีมงานกฎหมายและกระทรวงสาธารณสุขเองพยายามเร่งรัดที่จะปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ โดยเฉพาะพ.ร.บ.โรคติดต่อ ที่เป็นกฎหมายสำคัญในการใช้ควบคุมโรค เพื่อให้มีบทบาทและอำนาจหน้าที่มากยิ่งขึ้นใกล้เคียงกับพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั่นเป็นความพยายามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังทำ แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ที่ยังไม่มีกฎหมายแบบนั้นออกมา ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องคงมาตรการสำคัญของรัฐ โดยเฉพาะในการกักตัว 14 วัน เป็นมาตรการสำคัญเครื่องมือเดียวที่จะทำได้คือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเพื่อให้พี่น้องประชาชนทั่วไปได้สบายใจยิ่งขึ้น"เลขาฯสมช.ระบุ
เลขาฯสมช.กล่าวอีกว่า เราใช้มาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินอย่างค่อนข้างที่จะเบาที่สุดแล้ว ถึงวันนี้เราไม่ได้มีการห้ามการออกนอกเคหะสถานหรือเคอร์ฟิว และวันนี้สิ่งที่เราจะไม่ห้ามต่อไปคือ เราจะไม่ใช้มาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาห้ามการชุมนุม เพื่อแสดงให้เห็นว่าการต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินในเดือนสิงหาคมนี้ มีเจตนาเพื่อใช้ในการควบคุมโรคโดยบริสุทธิ์ใจแต่เพียงอย่างเดียว การห้ามการชุมนุมจะไม่ปรากฎอยู่ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่จะต่อออกไปอีก 1 เดือน แต่การชุมนุมทางการเมืองท่านต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นกฎหมายปกติ
"ขอยืนยันตรงนี้ว่าเราจะเสนอครม.ในวันอังคารที่จะถึงนี้ในการต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน โดยไม่มีมาตรการเรื่องการห้ามการชุมนุม เพื่อให้มั่นใจว่าเราใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อประโยชน์ทางด้านสาธารณสุขจริงๆ"พล.อ.สมศักดิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีการชุมนุมที่ผ่านมาที่บางคนถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับพ.ร.ก.ฉุกเฉินไปแล้ว จะเป็นอย่างไรต่อไป พล.อ.สมศักดิ์กล่าวว่า ตรงนั้นต้องว่าไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่การต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินในเดือนส.ค.เราจะไม่นำประเด็นของการชุมนุมมาเกี่ยวข้องอีกต่อไปแล้ว ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะแจ้งข้อหาโดยใช้กฎหมายอื่นๆหรือแม้กระทั่งใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ตาม
เมื่อถามว่าฝ่ายกฎหมายและกระทรวงสาธารณสุขกำลังเร่งรัดปรับปรุงพ.ร.บ.โรคติดต่อและกฎหมายที่จะมาใช้แทนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เราได้พูดคุยหรือไม่ว่ากรอบเวลาการปรับปรุงกฎหมายจะใช้เวลานานแค่ไหน พล.อ.สมศักดิ์กล่าวว่า ตนใช้คำว่าเร็วที่สุด ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นเราตั้งศบค.ขึ้นมามี2 กฎหมายที่ใช้ควบคู่มาตลอดคือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินและพ.ร.บ.โรคติดต่อ ซึ่งเมื่อใช้มาระยะหนึ่งเราพบว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินมีจุดดียังไง หรือพ.ร.บ.โรคติดต่อมีข้อเสียอย่างไร ซึ่งทั้งสองกฎหมายถูกออกแบบมาเพื่อประโยชน์ต่างกัน พ.ร.บ.โรคติดต่อถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่อำนาจหน้าที่ของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้สามารถกำหนดมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการป้องกันและมาตรการแก้ไขควบคู่กันไป จึงได้เห็นการใช้ทั้ง 2 ฉบับควบคู่มาต่อเนื่อง แต่แน่นอนว่าทีมงานกฎหมายที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าทีมท่านกำลังพิจารณาอยู่ว่าถ้าเป็นเช่นนี้ต้องไปหาจุดดีของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขึ้นมาผนวกกับพ.ร.บ.โรคติดต่อ ในอนาคตจะได้ใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อเพียงกฎหมายฉบับเดียวได้
เมื่อถามว่าการต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินในเดือนส.ค.นี้ เราเอามาตรา 9 ออกไปแล้ว การชุมนุมการใช้ชีวิตของประชาชนในประเทศปกติ แต่กฎหมายนี้จะควบคุมคนที่เดินทางเข้าประเทศเพื่อกักตัว 14 วันเท่านั้น ถูกต้องหรือไม่ เลขาฯสมช.ตอบว่า ถูกต้อง ถ้าพี่น้องประชาชนสังเกตดีๆในช่วงที่เราประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อใช้บังคับประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้ทำโน่นทำนี่ หรือปิดกิจการเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรคและจำกัดการเคลื่อนไหว แต่ระยะหลังๆเป็นมาตรการผ่อนคลายจนถึงขณะนี้ระยะที่ 5 ไปแล้ว พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะใช้ประโยชน์เพื่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้มีมาตรการอื่นๆในเชิงบังคับประชาชนอีกต่อไปนั่นคือความแตกต่าง แต่เรายังคงจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปอีกสักอย่างน้อยก็ 1 เดือนก่อน เพื่อรอว่าจะมีกลไกอื่นๆที่จะมาทดแทนพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |