รู้เป็นเรื่องเป็นราว"เครื่องสำอางในไต้หวัน" 


เพิ่มเพื่อน    

    สาวๆ เคยรู้หรือไม่ว่าเครื่องสำอางจากไต้หวันที่เรานิยมใช้ไม่ว่าจะเป็น Dr.Wu, HEME หรือ 1028 นั้น กว่าจะฮิตจนเป็นที่รู้จักได้ขนาดนี้ ผ่านการผลักดันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างหนัก เพราะเครื่องสำอางเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลไต้หวันให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยในปี 2562 มูลค่าค้าปลีกสินค้ายา เวชภัณฑ์และเครื่องสำอางของไต้หวันมีมูลค่ารวมประมาณ 198,102 ล้านเหรียญไต้หวัน หรือ 209,998 ล้านบาท ซึ่งจากการสำรวจของสำนักสถิติ กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน (MOEA) พบว่าสินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเป็นสินค้าที่ครองสัดส่วนมากที่สุดของสินค้าในหมวดนี้ถึงประมาณร้อยละ 50-60 


    สินค้าเครื่องสำอางของไต้หวันได้รับอานิสงส์จากการที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในไต้หวันมากขึ้น เพราะสินค้าเครื่องสำอางมักจะเป็นหนึ่งในรายการ Buying List ของเหล่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือน เมื่อปีที่ผ่านมาไต้หวันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 11.86 ล้านคน โดยนักเดินทางจากไทยเองก็เป็นส่วนหนึ่งในจำนวนนี้ถึง 410,000 คน 


    แบรนด์เครื่องสำอางไต้หวันหลายแบรนด์มีวิธีการใช้กลยุทธ์การตลาดทางลัด โดยจัดตั้งบริษัทในประเทศที่มีความน่าเชื่อถือทางด้านสินค้าเครื่องสำอาง ส่วนโรงงานผลิตจะอยู่ในไต้หวันหรือประเทศอื่นก็ได้ ซึ่งจะเห็นได้จากกลยุทธ์ในการทำการตลาดของ Timeless Truth (TT) ซึ่งเป็นแผ่นมาส์กหน้าแบรนด์ไต้หวัน แต่จดทะเบียนที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วค่อยขายกลับมาไต้หวันอีกที เช่นเดียวกับบริษัท Chia-Lin Pau Chemical ของไต้หวัน ที่เริ่มจากการจดทะเบียนแบรนด์ Kate Tokyo ที่ญี่ปุ่น แต่ดังไปทั่วเอเชียเลยทีเดียว
    จากการที่แนวคิดด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมได้รับความสำคัญมากขึ้น และสาวๆ ไต้หวันเองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเช่นกัน ถือเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากประเทศไทย ที่จะใช้ข้อได้เปรียบของการมีวัตถุดิบจากธรรมชาติและสมุนไพรอยู่จำนวนมาก มาพัฒนาสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเพื่อเจาะตลาดไต้หวัน นอกจากนี้ การที่ไต้หวันเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยมีประชากรที่อายุ 65 ปีขึ้นไปประมาณ 3.68 ล้านคน (สถิติเดือนพฤษภาคม 2563) คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การพัฒนาสินค้าเครื่องสำอางสำหรับผู้สูงวัยก็เป็นอีกแนวโน้มหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน


    ระยะหลังมานี้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ในไต้หวันค่อยๆ ทุเลาลง รัฐบาลจึงผ่อนคลายความเข้มงวดในการดำเนินมาตรการในการป้องกันโรคระบาดต่างๆ รวมทั้งดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตในแบบเดิม เมื่อใดก็ตามที่สถานการณ์การแพร่ระบาดหมดไป หรือผู้คนมีความคุ้นเคยในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้แล้ว พฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็จะกลับมาเป็นปกติดังเดิมตามรูปแบบของ Old Normal ที่เคยเป็นมา แต่หากเกิดการระบาดอีกครั้งหลังจากเปิดพรมแดน ก็อาจทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจจนส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศเกิดการหดตัวอีกครั้งก็เป็นได้ ซึ่งผู้คนก็อาจจะมีความเคยชินกับวัฏจักรแบบนี้จนกลายเป็นเรื่องปกติไปในที่สุดได้เช่นกัน.
    


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"