ยูเออีนำร่องโลกอาหรับ ส่งยาน'โฮป'สำรวจดาวอังคาร


เพิ่มเพื่อน    

"โฮป" ยานสำรวจดาวอังคารแบบไร้มนุษย์ดวงแรกของโลกอาหรับถูกส่งขึ้นจากฐานปล่อยจรวดของญี่ปุ่นอย่างราบรื่นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยมีกำหนดถึงวงโคจรดาวแดงต้นปีหน้า ตรงกับโอกาสครบรอบ 50 ปีการรวมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

จรวดที่ผลิตโดยมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ ทะยานจากฐานปล่อยจรวดของศูนย์อวกาศทาเนงาชิมะของญี่ปุ่น เมื่อเช้าวันจันทร์ / Mitsubishi Heavy Industries

    จรวดเอช 2-เอ ของญี่ปุ่นนำยานสำรวจโฮปที่พัฒนาโดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยของศูนย์อวกาศทาเนงาชิมะทางใต้ของญี่ปุ่น เมื่อเวลา 06.58 น.ของวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับ 04.58 น.วันเดียวกันของไทย เพื่อเดินทางไกล 500 ล้านกิโลเมตรไปสำรวจสภาพอากาศและภูมิอากาศของดาวอังคาร

    เอเอฟพีกล่าวว่า เดิมการส่งยานสำรวจซึ่งมีชื่อในภาษาอาหรับว่า อัลอามัล กำหนดไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ถูกเลื่อน 2 ครั้งเพราะสภาพอากาศไม่อำนวย แต่การปล่อยจรวดเมื่อวันจันทร์ผ่านพ้นอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นเกือบ 1 ชั่วโมง ยานสำรวจก็แยกตัวออกจากจรวดตามแผนที่วางไว้

    ที่กรุงดูไบของยูเออี บรรยากาศเต็มไปด้วยความตื่นเต้นและความปีติ อาคารเบิร์จคอลิฟะห์ที่เป็นตึกระฟ้าสูงที่สุดในโลก แสดงความมีส่วนร่วมด้วยการประดับไฟนับถอยหลัง 10 วินาที  

    ยูซุฟ ฮาหมัด อัลไชบานี ผู้อำนวยการศูนย์อวกาศโมฮัมเหม็ด บิน ราชิด กล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่ญี่ปุ่นภายหลังการปล่อยจรวดว่า ภารกิจนี้เป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับยูเออีและภูมิภาคนั้น "มันได้สร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชนหลายล้านคนในภูมิภาคนั้นให้กล้าฝันและทำงานหนักเพื่อให้บรรลุถึงสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้" เขากล่าว

    โครงการของยูเออีเป็น 1 ใน 3 โครงการเดินทางสู่ดาวอังคาร ซึ่งรวมถึงยานเทียนเหวิน-1 ของจีน และมาร์ส 2020 ของสหรัฐ ที่ฉวยโอกาสจากช่วงเวลาที่โลกและดาวอังคารอยู่ใกล้กันมากที่สุด โดยข้อมูลของนาซาระบุว่า เดือนตุลาคมนี้ ดาวอังคารจะอยู่ห่างจากโลกเพียง 62.07 ล้านกิโลเมตร

    คาดการณ์ไว้ว่า โฮปจะเข้าสู่วงโคจรดาวอังคารภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งตรงกับโอกาสครบรอบ 50 ปีการรวม 7 เอมิเรตส์เข้าด้วยกันเป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภารกิจของยานโฮปจะแตกต่างจากยานสำรวจอีก 2 ลำที่มีกำหนดปล่อยในปีนี้ โดยยานของยูเออีจะไม่ลงจอดบนดาวแดง แต่จะโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงนี้นาน 1 ปีดาวอังคาร หรือ 687 วัน

    แม้วัตถุประสงค์ของภารกิจนี้คือการศึกษาภาพที่ครอบคลุมของพลศาสตร์สภาพอากาศ แต่ยานสำรวจดวงนี้ยังเป็นรากฐานสำหรับเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นมาก นั่นคือการตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคารภายใน 100 ปี รัฐบาลดูไบได้ว่าจ้างสถาปนิกมาจินตนาการว่าเมืองบนดาวอังคารจะมีหน้าตาอย่างไร และได้สร้าง "เมืองวิทยาศาสตร์" จำลองไว้กลางทะเลทรายโดยใช้งบราว 135 ล้านดอลลาร์

    รัฐบาลยูเออียังต้องการให้โครงการนี้เป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชนชาวอาหรับในภูมิภาคนั้น ซึ่งมักได้รับความเสียหายเพราะความขัดแย้งข้ามนิกายและวิกฤติเศรษฐกิจ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"