สุดแสนอาลัย ครูเพลงแห่งเพลง 'พิมพ์ปฏิภาณ' ศิลปินแห่งชาติ เสียชีวิตแล้วในวัย 82ปี


เพิ่มเพื่อน    

   

 

 

      วันนี้ - นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงาน นายพิมพ์ปฏิภาณ  พึ่งธรรมจิตต์  ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พุทธศักราช 2560 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19  กรกฎาคม 2563   เวลา 14.00  น.   ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร  ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด สิริรวมอายุ 82  ปี 5 เดือน โดยทางญาติแจ้งว่า ได้ดำเนินการขอพระราชน้ำหลวงอาบศพ ในวันที่ 21  กรกฎาคม 2563   และกำหนดสวดพระอภิธรรมศพวันที่ 21 – 27  กรกฎาคม 2563   เวลา 19.00  น. ณ  วัดบัวขวัญ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศล เป็นเวลา 100  วัน โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพให้ต่อไป

      อธิบดี สวธ. กล่าวว่า นอกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ และจะขอพระราชทานเพลิงศพแล้ว ยังให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000  บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000  บาท ตามระเบียบสวัสดิการของศิลปินแห่งชาติ

 

 

      สำหรับประวัติของนายพิมพ์ปฏิภาณ  พึ่งธรรมจิตต์ เกิดวันที่ 16  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481  ที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส  ได้ฝึกการเล่นดนตรีอยู่ในวงโยธวาทิตของโรงเรียน และได้หัดเรียนเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือ “ปิคโคโล่” ต่อมา ได้ร่วมบรรเลงกับวงแตรวงของโรงเรียนขณะที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง ได้มีโอกาสเรียนดนตรีในระดับที่สูงขึ้นจากครูผู้สอนจากวงดุริยางค์ ของกรมตำรวจ พ.ศ. 2499 ก็ได้ศึกษาด้านดนตรีที่สูงขึ้นกับอาจารย์ อาวุธ เมฆเรียบ  ซึ่งเป็นอาจารย์สอนทางด้านดนตรีของโรงเรียนพณิชย์การพระนครด้วย ในระหว่างที่ศึกษาได้มีโอกาสเล่นดนตรีในงานแสดงต่างๆ และต่อมาได้สมัครเรียนด้านการเรียบเรียงเสียงประสานกับอาจารย์แมนรัตน์  ศรีกรานนท์  ศิลปินแห่งชาติ ที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ ปทุมวัน รุ่นแรกอีกด้วย พ.ศ. 2505-2506  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จทรงดนตรีร่วมกับนักดนตรีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วงดนตรี TU Band  และนายพิมพ์ปฏิภาณ  ยังเป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมเล่นแซกโซโฟนในวง ด้วยเป็นผู้ที่มีใจร่าเริง แจ่มใสและมีอารมณ์ดีอยู่เสมอ และสามารถพูดภาษามลายู (ยาวี) ได้อย่างคล่องแคล่ว และออกเสียงได้อย่างชัดเจน จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแต่งเพลงและการเรียบเรียงเสียงประสาน โดยใช้วิธีการสร้างแนวทำนองให้สอดคล้องกับคำร้อง เนื้อหาและความหมายของเพลง รวมทั้งใช้เทคนิคแบบดนตรีสากลและเลือกใช้เครื่องดนตรีได้อย่างเหมาะสมสื่อถึงอารมณ์ของเพลงได้อย่างไพเราะ

     ผลงานประพันธ์ เช่น เพลงแม่สาย เพลงพะวงรัก เพลงเทพธิดาดอย เพลงโชคดีที่มีในหลวง เพลงสมเด็จย่าของชาวไทย เพลงพุทธานุภาพ เพลงมหาราชินี เป็นต้น ยังคงสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งได้สร้างห้องบันทึกเสียง เป็นที่ถ่ายทอด ให้ความรู้และเทคนิคในการร้องเพลงให้แก่นักร้องและผู้ที่มาบันทึกเสียง ทั้งยังควบคุม การฝึกฝนร้องเพลงให้กับกลุ่มที่มาร้องเพลงประสานเสียงสร้างศิลปินลูกกรุงหน้าใหม่อย่างต่อเนื่อง   จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พ.ศ. 2560

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"