ตั้งกรรมการกี่ชุด รัฐวิสาหกิจก็ยังขาดทุน


เพิ่มเพื่อน    

          แผนการ "ปฏิรูป" รัฐวิสาหกิจของไทยมีการพูดและเขียนเป็นแผนมาช้านาน

            รัฐบาลชุดนี้มีการตั้ง Super Board เพื่อศึกษาและเสนอแผนยกเครื่องรัฐวิสาหกิจที่เรียกว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร.

            ตอนที่ตั้งคณะกรรมการชุดนี้ก็มีความหวังว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะรัฐวิสาหกิจของประเทศมีทั้งที่ขาดทุนมากมายและที่มีกำไรมหาศาล

            ลักษณะพิเศษของรัฐวิสาหกิจประเทศไทยคือ การมีกฎหมายคุ้มครองให้ทำกิจกรรมที่ผูกขาด  เอกชนไม่อาจจะแข่งขันได้เพราะเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่วิสาหกิจที่เป็นของรัฐนั้นทำแต่เพียงผู้เดียว

            ผลที่ตามมาก็คือ ความไร้ประสิทธิภาพด้วยเหตุผลมากมายหลายประการ ตั้งแต่เรื่องกฎเกณฑ์กติกาไปถึงคุณภาพของบุคลากร และช่องว่างที่ทำให้เกิดคอร์รัปชันมากมายหลายด้าน

            แม้จะมีการแต่งตั้งคนที่มีความรู้ความสามารถเข้าไปอยู่ใน Super Board หลายคน แต่ก็ไม่อาจจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐวิสาหกิจในลักษณะที่เกิดผลได้

            เหตุผลมีมากมายหลายด้านเช่นกัน...ที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นเพราะการขาด "ความกล้าหาญทางการเมือง" หรือ Political Will ของผู้นำ ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคอันเกิดจากการที่กลุ่มซึ่งมีผลประโยชน์อยู่เดิมนั้นวิ่งเต้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มที่

            จนถึงวันที่รัฐวิสาหกิจไม่อาจจะทนขาดทุนได้อีกต่อไป ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูเพราะอยู่ในสภาพล้มละลาย หนี้สินล้นพ้น ไม่อาจจะเดินหน้าต่อไปได้หากไม่มีการปรับเปลี่ยนอย่างจริงจัง

            ทางออกที่เห็นชัดเจนสำหรับรัฐวิสาหกิจที่ล้มเหลวเหล่านี้คือ จะต้องให้พ้นจากสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจและต้องสามารถบริหารให้อยู่ได้ด้วยตนเอง

            หากอยู่ไม่ได้ด้วยตนเองก็ต้องล้มหายตายจากไป

            เพราะไม่มีองค์กรใดมีสิทธิ์ใช้เงินอุดหนุนจากภาษีประชาชนไปเรื่อยๆ โดยไม่สามารถตอบได้ว่ากิจกรรมที่ตนทำอยู่นั้นยังเป็นที่ต้องการของใครหรือไม่

            ยิ่งประเทศตกอยู่ในสภาวะวิกฤติอันเกิดจากโควิดและการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจนเกิด "ความป่วน" หรือ disruption อย่างรุนแรง ก็ยิ่งจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกันขนานใหญ่

                                                            (ใส่รูป กาแฟดำ)

 

                                                      ขอบคุณเพจ Agenda

 

                ผมเห็นข้อมูลชุดนี้ที่เพจของ Agenda ว่าด้วยรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนมากที่สุด 6 แห่งจากผลประกอบการปีที่ผ่านมา นำมาแบ่งปันเพื่อให้ได้เห็นภาพที่น่าเป็นห่วงและที่ต้องมีการลงมือแก้ไขกันอย่างจริงจัง ดังนี้

            1.การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

            ในปี 2562 รายได้ 16,136,240,809.92 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 29,860,060,904.07 ล้านบาท สาเหตุที่ขาดทุนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายด้านการเดินรถขนส่ง 26% ค่าใช้จ่ายด้านค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 20% และขาดทุน 17,228,835,736.83 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 จะขาดทุนที่ 12,481,750,815.23 ล้านบาท

            2.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

            ในปี 2562 รายได้ 188,954,448,683.00 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 199,989,053,738.00 ล้านบา สาเหตุที่ขาดทุนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำมันเครื่องบิน 27% ค่าใช้จ่ายด้านค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน 16% และขาดทุน 12,016,470,577.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 จะขาดทุนที่  11,569,125,225.00 ล้านบาท

            3.องค์การคลังสินค้า (อคส.)

            ในปี 2562 รายได้ 32,923,779,278.98 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 44,716,999,631.19 ล้านบาท สาเหตุที่ขาดทุนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนขาย 92% ค่าใช้จ่ายด้านหนี้สงสัยจะสูญ 6% และขาดทุน 11,793,220,352.21 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 จะขาดทุนที่ 6,623,738,236.64 ล้านบาท

            4.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

            ในปี 2562 รายได้ 7,028,354,073.96 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 14,630,876,766.08 ล้านบาท สาเหตุที่ขาดทุนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนในการเดินรถ 59% ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนทางการเงิน 20% และขาดทุน 7,602,522,692.12 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 จะขาดทุนที่ 6,174,557,615.49 ล้านบาท

            5.การยาสูบแห่งประเทศไทย (กยส.)

            ในปี 2562 รายได้ 50,291,992,401.09 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่าย (รวมกับต้นทุนขาย และขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์) 53,293,111,536.54 ล้านบาท และสาเหตุที่ขาดทุนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายด้านค่าใช้จ่ายในการขาย 93% ค่าใช้จ่ายด้านค่าใช้จ่ายในการบริหาร 6% ทำให้ขาดทุนสำหรับปีอยู่ที่ 2,454,219,635.02 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 จะขาดทุนที่ 374,787,905.11 ล้านบาท

            6.บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

            ในปี 2562 รายได้ 2,968,372,926.00 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่าย (รวมกับค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้) 3,426,659,903.00 ล้านบาท สาเหตุที่ขาดทุนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโทรทัศน์และวิทยุ 70% ค่าใช้จ่ายด้านค่าใช้จ่ายในการบริหาร 17% ทำให้ขาดทุนสำหรับปีอยู่ที่ 458,286,977.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 จะขาดทุนที่ 378,011,297.00 ล้านบาท

            ทีมเศรษฐกิจในคณะรัฐมนตรีที่จะปรับใหม่จะต้องทำอะไรเพื่อไม่ให้เราติดกับดักของรัฐวิสาหกิจไร้ประสิทธิภาพอย่างนี้?

            ไม่แน่ COVID-19 อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เราต้องเริ่มต้นทำอะไรจริงจังเสียทีกับการเผาผลาญเงินงบประมาณของเราอย่างไร้อนาคตมายาวนานก็ได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"