'ประยุทธ์'ปลื้มภาพรวม'สงกรานต์'


เพิ่มเพื่อน    

    สรุปยอด 7 วันอันตรายช่วงสงกรานต์วันที่ 4 เกิดอุบัติเหตุ 2,449 ครั้ง เสียชีวิต 248 ราย บาดเจ็บ 2,557 คน "โคราช" แชมป์สังเวยเฝ้าถนน พบเส้นทางรอง-ทางเชื่อมเกิดเหตุบ่อยสุด "ศปถ." เพิ่มความเข้มเดินทางกลับ กทม. "คสช." ยึดรถ จยย. 3,148 คัน รถยนต์  928 คัน "บิ๊กตู่" พอใจบรรยากาศภาพรวมทั่วประเทศ 
    เมื่อวันที่ 15 เม.ย. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2561 ช่วง 7 วันอันตราย ซึ่งเป็นวันที่ 4 ของการรณรงค์ "ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร" ว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่าย สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-14 เม.ย.61 เกิดอุบัติเหตุ 2,449 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 248 ราย ผู้บาดเจ็บ 2,557 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต หรือตายเป็นศูนย์ มี 8 จังหวัด ได้แก่ ยะลา ระนอง ลพบุรี สตูล สมุทรสงคราม หนองคาย หนองบัวลำภู และอ่างทอง จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 99 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 17 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 109 คน  
    นพ.โอภาสกล่าวว่า ในส่วนสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 14 เม.ย.2561 ซึ่งเป็นวันที่ 4 เกิดอุบัติเหตุ 603 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 57 ราย ผู้บาดเจ็บ 626 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 43.62 ขับรถเร็ว ร้อยละ 25.70 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.58 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 65.17 บนถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 43.62 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 32.84 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 30.68 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 22.11
    "จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วงวันที่ 13-14 เม.ย.2561 พบถนนสายรองและเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอำเภอมีสถิติอุบัติเหตุทางถนนสูง เนื่องจากหลายพื้นที่มีการเล่นน้ำสงกรานต์ และเฉลิมฉลองด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบรถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้อัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูง มีสาเหตุหลักจากการขับรถเร็ว และดื่มแล้วขับ ประกอบกับในวันนี้หลายพื้นที่ยังคงเล่นน้ำสงกรานต์ ศปถ.จึงได้กำชับให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเน้นการเรียกตรวจของด่านชุมชน เพื่อกวดขันพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ ทั้งดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และไม่สวมหมวกนิรภัย รวมถึงการเล่นน้ำสงกรานต์ท้ายกระบะที่อาจก่อให้เกิดอันตราย" นพ.โอภาสกล่าว 
    รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ด้าน สธ.ได้กำชับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ โดยได้จัดเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย รวมถึงยานพาหนะให้พร้อมเข้าถึงจุดเกิดเหตุทันที หากประชาชนพบเห็นหรือประสบอุบัติเหตุ สามารถแจ้งเหตุได้ทางสายด่วน 1669 
    ด้านนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มงานภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง กล่าวว่า ในที่ 16 เม.ย. คาดว่าประชาชนจะเดินทางกลับเป็นจำนวนมาก ศปถ.จึงได้สั่งการให้จังหวัดเตรียมพร้อมดูแลความปลอดภัยและอำนวยการจราจรบนเส้นทางสายหลัก พร้อมจัดเตรียมจุดบริการ จุดพักรถ และการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้เพียงพอ เพื่อรองรับการเดินทางกลับของประชาชน
    ส่วน พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงมาตรการดื่มไม่ขับ จับยึดรถ ว่าสถิติการตรวจพบผู้กระทำผิดในลักษณะที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยประมาทด้วยการดื่มแล้วขับขี่ในวันที่ 14 เม.ย. มีรถจักรยานยนต์ 53,542 ครั้ง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องยึดรถไว้ 3,148 คัน ยึดใบอนุญาตขับขี่ 3,862 ราย และส่งผู้กระทำผิดดำเนินคดี 33,372 คน ส่วนรถโดยสารสาธารณะ/รถยนต์ส่วนบุคคล พบการกระทำความผิด 37,429 ครั้ง เจ้าหน้าที่ยึดรถยนต์ 928 คัน ยึดใบอนุญาตขับขี่ไว้ 3,413 ราย  และส่งดำเนินคดี 16,720 คน
    "ตลอด 4 วันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ยึดรถที่ฝ่าฝืนมาตรการดื่มไม่ขับไว้แล้ว 7,067 คัน รถจักรยานยนต์ 5019 คัน และรถยนต์ 2048 คัน ยึดใบอนุญาตขับขี่ 16,588 ราย และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดในส่วนรถจักรยานยนต์ 82,589 คน รถโดยสารสาธารณะ รถยนต์ส่วนบุคล 47,327 คน" รองโฆษก คสช.กล่าว 
    ขณะที่ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พอใจบรรยากาศสงกรานต์โดยรวมทั่วประเทศเป็นไปด้วยดี โดยประชาชนให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยมากขึ้นตามการรณรงค์ของภาครัฐและกระแสของละครอิงประวัติศาสตร์ รวมทั้งยังได้รับรายงานด้วยว่าสถิติการเกิดอาชญากรรมลดลงกว่าปีที่ผ่านๆ มา เพราะมาตรการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของภาครัฐที่เข้มงวด และพี่น้องประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เช่น โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ การเล่นน้ำด้วยความสุภาพตามแบบประเพณีไทย ไม่ใช่อุปกรณ์ที่รุนแรง และแต่งกายมิดชิด เป็นต้น
    "นายกฯ แสดงความเป็นห่วงเรื่องสุขภาพของประชาชนที่ออกไปเล่นน้ำติดต่อกันหลายวัน โดยฝากเตือนให้ระมัดระวังรักษาสุขภาพของตัวเอง" โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าว
    วันเดียวกัน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผยผลสำรวจ เรื่องความรู้สึกปลอดภัย ช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,138 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10-14 เม.ย.2561 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.2 รู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อออกนอกบ้าน โดยผู้หญิงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.5 รู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งมากกว่าผู้ชายที่เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.6 รู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อออกนอกบ้านเช่นกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"