DITP แนะผู้ประกอบการไทยรุกจับตลาดออนไลน์เมียนมาเพิ่มโอกาสส่งออกสินค้าไทย


เพิ่มเพื่อน    

15 ก.ค. 2563 นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ถึงแนวโน้มการใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียในชีวิตประจำวัน โดยพบว่าปัจจุบันชาวเมียนมา มีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น มีจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียกว่า 22 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 41 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของเมียนมาที่มี 54 ล้านคน โดยมีประชากรเป็นวัยแรงงานอายุระหว่าง 15-64 ปี คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 67 ซึ่งนับว่าเป็นช่วงอายุที่มีโอกาสจะใช้โซเชียลมีเดีย และซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ ได้ โดยประชากรส่วนใหญ่ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้นั้นจะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิดอว์ เป็นต้น
         
ทั้งนี้ ผลจากการเติบโตของการใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียของชาวเมียนมา ทำให้เป็นโอกาสของผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย ที่จะต้องพิจารณาใช้ช่องทางเหล่านี้ในการขยายตลาดส่งออกให้กับสินค้าไทย เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น และหากไทยวางแผนเข้าสู่ตลาดได้เร็ว ก็จะสร้างโอกาสได้เร็วเช่นเดียวกัน
         
นายธนวุฒิ นัยโกวิท ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 จนถึงเดือนมกราคม 2563 มีผู้ใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.6% โดยชาวเมียนมานิยมใช้โซเชียลมีเดีย ได้แก่ Facebook มีจำนวนผู้ใช้กว่า 21 ล้านบัญชี Instagram ประมาณ 640,000 บัญชี และ Linkedin ประมาณ 510,000 บัญชี
         
สำหรับสถานการณ์การค้าออนไลน์ เมียนมามีช่องทางการค้าออนไลน์ (E-Commerce Platform) โดย 5 อันดับได้รับความนิยม ได้แก่ Facebook , Shop.com.mm , Barlolo.com , Spree.com.mm และ Baganmart.com และพบว่า ชาวเมียนมามีการค้าขายสินค้าผ่านทาง Facebook และใช้วิธีเก็บเงินปลายทางเป็นส่วนใหญ่ โดยในปี 2562 มีผู้ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ (Active Online Buyers) ประมาณ 180,000 คน มูลค่าการซื้อสินค้าเฉลี่ยประมาณ 20 เหรียญสหรัฐต่อครั้ง โดย 5 อันดับสินค้าที่นิยมซื้อออนไลน์จากต่างประเทศ ได้แก่ สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า รองเท้า หมวก กระเป๋า)  เครื่องสำอาง ตั๋วรถยนต์/เครื่องบิน/รถไฟ หนังสือ เครื่องดื่มและอาหาร ตามลำดับ
         
นอกจากนี้ ยังพบว่าจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น และมีการซื้อสินค้าออนไลน์ และใช้แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารมากขึ้น ทำให้ธุรกิจให้บริการสั่งซื้อและจัดส่งอาหารผ่านออนไลน์เติบโต โดยมีแพลตฟอร์มที่สำคัญ เช่น Yangon Door2Door , Food Panda , Grab Food , Food2U , Hi-So เป็นต้น
         
อย่างไรก็ตาม ชาวเมียนมายังเป็นสังคมที่พึ่งพาการใช้เงินสด ทำให้การเติบโตของการค้าออนไลน์ยังเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีบัญชีธนาคาร Online Banking รวมถึงบัตรเครดิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการค้าออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ แต่ชาวเมียนมาเริ่มหันมาใช้ระบบ E-Wallet และ Mobile Money เช่น Wave Money , OK Dollar และ True Money เพื่อชำระเงินออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น จึงอาจช่วยส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ช ให้เติบโตขึ้นในอนาคต จึงถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย ที่จะต้องพิจารณาการเข้าสู่ตลาดผ่านช่องทางออนไลน์
         
ปัจจุบัน ประชากรเมียนมาสามารถเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ตถึงร้อยละ 41 ของทั้งประเทศ โดยมีการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือกว่าร้อยละ 55 โดยจากสถิติของธนาคารโลก พบว่ามีประชากรที่เคยซื้อสินค้าหรือชำระบิลผ่านระบบออนไลน์เพียงร้อยละ 3.6 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และมีสัดส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือ 68,240,000 หมายเลข หรือ 126% (เนื่องจากผู้ใช้ 1 คน อาจมีการใช้โทรศัพท์มากกว่า 1 หมายเลข) ทั้งนี้ เป็นการใช้ระบบบรอดแบรน์ (3G/4G) สัดส่วน 82% เมื่อปรียบเทียบกับเมื่อ 5 ปีที่ก่อนมีบัญชีผู้ใช้เครือข่ายโทรศัพท์อยู่เพียงร้อยละ 13 ของจำนวนประชากรในประเทศเมียนมา โดยในปัจจุบันมีเครือข่ายผู้ให้บริการมือถือ 4 ราย ได้แก่ 1) MPT 2) Ooredoo 3) Telenor และ 4) Mytel
           


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"