15 เม.ย.61-นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Sustarum Thammaboosadee ประเด็น พลังทหาร VS พลังนักศึกษา โดยระบุว่า
ในบรรดาพลังเคลื่อนไหวทางการเมือง หากประเมินในแง่ทรัพยากร ขบวนการนักศึกษานับเป็นจุดที่มีทรัพยากรน้อยที่สุด
ทั้งในมิติของทุน มิติของประสบการณ์ มิติของปริมาณ องค์การจัดตั้งก็ไม่เป็นระบบ ดูแล้วพลังคงน้อยกว่าชาวบ้านที่ประท้วงการสร้างเขื่อน ผู้ใช้แรงงานที่ปิดถนน หรือแม้กระทั่งกลุ่มทุนต่างๆ เสียอีก?
แต่ดูเหมือนว่า การเคลื่อนไหวของนักศึกษาแม้จะเล็กน้อยก็สร้างความตื่นตระหนกแก่ ‘นายพล’ ได้ไม่ต่างจากพลังต่างๆข้างต้น คำถามคือเหตุใดต้องกังวลกับพลังนักศึกษาขนาดนั้น? ดังที่เห็นในข่าวการบุกคุกคามถึงบ้านทั้งในกรณีนักศึกษา ที่เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ
แม้กระทั่งผู้ต่อต้านอำนาจเผด็จการด้วยกันอาจมองข้ามพลังนักศึกษาที่กระจัดกระจายและไร้พลัง แต่ สิ่งที่น่าสนใจคือพลังอนุรักษนิยมไม่เคยมองข้ามและพยายามอย่างมากในการควบคุมพลังนักศึกษา ด้วยการเสนอให้เป็น ‘เด็กดี’ วิจารณ์ในกรอบ กระตุ้นให้พยายามไต่บันไดขึ้นไป พยายามให้อยู่ในหลักวิชาหรือกติกาที่ชนชั้นนำมอบหมายให้ แต่การมีกลุ่มที่ตั้งคำถามเป็นสัญญาณอันตรายของฝ่ายอนุรักษนิยม
1.การครอบงำผ่านระบบการศึกษาเป็นกลไกที่ทรงพลังมาก ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม หล่อหลอมเด็กเกิดใหม่มาทั้งชีวิต แต่อยู่ๆพออายุย่างเข้า 20 พวกเขากลับตั้งคำถามกับฐานรากจนหมดสิ้น นี่คือสิ่งที่ฝ่ายอนุรักษนิยมเห็นว่าเป็นวิกฤติของระบบ
2.Tara Steward จาก MIT บอกว่ามนุษย์ก่อนวัย 25 ปี ทรงพลังมากเพราะกระบวนการประสาทจะสร้างความเป็นไปได้ชุดใหม่อยู่เสมอ พูดง่ายๆหากจะตีความคือระหว่างช่วงอายุ 18-25 ถ้ามนุษย์เชื่อว่าโลกที่เสมอภาคเป็นไปได้ รัฐสวัสดิการเป็นไปได้ ประชาธิปไตยคือทางออกของความขัดแย้ง การปกครองแบบเผด็จการทหารเป็นสิ่งที่ผิดเพี้ยน มีความเป็นไปได้สูงที่ปัจเจกชนนั้นจะอยู่กับความเป็นไปได้นั้นไปทั้งชีวิต ตรงกันข้ามแนวโน้มหลังอายุ 25 การสร้าง pathway ใหม่ๆยากขึ้นและมนุษย์จะเริ่มคุ้นชินกับอำนาจเดิมและทึกทักว่าเป็นความจริง
ด้วยเหตุผลนี้ นักการศึกษา-นักการทหารฝั่งอนุรักษนิยมทราบเรื่องนี้ดี และทำงานอย่างหนักเมื่อเห็นความผิดพลาด พวกเขามองเหมือนรอยรั่วเขื่อนที่อาจจะทำให้ทุกอย่างพังได้ เป็นเรื่องใหญ่ของฝั่งถือครองอำนาจ
3.แต่รัฐบาลทหารไทย ก็ยังมีมโนทัศน์ยุคสงครามเย็น คือ ใช้การปราบ จับกุม คุกคาม เป็นรายปัจเจกชน เพื่ออุดรูเขื่อน โดยไม่มองว่าโครงสร้างเขื่อนของรัฐบาลมีปัญหาแต่แรก
หากเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกระแสการรับรู้ปัญหาในหมู่นักศึกษาก็จะแผ่ขยายต่อไป สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ การเลื่อนลำดับชั้นทางสังคมยากเย็น และยังเต็มไปด้วยการเมืองที่มองพวกเขาเป็นศัตรู การยอมรับระบอบปัจจุบันคงน้อยลง
เป็นกำลังใจให้นักศึกษาผู้ถูกคุกคามจากการใช้สิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ทั้ง กรุงเทพ เชียงใหม่ และทั่วประเทศ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |