14 ก.ค.2563 นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกสินค้า ผ่านระบบเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีบนบรรจุภัณฑ์ ( Direct coding) หรืออี-แสตมป์/คิวร์อาร์โค้ด สำหรับเบียร์ ซึ่งมีวงเงินดำเนินการ 8 พันล้านบาทนั้น เป็นการขอกรอบวงเงินสำหรับดำเนินโครงการจากรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งเป็นกรอบวงเงินที่ผูกพันการดำเนินงานในช่วง 7 ปี ส่วนการใช้จ่ายเงินจะมีการพิจารณาตามวงเงินที่ต้องจ่ายจริงเท่านั้น
"กรอบวงเงินของโครงการ มาจากการนำประมาณการตัวเลขการผลิตที่คาดว่าจะอยู่ที่ 4.5 พันล้านยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นยอดผลิต 5 ปีย้อนหลังมาเป็นฐานในการคำนวณมูลค่าโครงการ จนออกมาเป็นวงเงิน 8 พันล้านบาท ซึ่งไม่เกี่ยวกับกระแสข่าวเกี่ยวกับการหาเงินเพื่อสนับสนุนการตั้งพรรคการเมืองใหม่แต่อย่างใด เพราะจริง ๆ โครงการนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และอุดการรั่วไหลของภาษี และโครงการก็เริ่มจากศูนย์ เริ่มจากไม่มีอะไรเลย โดยโครงการนี้จะช่วยให้สามารถจัดเก็บภาษีเบียร์เพิ่มขึ้นปีละ 8 พันล้านบาท" นายพชร กล่าว
นายพชร กล่าวอีกว่า การดำเนินการโครงการนี้ จะเริ่มนับหนึ่งของค่าใช้จ่ายเมื่อทุกสายการผลิตมีการติดตั้งเครื่องอี-แสตมป์เรียบร้อย พร้อมเดินเครื่องทดสอบระบบ จนกระทั่งผู้ประกอบการและกรมสรรพสามิตเห็นชอบพร้อมกัน จึงจะเริ่มคิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากโครงการ โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นว่าภายในต้นปี 2564 จะเริ่มดำเนินโครงการติดตั้งเครื่องอี-แสตมป์ได้กับ 9 โรงงาน ใน 42 สายการผลิต
“การเก็บภาษีเบียร์ที่ใช้ระบบโฟลว์มิเตอร์สอบทาน เป็นระบบเก่าซึ่งใช้มากกว่า 30 ปี ตั้งแต่ปี 2526 แล้ว ซึ่งขณะนั้นอุตสาหกรรมเบียร์ และการเก็บภาษีเบียร์ยังไม่โตขนาดนี้ โดยมีการเสียภาษีเพียงปีละ 2 พันล้านบาท แต่ปัจจุบันภาษีเบียร์เพิ่มเป็น 7-8 หมื่นล้านบาทแล้ว ประกอบการทุกวันนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ ก็พัฒนาขึ้นมาก กระทรวงการคลังจึงกำหนดยุทธศาสตร์ตั้งแต่ปี 2560 ให้กรมฯ เร่งนำเทคโนโลยีมาช่วยเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากรมฯ ได้นำระบบคิวอาร์โค้ดมาใช้กับภาษีบุหรี่ และสุราไปแล้ว และหลังจากนี้จะเริ่มปรับปรุงใช้กับเบียร์บ้าง” นายพชร กล่าว
สำหรับการเก็บภาษีด้วยระบบ Direct coding ในสินค้าเบียร์ กรมฯได้เปิดให้บริษัทเอกชนเข้าร่วมประมูล เพื่อรับบริหารจัดการพิมพ์รหัสการเสียภาษีบนกระป๋องและขวดเบียร์ โดยกรมสรรพสามิตไม่ต้องลงทุนเอง หรือใช้งบประมาณจากรัฐแต่อย่างใด ขอเพียงกรอบวงเงินเท่านั้น โดยในหลักการจะแบ่งค่าดำเนินการพิมพ์บนขวดหรือกระป๋องละ 25 สตางค์แทน ซึ่งเป็นต้นทุนพอ ๆ กับที่กรมฯ พิมพ์แสตมป์เอง ที่สำคัญระบบนี้ยังได้รับการเห็นด้วยจากโรงงานผลิตเบียร์ที่พร้อมปฏิบัติตาม และระหว่างที่ใช้ระบบใหม่นี้ ก็จะมีศึกษาถึงข้อดีข้อด้อยนำไปปรับปรุงแก้ไขควบคู่กันด้วย
นายพิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทฯ มีโรงงานผลิตเบียร์อยู่ 3 แห่ง มีกำลังการผลิต 1,540 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งทุกโรงงานพร้อมดำเนินการตาม แนวทางการจัดเก็บภาษีที่กรมสรรพสามิตพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม เพื่อให้การเก็บภาษีตรงไปตรงมาที่สุด โดยเรื่องนี้บริษัทไม่ต้องลงทุนเอง แต่กรมสรรพสามิตจะเป็นผู้ดำเนินการให้
นายสุรสิทธิ์ ทองจันทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักภาษีแลรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีความพร้อมที่จะให้โรงงานผลิตเบียร์ทั้ง 3 โรง ปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงการคลังเต็มที่ ในการปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บภาษีใหม่ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |