สสส.ร่วมกับสถาบัน RLG Live ยกขบวนวิทยากรชวนคิด สุภาวดี หาญเมธี รศ.นพ.สุริยะเดว ทรีปาตี อ.ภูวฤทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ พนิตชนก ดำเนินธรรม เรากำลังเดินข้ามบันไดก้าวใหญ่ของชีวิต โลกไม่ได้เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการ พ่อแม่ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนก่อนลูก การสร้าง EF ต้องผ่านการฝึกฝน สมองดี คิดเก่ง แก้ไขปัญหาได้ การจะสร้างลูกให้เป็นคนดีได้ พ่อแม่ก็ต้องเป็นคนดีให้ลูกเห็น มีจิตสำนึกมีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
สสส.ร่วมกับสถาบัน RLG Live ยกขบวนวิทยากรชวนคิด “จะเลี้ยงลูกให้ดีกันได้ยังไง...ในช่วง COVID-19” EP.8 ลูกของเราจะรอให้ใครสอน? พ่อแม่ก็เป็นครูของลูกได้ สุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูก RLG รศ.นพ.สุริยะเดว ทรีปาตี ผอ.ศูนย์คุณธรรม อดีต ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว อ.ภูวฤทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ ผจก.โรงเรียนอนุบาลช้างเผือกและอุปนายกสมาคมพ่อของลูกรุ่นเยาวชน (ไทยออร์ฟ ชูลแวร์ค) พนิตชนก ดำเนินธรรม คุณแม่-นักเขียน อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข อุปนายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการเมื่อวันศุกร์ที่ 12 มิ.ย.2563 เวลา 13.30 น.
การพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งในสังคม ชุมชนเกิดการเรียนรู้ อะไรคือปัจจัยสำคัญที่จะบ่งบอกว่าครอบครัวก้าวเข้าสู่ครอบครัวเปราะบาง ครอบครัวกำลังป่วย สุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูก RLG เปิดประเด็นว่าครอบครัวมีความหลากหลาย บางครอบครัวพ่อแม่ลูกไม่ได้อยู่ด้วยกัน พ่ออยู่ทางแม่อยู่ทาง ลูกไปอยู่กับปู่ย่าต่างจังหวัด ดูแล้วเหมือนจะไม่อบอุ่น แต่จริงๆ แล้วกลายเป็นครอบครัวอบอุ่น เพราะครอบครัวมีเรื่องหลากหลายมิติต่างไลฟ์สไตล์ มีความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว แม้จะอยู่ไกลกัน แม่ก็ปั๊มนมส่งไปให้ยายเลี้ยงหลานได้ พ่อแม่จะไปหาลูกใช้เวลาอย่างเต็มที่ทุกสุดสัปดาห์ อนุโลมได้ว่าครอบครัวเข้มแข็ง สัมพันธภาพไม่ได้หายไป
ครอบครัวอบอุ่นร่มเย็นเป็นเรื่องดี มนุษย์ต้องการป้อมปราการ เมื่อเข้าไปแล้วรู้สึกสบายใจ โลกป่วนในรอบ 20 ปี ดังนั้นครอบครัวต้องเข้มแข็ง ความอบอุ่นร่มเย็นไม่เพียงพอ ต้องหาโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เมื่อโลกเปลี่ยน วันดีคืนดีพ่อแม่ตกงานเพราะปัญหาโรคระบาด สภาพครอบครัวก็เป๋ได้เหมือนกัน จำเป็นต้องตั้งสติค่อยๆ คิดเพื่อหาทางออกให้กับครอบครัวในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีเป็นฐานแก้ไขปัญหา เรียนรู้ที่จะหาข้อมูล สร้างสัมพันธภาพในการตั้งหลักคิดที่ดี
เราไม่ได้กำลังแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้วิกฤติโควิด-19 นี้ผ่านพ้นไปเท่านั้น เรากำลังเดินข้ามบันไดก้าวใหญ่ของชีวิต โลกไม่ได้เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการ แต่พร้อมที่จะพัดให้เราส่ายตลอดเวลา เมื่อรู้ว่าเป้าหมายในการพัฒนาลูกอยู่ตรงไหน และถ้าพ่อแม่เข้มแข็งพอก็จะพาลูกไปสู่เป้าหมายนั้นอย่างมีปัญหาน้อยที่สุดได้ ครอบครัวหนึ่งมีฐานะยากจนอยู่ต่างจังหวัดที่อีสาน แม่มีลูก 4 คน ส่วนพ่อเสียชีวิตแล้ว ลูก 3 คนทำงานต่างจังหวัด มีลูกเพียงคนเดียวที่อยู่กับแม่ ครอบครัวนี้มีการสื่อสารพูดคุยกันตลอด ทุกคนต่างมีหน้าที่การงานทำและส่งเงินกลับมาให้มารดา ลูกๆ ร่วมมือร่วมใจกันทำให้ครอบครัวอบอุ่นอยู่เป็นสุข แม้จะมีระยะห่างก็ไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญ มีเป้าหมายอย่างชัดเจน
ในช่วงหนึ่งในทำงานที่สัมผัสกับพื้นที่ในชนบท พบกับพ่อเลี้ยงเดี่ยว แม่เลี้ยงเดี่ยว แต่มีหลักคิดตั้งสติได้รู้จักสถานการณ์ที่ตั้งมั่นให้ทำงานประสบความสำเร็จ สร้างความมุ่งมั่นทางใจให้ลูกไปสู่เป้าหมายในชีวิต คนยากจนไม่ได้ทำให้ความรักลดลงไป ความยากจนทำให้ครอบครัวถูกเขย่า แต่อยู่ที่ว่าเราแข็งแรงมากน้อยเพียงใด อุปสรรคทั้งหลายก็จะผ่านพ้นไปได้ ครอบครัวในชนบทที่เป็นครอบครัวชนเผ่า ยากจน แต่ก็ประคองสถานการณ์ไปได้ดี แต่ถ้าครอบครัวใดหลักคิดไม่แข็งแรง ทั้งค่าอาหารการกิน ค่าเล่าเรียนถูกเขย่าตลอดเวลา แต่ก็พาครอบครัวไปรอดท่ามกลางความยากจนและยังมีความสุข
ประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับคุณแม่ที่ต้องคิดไตร่ตรอง ควบคุมอารมณ์ตัวเอง มีสติที่จะประเมินตัวเอง คือคุณลักษณะของ EF วางแผนจัดระบบกล้าคิด กล้าทำ พ่อแม่ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนก่อนลูก เมื่อมี EF เรียนหนังสือรู้หนังสือจะทำอะไรต่อไปในชีวิต เป้าหมายด้านการศึกษา พัฒนาเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องพูดคุยกันในครอบครัว ตั้งเป้าหมายว่าอยากให้ลูกเป็นอะไร เมื่อมีสัมมาอาชีพพึ่งพาตัวเองได้ และมีความสามารถที่จะช่วยเหลือคนอื่นและสังคมได้ การที่เราเกิดมาจะหวังแต่พึ่งพิงพึ่งพาคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องแยแสให้ความสนใจคนอื่นด้วย หมายความว่าลูกต้องพึ่งพาตนเองได้ และช่วยเหลือชุมชน สังคมได้ อยู่กับคนอื่นเป็นและแก้ไขปัญหาเป็น จึงจะบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้
“เมื่อวันก่อนขับรถตามหลังรถ 3 คันที่ติดป้ายข้อความว่า ลูกอธิบดี สะท้อนถึงระบบคิดที่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ใช้ยศถาบรรดาศักดิ์ การสร้าง EF ต้องผ่านการฝึกฝน สมองดี คิดเก่ง แก้ไขปัญหาได้ กำกับตัวเองให้พึ่งพาตัวเองและช่วยเหลือคนอื่น ท่านพุทธทาสเคยกล่าวไว้ว่า พ่อให้ชีวิต แม่ให้วิญญาณ เราต้องพัฒนาตัวเองอย่างมีเป้าหมาย พ่อแม่ต้องเข้มแข็งด้วย เราเป็นมนุษย์ต้องมีความเข้มแข็ง กระบวนการคิดเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา
เมื่อ 30 ปีก่อนจะมีคำพูดที่ว่า “พ่อแม่ไม่สั่งสอน เป็นคำพูดที่เมื่อใครได้ยินแล้วจะรู้สึกเจ็บปวดมาก โกรธอย่างที่เรียกว่าเลือดขึ้นหน้า พ่อแม่ไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง แต่วันนี้พ่อแม่ดูไม่รู้สีรู้สา ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูสั่งสอนลูกตัวเอง สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจพ่อแม่ด้วยระบบของเรา พ่อแม่ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง พ่อแม่ไม่มั่นใจในการสอนลูกทางวิชาการ ดังนั้นการจัดการจึงตกอยู่กับครูและโรงเรียน ทั้งๆ ที่เป็นภารกิจที่จะต้องช่วยกันบ่มเพาะทั้งพ่อแม่และครูด้วย”
พ่อแม่ตั้งเป้าหมายด้วยสามัญสำนึกว่าลูกจะอยู่ได้อย่างไรในอนาคต เราต้องมีโอกาสที่จะฝึกฝนลูกด้วย สอนให้ลูกมีน้ำอดน้ำทน รู้จักใช้สถานการณ์พลิกแพลงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบาก คนที่เป็นพ่อแม่ต้องใจแข็ง ถ้าลูกบอกว่าเรียนได้ 2. 0ก็ต้องไม่ว่ากัน เคน นครินทร์ ทำงานที่ Standard ได้เกรด 0.4 ยังทำงานได้ขนาดนี้ เราจะทำอย่างไรให้ลูกรับผิดชอบตัวเอง ฝึกฝนทักษะ ให้ลูกลำบากขึ้นอีกหน่อย เผชิญกับปัญหาแก้ไขปัญหา เมื่อเล่นกับเพื่อนมีการต่อรองกัน ไม่ถึงขั้นตีกันอย่างรุนแรง พ่อแม่ต้องฉุกคิดเพื่อให้ลูกแก้ไขปัญหา
พ่อแม่จะซื้อสิ่งที่อำนวยความสะดวกในบ้านเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ความจำเป็นของแต่ละคนไม่เท่ากัน พ่อแม่บางคนตั้งเป้าหมายในการหาเงินเพื่อเลี้ยงลูกแตกต่างกันไป บางคนตั้งเป้าไว้ที่ 5 ล้าน 3 ล้าน 5 แสนบาท ทุกวันนี้เงินก็หาไม่ได้ง่ายๆ เหมือนสมัยก่อน เราต้องประคองลูกอย่างที่เรียกว่าช่วยกัน ขณะเดียวกันชุมชนก็ต้องมีความเข้มแข็งด้วย วินมอเตอร์ไซค์รายหนึ่งไม่สามารถสอนลูกทางออนไลน์ได้ ก็ต้องพาไปหาผู้รู้ในชุมชนเพื่อช่วยสอนลูกให้เรียนออนไลน์ได้เข้าใจ ชุมชนในละแวกนั้นก็ต้องเข้มแข็งด้วย พ่อแม่ของเด็กๆ ก็ช่วยเหลือกันได้
รศ.นพ.สุริยะเดว ทรีปาตี ผอ.ศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า ทางจิตวิทยาเราแบ่งเรื่องครอบครัวให้เข้าใจได้ง่ายๆ ครอบครัวเข้มแข็งด้วยโครงสร้างครอบครัวขยาย ครอบครัวเล็กก็เข้มแข็งได้ในเชิงโครงสร้าง วิธีคิดเชิงกระบวนการเลี้ยงลูกด้วยหน้าที่มีต่อกันพ่อแม่ลูก สังคมตอบสนองเกิดกระบวนการพัฒนามีที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ให้ความรัก ความอบอุ่น ความปลอดภัย มีคุณค่าในตัวเอง ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมตามสไตล์การเลี้ยงดูลูก ถ้าลูกอยู่บนดอยก็เลี้ยงลูกแบบเด็กดอย ถ้าลูกอยู่ในเมืองก็เลี้ยงลูกแบบเด็กเมือง
การจะสร้างลูกให้เป็นคนดีได้ พ่อแม่ก็ต้องเป็นคนดีเหมือนกัน ต้องทำตัวอย่างให้ลูกเห็นแล้วใช้ความสามารถของสมองให้เต็มที่ เพื่อให้ลูกพัฒนาไปเป็นคนที่มีสัมมาอาชีพ งานวิจัยชิ้นหนึ่งมีการตั้งข้อสมมติฐานว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว มีฐานะยากจน พ่อแม่พิการจะมีความสามารถเลี้ยงลูกให้ดีได้หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับบางครอบครัวที่มีความพร้อมทั้งฐานะการเงิน การศึกษา เรียกได้ว่ามีฐานะมีอันจะกิน การศึกษาก็ดีมาก แต่ปรากฏว่าลูกมีต้นทุนชีวิตต่ำ มีพฤติกรรมเสี่ยง ดังนั้นจึงไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูปว่าบางครอบครัวแม้จะอยู่ไกลคนละทิศละทางก็จริง แต่เลี้ยงลูกได้ดี ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องสัมพันธภาพแต่อย่างใด
“เคยตั้งคำถามกันไหมครับว่า เราให้ลูกเรียนหนังสือไปเพื่ออะไร เราพัฒนา EF เพื่ออะไร พ่อแม่ตอบว่า เราให้ลูกเรียนหนังสือเพื่อลูกเราจะอยู่ในสังคมได้ มีสัมมาอาชีพ อยู่ร่วมกันคนอื่นได้อย่างมีจิตสำนึก เป็นคนดี วันนี้ถ้าเราตั้ง Mind Set ขณะเดียวกันก็ยังมี Mind set อีกอันหนึ่ง คนดีต้องมาก่อนคนเก่ง ถ้าเรามีคนเก่งที่โกงบ้านโกงเมือง โกหกทุกรูปแบบเป็นสิ่งที่พึงระมัดระวังด้วย เก่งเท่ไว้ก่อน เราต้องเลือกเอาคนดีมาก่อนอื่นเป็นเรื่องพื้นฐาน ลูกของเราต้องเป็นคนดี หรือพ่อแม่ไม่ได้สนใจประเด็นนี้ ลูกไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี เป็นคนที่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นอยู่เสมอ เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความเห็นแก่ตัว กลายเป็นที่น่ารังเกียจของคนอื่น”
การที่เด็กมี EF ไปเพื่ออะไร เป็นสิ่งที่เราต้องตอบคำถามท้าทายพ่อแม่ทั้งประเทศ การที่เราเรียนหนังสือมีเป้าหมายในชีวิต เราต้องการมีสัมมาอาชีพเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว สัมมาชีพก็เหมือนทุกอย่าง บางคนเลือกที่จะทำงานอิสระ เป็นฟรีแลนซ์ มีสัมมาอาชีพ เราต้องพัฒนาลูกให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีจิตสำนึก มีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ก็คือการเป็นคนดี พ่อแม่ต้องคิดกระบวนทัศน์ในการพัฒนาและเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี พ่อแม่ต้องเป็นคนดีเป็นแบบอย่างให้กับลูกเดินตามด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |