ศูนย์วิจัยกสิกรฯชี้ครัวเรือนไทยมองภาวะครองชีพดีขึ้นหลังปลดล็อค


เพิ่มเพื่อน    

 

13 ก.ค.2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย นำเสนอบทวิเคราะห์ “ครัวเรือนไทยมองภาวะครองชีพ 3 เดือนข้างหน้าดีกว่าปัจจุบัน เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน สะท้อนครัวเรือนมองจุดต่ำสุดผ่านไปแล้ว”

โดยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนมิ.ย. 2563 อยู่ที่ระดับ 36.0 ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนพ.ค. 2563 ที่อยู่ในระดับ 36.1 ซึ่งในเดือนที่ผ่านมา ภาครัฐมีมาตรการผ่อนปรนเพิ่มเติมสำหรับกิจกรรมและกิจการในกลุ่มสีเหลือง (ระยะที่ 3) และกลุ่มสีแดง (ระยะที่ 4) รวมถึงยกเลิกประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน (ยกเลิกเคอร์ฟิว) ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่กลับมาดำเนินการตามปกติ ส่งผลให้รายได้และภาวะการจ้างงานของครัวเรือนไทยทยอยปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพ.ค. 2563
แต่ในขณะเดียวกัน ครัวเรือนไทยมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในเดือนมิ.ย. 2563 จากระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าสาธารณูโภค อีกทั้งครัวเรือนบางส่วนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลานก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ในวันที่ 1 ก.ค. 2563

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมต่อประเด็นเรื่องสถานการณ์การจ้างงานในองค์กร/หน่วยงานของครัวเรือนไทยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า การเลิกจ้างในองค์กรหรือหน่วยงานที่ครัวเรือนสังกัดหรือเป็นเจ้าของมีอัตราที่ลดลงจาก 4.2% ในเดือนมี.ค. 2563 มาอยู่ที่ 3.7% ในเดือนมิ.ย. 2563

อย่างไรก็ดี องค์กรหรือหน่วยงานที่ครัวเรือนสังกัดหรือเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ 21.3% มีนโยบายชะลอรับพนักงานใหม่เพื่อทดแทนพนักงานเดิมที่ลาออกหรือเลิกจ้างไปในช่วงก่อนหน้า (Hiring freeze) ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผลสำรวจในเดือนมี.ค. 2563 ที่อยู่ที่ 9.2% สะท้อนจำนวนตำแหน่งการจ้างงานที่ลดลงในตลาดแรงงานไทย ในขณะที่การขอให้ใช้สิทธิ์ลาโดยไม่รับเงินเดือน (Leave without pay) การปรับลดเงินเดือนแทนการเลิกจ้าง และการลดจำนวนวันทำงานเพื่อลดต้นทุนค่าแรงมีอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดือนมี.ค. 2563 สะท้อนให้เห็นว่า รายได้ของครัวเรือนไทยบางส่วนเริ่มทยอยกลับสู่ระดับปกติก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

ในขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) อยู่ที่ระดับ 37.4 ในการสำรวจช่วงเดือนมิ.ย. 2563 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 35.9 ในการสำรวจช่วงเดือนพ.ค. 2563 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจฯ ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า อยู่ในระดับสูงกว่าดัชนีภาวะเศรษฐกิจฯ ในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนมองภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 3/2563 จะทยอยปรับตัวดีขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ทั้งนี้ โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ยังคงมีความเปราะบางอยู่มาก แม้ภาครัฐจะมีมาตรการผ่อนปรนสำหรับทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว แต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังต้องอาศัยระยะเวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังรุนแรงในต่างประเทศ

จึงเป็นโจทย์สำคัญของภาครัฐในการเร่งฟื้นฟูและประคับประคองภาคธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่มีส่วนสำคัญต่อการจ้างงานในประเทศและพยุงกำลังซื้อของครัวเรือนไทย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"