เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 12 ก.ค.2563 ที่โรงแรมราชาวดี ราอร์ท แอนด์ โฮเต็ล จ.ขอนแก่น นายเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้า จ.ขอนแก่น และ ประธานกรรมการบริการ โรงแรมราชาวดีฯ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า จากการผ่อนคลายตามมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 5 จากสถานการณ์โควิด19 ที่เกิดขึ้นนั้นขณะนี้ผ่านไปแล้วเกือบ 2 สัปดาห์ การผ่อนคลายที่เกิดขึ้นนั้นสามารถที่จะกระตุ้นในเรื่องของบรรยากาศได้บ้าง และข้อดีของไทยและขอนแก่นนั้นคือการที่สามารถควบคุมโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่ยังไม่ดีขึ้นคือกำลังซื้อ เพราะสถานการณ์ดีขึ้น กำลังซื้อเหมือนเดิม และสิ่งหึ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนคือการชดเชยเยียวเดือนละ 5,000 บาทนาน 3 เดือนที่รัฐบาลมอบให้นั้นขณะนี้ครบแล้ว การจ่ายเงินให้กับกลุ่มประกันตนก็ดำเนินการด้วยดี ประเด็นนี้จะกลายเป็นปัจจัยลบ ที่อาจจะทำให้สถานการณ์ในภาพรวมไม่ดีขึ้น หรือดีขึ้นเล็กน้อย
“ ผู้ประกอบการก็ยังคงมุ่งเน้นในการลดต้นทุนเป็นหลักเพราะไม่สามารถที่จะกระตุ้นกำลังซื้อได้ สถานประกอบการหลายแห่งจ้างแรงงานในสัดส่วนร้อยละ 50 มากกว่าการจ้างงานแบบเต็มเวลา และถ้าจะมองว่าไม่มีกำลังซื้อหรือไม่กล้าที่จะออกมาใช้จ่ายนั้น ทั้ง 2 ส่วนนั้นสอดคล้องกันเพราะนักลงทุนเองก็ไม่กล้าที่จะลงทุน ขณะที่ผู้บริโภคนั้นกำลังซื้อก็หายไป เงินออมที่เคยมีก็หมด เงินชดเชยที่รัฐบาลมอบให้ ก็หมด ตรงนี้จึงกลายเป็นปัจจัยลบที่ทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจนั้นไม่ดีขึ้น ร้านอาหาร รวมไปถึงธุรกิจหลายแห่ง เปิดมาแล้ว บางแห่งมีการหารือกันว่าอาจจะต้องปิดการให้บริการอีกครั้ง"
นายเข็มชาติ กล่าวต่ออีกว่า แม้รัฐบาลจะกำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะแคมเปญด้านการท่องเที่ยวออกมา แต่การใช้นโยบายเดียวทั่วประเทศ โดยส่วนตัวมองว่าไม่ถูกต้อง เพราะภาคอีสานหรือขอนแก่น ไม่ใช่เมืองด้านการท่องเที่ยว ทำให้แทบทุกจังหวัดไม่ได้ประโยชน์ในเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่าเมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายลงนักท่องเที่ยวก็จะเดินทางไปทะเล ทางภาคใต้ ไปภูเขาทางภาคเหนือ ในขณะที่โรงแรมในภาคอสานก็ยังว่างอยู่ ร้านอาหารชื่อดัง ก็เปิดให้บริการแต่กำลังซื้อน้อยลง โรงแรมที่ให้บริการมีลูกค้ามาใช้บริการไม่ถึงร้อยละ 20 โรงแรมขนาดใหญ่ชื่อดังก็ยังคงประสบปัญหากับการขาดทุนเพราะมีค่าใช้จ่ายที่คงที่ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลช่วยประชาชนแล้วก็ต้องมองถึงการให้ความช่วยเหลือในกลุ่มผู้ประอบการด้วยโดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุน เพราะเราไม่สามารถที่จะกระตุ้นกำลังซื้อได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงมีต้นทุนทุกวัน ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายด้านต่างๆนับรวมไปถึงเรื่องภาษี รัฐบาลควรจะพิจารณาในการขยายเวลาในการชำระหรือให้ส่วนลดในเรื่องดังกล่าวนี้ให้กับผู้ประกอการด้วย
“ขณะนี้เข้าสูช่วงฤดูภาษี ดังนั้นในเรื่องของภาษีโรงเรือน น่าจะมองเรื่องส่วนลด หรือการขยายระยะเวลา รวมทั้งมาตรการน้ำและไฟ ที่ผ่านมาลดให้แต่วันนี้สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นควรทบทวนการขยายระยะเวลาต่อเนื่องต่อไปอีกสักระยะ เพราะผู้ประกอบการนั้นในช่วงที่ผ่านมาปิดให้บริการวันนี้กลับมาเปิดให้ริการแต่ภาระค่าใช้จ่ายยังคงเป็นต้นทุนเป็นรายจ่ายที่มากรัฐบาลควรมองตรงนี้ด้วย”
นายเข้มชาติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จะเห็นได้ว่าสถานประกอบการหลายแห่งปิดตัวต่อเนื่องแม้จะเข้าสู่การผ่อนผันระยะที่ 5 แล้ว แต่บางแห่งก็เปิดเพราะเห็นใจในพนักงาน เพราะพนักงานก็หยุดรอไม่ได้ สถานประกอบการบางแห่งเปิดการจ้างงาน 100% แต่ก็มีต้นทุนที่สูงมากเมื่อเทียบกับรายรับที่ได้ บางแห่งจ้างแบบครึ่งและครึ่ง คือมาทำงาน 2 สัปดาห์ และหยุดพัก 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือที่สำคัญผู้ประกอบการต้องการคือเรื่องกาสรลดต้นทุน ค่าน้ำ ค่าไฟ อย่ามองแต่เรื่องเงินกู้เท่านั้นเพราะผู้ประกอบการนั้นไม่ต้องการเป็นหนี้อีกแล้ว ขณะที่การกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐเองก็ต้องชัดเจนและให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการแบบทำทันที โดยเฉพาะการประชุม สัมมนา เพื่อสนับสนุนในกลุ่มธุรกิจบริการ ภาครัฐต้องดูว่ามีงบประมาณในการดำเนินการมากน้อยเพียงใด และสิ่งใดที่สามารถทำได้บ้างและทำได้ทันที เพื่อที่จะเกลี่ยรายได้ไปยังสถานประกอบการ โรงแรม ร้านอาหาร รวมทั้งกลุ่มธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งก็จะส่งผลต่อการจ้างงานของกลุ่มลูกจ้าง ส่งผลไปยังกลุ่มผู้ผลิตต้นทุน ทั้งอาหาร และสิ่งของต่างๆ ดังนั้นภาครัฐต้องเริ่มทำกันตั้งแต่วันนี้เช่นกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |