ปิดทองฯแก้ปัญหาชุมชน-คนตกงานจาก"โควิด"


เพิ่มเพื่อน    

                              
        
    ในช่วงการระบาดของโควิด -19 นับว่าเป็นวิกฤตซ้ำซ้อน  เพราะเจอทั้งปัญหาโรคระบาด  และวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ  โดยคาดว่าผลกระทบจากโควิด -19จะทำให้มีคนไทยตกงานประมาณ 8.3 ล้านคน นอกจากนี้ ปีนี้ยังมีปัญหาภัยแล้ง  รุนแรง ตามพื้นที่ต่างๆ  ซึ่งทำให้ผู้ตกงาน  ซึ่งต้องกลับคืนถิ่น  ไม่สามารถหาทางประกอบอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้   หรือแม้แต่ทำการเกษตรเพื่อยังชีพ ซึ่งปัญหาหลัก นอกเหนือจากภัยแล้งนั้นก็คือ การขาดแหล่งน้ำ ขาดการกระจายแหล่งน้ำ และขาดการเข้าถึงแหล่งน้ำ ที่เป็นอุปสรรคสำคัญมายาวนาน 


    ด้วยเหตุนี้ ในช่วงเดือนมีนาคม  ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นที่ประกาศล็อกดาวน์ประเทศ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด -19 ทางผู้บริหารของมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ  ได้เห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังการล็อกดาวน์  โดยเฉพาะปัญหาการตกงานของคนจำนวนมาก ที่จะต้องเดินทางกลับชนบท   แต่ในพื้นที่ต่างๆ ก็ยังไม่มีอะไรที่จะมารองรับคนกลุ่มนี้ได้  คณะกรรมการของมูลนิธิปิดทองฯ  จึงได้หาทางออก โดยเชิญชวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาหารือ  ทำให้มีข้อสรุปว่าต้องมีโครงการพิเศษ เพื่อช่วยกู้วิกฤตเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ที่ทันต่อสถานการณ์ และปัญหาที่เกิดขึ้น   ซึ่งก็คือ" โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะว่างงานของ COVID-19 ใน 3 จังหวัดพื้นที่ต้นแบบภาคอีสาน  อุดรธานี ขอนแก่น และกาฬสินธุ์  และสำเร็จเป็นรูปแบบการทำงานที่เรียกว่า “4 ประสาน 3 ประโยชน์” ภายใต้กรอบระยะเวลาด่าเนินโครงการจ่านวน 3 เดือน ระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน เพื่อเป็นต้นแบบของการขยายการด่าเนินโครงการส่าหรับรองรับสถานการณ์ลักษณะนี้ต่อไป

ประสิทธิ์ โอสถานนท์ ที่ปรึกษาปิดทองฯ

    "เราประชุมกันวันที่  13 มีนาคม  และคิดกันว่า ปิดทอง ฯน่าจะทำโมเดล แก้ปัญหานี้ขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบ ให้หน่วยงานต่างๆ นำไปขยายผลต่อไป พอถึงวันที่  17  มีนาคม ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานมูลนิธิฯ ได้เชิญฝ่ายบริหารปิดทอง ทั้งหมดมาพูดคุยและ ได้ข้อสรุป และโจทย์ของเราคือ ต้องทำงานให้สำเร็จเห็นผลภายในระยะ 3เดือน คือเมษายน-มิถุนายน หรืออย่างช้าไม่เกินเดือน กรกฎาคม" ประสิทธิ์ โอสถานนท์ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริกล่าว
    ตามเป้าหมายของโครงการฯ นั้นคือ การพัฒนาแหล่งน้ำไปพร้อมกับช่วยเหลือคนตกงาน   นายประสิทธิ์กล่าวว่า ได้เลือกจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแห่งแรกในการทำโครงการ จากทั้งหมด 3จังหวัด เพราะเห็นว่ากาฬสินธุ์ มีความพร้อม และปิดทองฯเคยทำโครงการในจังหวัดนี้มาแล้ว  ส่วนโครงการพัฒนาในจังหวัดกาฬสินธุ์มีทั้งหมด  37โครงการ  ใน  13อำเภอ  เป็นทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ และอาชีพ ใช้งบประมาณลงทุน 21.3ล้านบาท ครอบคลุม 2,110 ครัวเรือน และพื้นที่ 9,820 ไร่ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้ 13.8 ล้านลูกบาศก์เมตร และคาดว่าจะทำให้เกษตรกร มีรายได้รวมประมาณ 68.7ล้านบาท  และจ้างงานผู้ตกงานได้ทั้งหมด 37 คน  ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครพัฒนาโครงการ  
    "เราคาดหวังว่า คนที่ตกงาน และเคยทำงานในเมือง จะเกิดการปรับเปลี่ยนความคิด กลับมาทำอาชีพเกษตร ที่บ้านเกิดอีกด้วย"นายประสิทธิ์กล่าว
    การซ่อมแซม"ฝายทดน้ำห้วยปอ "ตั้งอยู่ที่หมู่ 12 บ้านบัวสามัคคี ต.แชงบาดาล อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ เป็น 1 ใน37โครงการพัฒนาแหล่งน้ำจังหวัด ถือว่าเป็นโครงการนำร่อง  โดยฝายแห่งนี้มีขนาดหน้ากว้าง  18เมตร จุน้ำได้ประมาณ 36,000 ลูกบาศก์เมตร  มีอายุกว่า30 ปี สร้างโดยงบประมาณของกรมชลประทาน แต่ในช่วง 10ปีที่ผ่านมา ฝายเกิดขำรุดทั้งด้านหน้าและด้านข้างน้ำรั่วซึม เก็บน้ำได้ไม่จุ  ซึ่งท้องถิ่นไม่มีงบฯมากพอที่จะซ่อมแซมฝายได้ครบถ้วนสมบูรณ์  แต่ปัญหาที่สำคัญกว่าการชำรุดนั้นก็คือ ฝายแห่งนี้ ขาดท่อส่งต่อน้ำ หรือกระจายน้ำไปสู่ชุมชน ทำให้ชุมชนไม่ได้ใช้่ประโยชน์ได้เต็มที่ โดยทางปิดทองฯลงทุนวัสดุ อุปกรณ์  การจ้างแรงงานบางส่วน  ทำให้ฝายสามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นเป็น 6หมื่นลูกบาศก์เมตร    นอกจากน้้นยังมีการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เข้าสู่แปลงเกษตร ของชาวบ้าน  ซึ่งมี 2 หมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ  91 ไร่ ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี จากเดิมที่ทำได้เพียงหน้่าฝนเท่านั้น

 

นางธนิกา โตครเสนา ผู้ใหญ่บ้านบัวสามัคคี 

นางธนิกา โตครเสนา ผู้ใหญ่บ้านบัวสามัคคี หมู่ 12 ต.แซงบาดาล อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า การซ่อมฝายห้วยปอ จะต้องใช้งบฯประมาณ 2แสนบาท  ซึ่งอบต.ไม่มีงบฯเพียงพอ อย่างมากมีแค่ 5หมื่น  พอปิดทองฯเข้ามา ก็ให้โจทย์ชุมชน คิดออกแบบฝายที่จะซ่อมว่าต้องทำอย่างไร และให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของฝาย ซึ่งช่วงนั้นเกิดโควิด เกิดความตื่นตระหนกในชุมชน เพราะมีหลายคนที่ไปทำงานในเมืองตกงานต้องกลับมาบ้าน  ซึ่งในการซ่่อมฝาย ได้พยายามทำให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของฝาย และออกมาร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันซ่อมแซม ซึ่งปรากฎว่ามีชาวบ้าน 40 คนที่ออกมาช่วยทำ  นับได้ว่าโควิดเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ทำให้่ชุมชนรวมใจ เกิดความเข้มแข็งขึ้น
 
ผู้ใหญ่ยังเล่าอีกว่า เมื่อซ่อมฝายแรกสำเร็จมีน้ำเข้าถึงแปลงเกษตร ส่งผลดีกับการเพาะปลูก ทำให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ของโครงการ เริ่มเข้ามาให้ความร่วมมือมากขึ้น ในด้านต่าง ๆ ทั้งการสละแรงงาน สละเงินทุนสบทบ ร่วมกันปรับปรุงฝายตัวอื่น ๆ จาก 1 ฝาย เพิ่มเป็น 5 ฝาย จนชาวบ้านในอำเภอใกล้เคียงเข้าร่วมช่วยทำฝายเพิ่มอีก 2 ฝาย จนทำให้ห้วยปอมีฝายครบตลอดลำน้ำ รวม 7 ฝาย

นายวุฒิพงษ์ องคะศาสตร์ อดีตวิศวกร โรงงาน ที่ตกงานเพราะโควิด ได้เข้าทำงานในโครงการ

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานราก ของปิดทองฯ


ด้านคนตกงานเพราะโควิด และได้รับการจ้างงานเป็นอาสาพัฒนา ในโครงการฯ นายวุฒิพงษ์ องคะศาสตร์ พนักงานประสานงานโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานราก เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด -19 จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า เดิมเป็นวิศวกรโรงงานแถวอยุธยา พอเกิดโควิด ทำให้โรงงานปิด ตกงาน กลับมาบ้านเกิด ต่อมาได้สมัครเข่้าร่วมโครงการกับปิดทองฯ ไม่เคยทำงานเชิงพัฒนาพื้นที่มาก่อน แรกๆงง ไม่รู้จะเริ่มต้นจากจุดไหนอย่างไร แต่พอได้ทำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดหลายอย่าง มองเห็นแง่ดีของโครงการ ที่เห็นได้ช้ดคือ การพัฒนานี้ ทำให้ชุมชนรู้ความต้องการของตนเอง  และทำให้เกิดการรวมตัวของชุมชน เกิดความเข้มแข็ง ส่วนน้องๆที่มาทำงานด้วยกัน โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งจบปริญญาตรี ที่เรียกกันว่า"รุ่นโควิด" ก็มาทำงานซ่อมฝาย ได้เรียนรู้การทำงานกับคนอื่น ต่อสู้อุปสรรคต่างๆ 
" การทำงานพัฒนาฝาย ครั้งนี้ ทำให้ผมได้แง่คิดว่า ในเมื่อบ้่านเรามีน้ำแล้ว เราจะไปทำงานในเมืองอีกทำไม ซึ่งผมอาจจะหันมาทำอาชีพเเกษตรเต็มตัว" วุฒิพงษ์กล่าว

นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

    ด้านนายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า กาฬสินธุ์ นับว่าเป็นจังหวัดที่มีGDPเกือบเป็นที่โหล่ของประเทศ อยู่อันดับ 75  จาก 77 จังหวัด แต่ต่อมามีการปรับปรุงตัวเลขอยู่ในอันดับที่  61  ทั้งที่กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีดินดำ เป็นแหล่งปลูกข้าว มัน อ้อย    มาเป็นเวลานับร้อยๆปี ซึ่งชาวบ้านไม่เคยเปลี่ยนวิถีการเลี้ยงชีพ เมื่อไปถามว่าทำไมปลูกแต่แค่นี้ ก็จะได้รับคำตอบว่า "จักแล้ว" ที่แปลว่า"ไม่รู้ซิ"  แสดงว่ายังไม่มีการพัฒนาไปถึงไหน ซึ่งพอเกิดสถานการณ์โควิดระบาด พบว่ามีคนที่ตกงานกลับเข้ามาในจังหวัดประมาณ 3.7หมื่นคน ซึ่งพอรัฐบาลประกาศคลายล็อก  ทำให้มีคนกลับไปทำงานประมาณ 20% หรือราว 6-7พันคน  ปัญหามีอยู่ว่าทำอย่างไรที่จะให้กลุ่มคนที่เหลือ ไม่ได้กลับไปทำงานในเมืองมีอาชีพทำกินในบ้านของตัวเอง 
    สำหรับ  ปัญหาหลักการพัฒนาของกาฬสินธุ์นั้นก็คือ มีน้ำ มีที่กักเก็บน้ำ แต่น้ำเข้าไม่ถึงชุมชน ทำให้การเพาะปลูกทำได้จำกัด ไม่สามารถทำได้ตลอดทั้งปี ซึ่งการเข้ามาของปิดทองฯ ถือว่า สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนต่างๆ และยังยกให้ 37 โครงการ ที่กาฬสินธุ์ เป็นโมเดล ต้นแบบ ในจังหวัดอื่นๆมาดำเนินการตาม 
    "แนวทางพัฒนาต่อไปทางจังหวัดจะร่วมกับเอกชน ในการพัฒนาสินค้า ทำให้กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดท่องเที่ยว เชิงวิถีชีวิตชุมชน เพราะที่นี่ถือว่าเป็นแหล่งไดโนเสาร์  ซึ่งในเอเชียมี 2แห่งเท่านั้นคือที่กาฬสินธุ์และที่จีน และถ้าเราทำภาคเกษตรให้ดี ในวิถีชุมชน ภูมิปัญญาดั้งเดิม ผนวกกับมีพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ก็น่าจะดึงดูดการท่องเที่ยว ชีวิตผู้คนที่นี่ก็น่าจะเปลี่ยนแปลง ความเป็นอยู่ดีขึ้น "ผู้ว่าฯ กล่าว

สภาพบ้านใน 2หมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์จากฝายฯมีท่อส่งน้ำเข้าไปถึงชุมชนแล้ว


    ด้านความสำเร็จของโครงการใน  3 จังหวัด อุดรธานี ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ มีการจ้างคนตกงาน สรุป ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2563 รวม 358 ราย แบ่งเป็น อุดรธานี 83 ราย ขอนแก่น 145 ราย และกาฬสินธุ์ 130 ราย เกิดโครงการ ทั้งด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและสร้างอาชีพรวม 107 โครงการ ใน 43 อำเภอ ครัวเรือนรับประโยชน์ 5,320 ครัวเรือน พื้นที่รับประโยชน์ 30,990 ไร่ ปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น 23.7 ล้านลูกบาศก์เมตร งบประมาณลงทุนประมาณ 48.8 ล้านบาท คาดการณ์รายได้เกษตรกร 217 ล้านบาท เฉลี่ยรายได้เพิ่มขึ้น 7,000 บาท/ไร่ หรือ 3,400 บาทต่อเดือน คิดเป็นรายได้ต่อปีเทียบเงินลงทุนเท่ากับ 4.45 เท่า

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"