วธ.-สธ.จับมือลุยรณรงค์ 9 ข้อ "การ์ดอย่าตก" ย้ำโควิดต้องอยู่กับเราอีก1-2ปี


เพิ่มเพื่อน    

10 ก.ค. 63-ที่ โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอท เซนทรัลพลาซ่าลาดพร้าว กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดเวทีระดมความคิดเห็น การสื่อสารรณรงค์เพื่อสนับสนุนการจัดการในสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19  นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ดำเนินโครงการในการสื่อสารรณรงค์และป้องกันไปสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงของโรคโควิด-19และเมื่อสถานการณ์ผ่อนคลาย ทางกองทุนฯ ได้เริ่มขับเคลื่อนงานระยะที่ 2 มี 9 ประเด็นรณรงค์เพื่อป้องกันการกลับมาแพร่ระบาดใหม่ ผลิตสื่อรณรงค์เฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เนื่องจากโรคนี้จะอยู่กับเราไปอีก 1-2 ปี จึงต้องรณรงค์ต่อเนื่อง การ์ดอย่าตก จึงจัดเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมผู้เกี่ยวข้องในประเด็นโควิด หากโครงการเข้าหลักเกณฑ์และรูปแบบการรณรงค์ ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจะได้การสนับสนุนจากกองทุนฯ  เพื่อผลิตสื่อต่อไป 

 ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต คณะทำงานแผนงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาล ในการบริหารจัดการสถนการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กล่าวว่า  สำหรับ 9 ประเด็นรณรงค์เพื่อสนับสนุนการจัดการสถานการณ์โควิด-9 ระยะที่2  ประกอบด้วย 1.การผลิตสื่อรณรงค์เฉพาะกลุ่ม ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดระลอก2  เช่น กลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน  กลุ่มชุมชนในพื้นที่เสี่ยง 2.การสร้างพื้นที่ให้เกิดการสื่อสารประสานงานกันของกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตัวตามแนวทางนิว นอร์มอล3.การสร้างสื่อเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศจากความสำเร็จในการจัดการโควิด-19 การค้นหาเรื่องราวความสำเร็จป้องกันโควิด เช่น พลัง อสม.และชุมชนเข้มแข็ง 4.การสร้างสื่อเพื่อรณรงค์สร้างจิตอาสา เช่น ตู้ปันสุข  5.การส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่สนับสนุนการจัดการสถานการณ์โควิด 6.การรณรงค์ทางศาสนา เพื่อให้เกิดวิถีใหม่ในการปฏิบัติศาสนกิจลดเสี่ยงและไม่ขัดต่อศาสนา 7.การบันทึกประวัติศาสตร์ 8.การวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้ข้อมูลเชิงวิชาการในไทย และ9.การสร้างสื่อเพื่อรณรงค์การสร้างจิตสำนึกและแรงจูงใจในการดูแลตัวเอง

 

 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)กล่าวว่า โจทย์ของการป้องกันโรคโควิด-19  คือ 90% ของคนไทยต้องสวมใส่หน้ากากถึงจะสู้กับโรคได้ ขณะที่โจทย์ของการทำงานด้านนี้ถือเป็นงานใหญ่ระดับโลก ต้องใช้ความรู้ศาสตร์ข้ามศาสตร์ ทั้งด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน และด้านอื่นๆ  เพื่อติดตามและสร้างชุดข้อมูลดูแลสถานการณ์โควิด-19 เห็นได้ชัดเจนว่า โควิด-19  ทำให้คนไทยเปลี่ยนวิถี และยังช่วยยกระดับสื่อ ตลอดจนเป็นการใช้โอกาสในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ของคนไทยให้มีความสามัคคี มีระเบียบวินัย และมีจิตใจสาธารณะ 


  นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า จากประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับ โควิด-19 ต่อเนื่องตลอด 4 เดือน ตนอยากให้มีภาคการแบ่งกันทำงาน และสร้างพื้นที่ใหม่ๆ ร่วมด้วย ที่ผ่านมา เห็นความซ้ำซ้อนการทำงานของสื่อที่เผยแพร่  เช่น รณรงค์กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ซึ่งมีทุกหน่วยงานทำขึ้น คิดว่าควรมีการคิดการรณรงค์ทางสื่อในแนวใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่อยู่ได้ตลอดและมีความหลากหลายในสังคมไทย  นอกจากนี้ สิ่งที่คนไทยควรตระหนักอย่างมาก คือ ทำยังไงให้กลุ่มวัยรุ่น คนทำงานของไทยได้ใช้หน้ากากมากที่สุด เพราะสองกลุ่มนี้มีโอกาสติดเชื้อมากสุด โดยเฉพาะการเข้าใช้บริการเที่ยวในสถานบันเทิงผับ เทค  


" เราเห็นตัวอย่างชัดเจนในการแพร่กระจายของโรคจากเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ที่ติดจากการร่วมสัมพันธ์ในสถานกักตัวของรัฐ  รวมถึงที่เกาหลีที่มีการติดจากผับบาร์  ซึ่งกว่าที่ไทยจะผ่านสถานการณ์นี้ ไปได้คงต้องใช้เวลาอีกเป็นปีเพื่อรอการพัฒนาวัคซีน"โฆษก สบค.กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"