สังคมสูงวัยสู่อนาคตประเทศไทย


เพิ่มเพื่อน    

ผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจพอจำได้ว่าประเทศไทยเคยมีนโยบายวางแผนครอบครัวแห่งชาตินานหลายสิบปีมาแล้วโดยมีการรณรงค์ทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อการคุมกำเนิดซึ่งก็ได้ผลเป็นอย่างดี แต่ก็ต้องยอมรับว่านโยบายที่ดีมากในสมัยหนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมหรือกลับส่งผลกระทบต่อสังคมในภายหลังอย่างไม่ได้ตั้งใจ

ประเทศไทยเริ่มมีการนำนโยบายวางแผนครอบครัวแห่งชาติมาใช้ ในปี พ.ศ. 2513 ซึ่งขณะนั้นประเทศเรามีประชากรรวมอยู่ที่จำนวนประมาณ 37 ล้านคนและการใช้นโยบายเชิงรุกทำให้ทารกเกิดใหม่ได้เริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้มีหลายปัจจัยนอกเหนือจากผลพวงของการคุมกำเนิด กล่าวคือ 1) ครอบครัวไทยในปัจจุบันไม่มีบุตรด้วยความตั้งใจ หรือที่มีคำย่อว่า “DINK” ( Double Income No Kids) 2) หญิงไทยมีความรู้ความสามารถที่ดูแลตัวเองได้และไม่ต้องการมีครอบครัว และ 3) ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่อำนวย  อย่างไรก็ตามในมุมกลับกันนั้น ประเทศก็ยังมีปัญหาคุณแม่วัยใส หรือ คนพร้อมไม่มี  คนมีไม่พร้อม ที่ส่งผลกระทบตามมาต่อคุณภาพในการดำรงชีวิตและโครงสร้างของสังคมอีกด้วย

รายงานของกรมกิจการผู้สูงอายุระบุว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 (20 %) และเข้าสู่ภาวะ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ใน พ.ศ. 2578 โดยคาดการณ์ว่าจะมี ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

จำนวนประชากรที่ออกจากตลาดแรงงานในหลายปัจจัย ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานมีฝีมือ  ประกอบกับตลาดแรงงานมีความผันผวนเช่นวัยหนุ่มสาวที่ไม่ต้องการทำงานประจำ อยู่ในกลุ่มของ GIG Economy หรือในงานอาชีพอิสระต่างๆ เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้จะส่งผลให้จำนวนผู้คนในตลาดแรงงานมีจำนวนน้อยกว่าผู้สูงวัยในไม่ช้า

ปัญหาใหญ่ของประเทศได้เกิดขึ้นแล้ว ดำรงอยู่และถูกตอกย้ำในภาวะ Covid 19 และ New Normal ที่เห็นชัดเจนคือการขาดรายได้ จากรายงานการศึกษาพบว่า ผู้สูงวัยจำนวนมากต้องพึ่งพาลูกหลาน และมีจำนวนที่น้อยมากที่มีรายได้จากเงินออมหรือจากเงินลงทุน และคนไทยส่วนใหญ่ (ในทุกๆ วัย) ยังขาดการออมอย่างเป็นระบบและมีเงินเก็บเพียงพอในยามฉุกเฉินหรือในยามเกษียณก็ตาม

ในส่วนของรัฐบาลนั้นก็ได้ออกนโยบายรองรับสังคมสูงอายุมาระยะหนึ่งแล้วไม่ว่าจะเป็นเบี้ยยังชีพรายเดือน หรือการตั้ง “กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)” โดยมีกฎหมายรองรับ แต่ก็ต้องยอมรับว่านโยบายต่างๆ นั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้เบ็ดเสร็จเพียงพอด้วยเหตุผลของงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น เบี้ยยังชีพรายเดือนๆละ 600-1,000 บาท หรือจำนวนอัตราสูงสุดที่รัฐจะสนับสนุนต่อการออมในกองทุนการออมแห่งชาติได้ไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี ซึ่งหากคำนวนคร่าวๆ แล้วจะได้ตัวเลขรายเดือนที่ผู้สูงอายุรวมเงินช่วยทั้งสองทางประมาณเพียง 3,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น โดยกองทุนการออมแห่งชาติเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปี 2562 มีสมาชิกประมาณ 2.4 ล้านคนโดยในจำนวนนี้ เกือบ 50% ของทั้งหมดเป็นเกษตรกร

ปัญหาการออมเป็นเพียงปัญหาหนึ่งที่รัฐบาลยังคงต้องขบคิดหาแนวนโยบายใหม่ๆที่จะเข้ามาแก้ไข ไม่รวมถึงปัญหาสังคมสูงวัยอีกหลายบริบท เช่น สุขภาพ ภาวะจิตใจ สภาพแวดล้อม การเข้าสังคมและการมีสังคมเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong learning) ซึ่งที่น่าสนใจคือแนวคิดการสร้างนโยบายในหลายประเทศเช่นในประเทศญี่ปุ่น ที่สนับสนุนกลุ่มคนที่เป็น Young Oldหรือ Yold” (อายุระหว่าง 60-70 ปี) ที่มีศักยภาพ มีความรู้และประสบการณ์ที่หากเราสามารถนำพลังบวกหรือการมีส่วนร่วมของคนกลุ่มนี้กลับมาช่วยชาติ ช่วยสร้างสมดุลในตลาดแรงงานได้อย่างเป็นระบบแล้ว สังคมสูงวัยสู่อนาคตประเทศไทยน่าจะได้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

เทวัญ   อุทัยวัฒน์

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"