'เรืองไกร' ยื่น กกต. ยุบพลังประชารัฐ ปมใช้มูลนิธิป่ารอยต่อเชิญ 'บิ๊กป้อม' นั่งหัวหน้าพรรค


เพิ่มเพื่อน    


9 ก.ค.63 - ที่สำนักงาน​คณะกรรมการ​การ​เลือกตั้ง ​(กกต.)​ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว. ยื่นหนังสือขอให้ กกต.พิจารณาเพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยแกนนำพรรค ไปเทียบเชิญ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ให้มาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อื่นอาจเข้าข่ายผิด พระราชบัญญัติ​ประกอบรัฐธรรมนูญ​ (พ.ร.ป.)​ ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 วรรค 1 (2) โดยได้เทียบเคียงกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งศาลมองว่าเข้าข่ายเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เนื่องจากข้อห้ามของมูลนิธิ ข้อ 2.7 กำหนดว่าห้ามใช้มูลนิธินี้ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง

ต่อมานายไพบูลย์ ได้ระบุว่าได้ไปเทียบเชิญพล.อ.ประวิตร ที่มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัดจริง โดยได้มีการโชว์ภาพตามที่ปรากฏในสื่อ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมา และได้มีการเลือกพล.อ.ประวิตรให้เป็นหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ถือเป็นความผิดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้มูลนิธิ จึงมาร้องต่อกกต.ให้วินิจฉัยกฎหมายพรรคการเมือง มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (2) ว่าเป็นการกระทำอาจเป็นปฏิปักษ์หรือไม่

"มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งข้อ 2.7 ยังอยู่ และนักการเมืองจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายนั้นไม่ได้  เพราะแต่ละคนทำไมไม่ไปเทียบเชิญที่ทำเนียบรัฐบาล หรือที่ทำการใหม่ของพรรคพลังประชารัฐ แต่กลับไปใช้พื้นที่ของมูลนิธิ การเข้าออกอยู่ดีๆคงไม่มีใครขับรถ จะต้องมีการนัดหมาย นั้นแสดงว่ามีเจตนา แต่เจตนาท่านอาจจะรีบ รีบจนลืมข้อกฎหมาย”นายเรืองไกร กล่าว

นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องของเจตนานั้นได้บัญญัติชัดเจนว่า “เพียงอาจเป็นปฏิปักษ์ก็ต้องห้ามแล้ว หาจำเป็นต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือต้องรอให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงขึ้นจริงเสียก่อนหรือไม่ อีกทั้งคำว่าอาจเป็นปฏิปักษ์ในทางกฎหมายเป็นเงื่อนไขทางภาวะวิสัย ไม่ขึ้นกับเจตนา หรือความรู้สึกส่วนตัวของผู้ประทำ ว่าจะเกิดผลเป็นปฏิปักษ์จริงหรือไม่ หากแต่ต้องดูตามพฤติการณ์แห่งการกระทำนั้นๆ ว่าในความคิดของวิญญูชนคนทั่วๆไปรับรู้ได้“

ตนก็เห็นว่ากรณีนี้ อาจเป็นปฏิปักษ์โดยชัดเจน แต่แปลกใจที่กกต.เพิกเฉย ต่างจากกรณีการดำเนินการยุบพรรคไทยรักษาชาติ และพรรคอนาคตใหม่ ตนจึงยื่นเรื่องให้กกต.ตรวจสอบ เรื่องนี้พร้อมกับกรณีพล.อ.กนิษฐ์ ชาญปรีชญา ส.ว. ที่เข้ามาแทรกแทรงพรรคการเมือง ล็อบบี้กรรมการบริหารพรรคให้ลาออก ซึ่งได้ยื่นเรื่องไปก่อนหน้านี้ แต่กกต.ยังไม่เรียกมาให้ถ้อยคำ

อย่างไรก็ตามหาก กกต.พบว่ามีความผิดขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมืองกับกรรมการบริหารพรรค เหมือนกรณีพรรคไทยรักษาชาติ และพรรคอนาคตใหม่ ก็จะส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคชุดรักษาการในขณะนั้นมีความผิด ส่วนพล.อ.ประวิตร ที่ในขณะนั้นยังไม่มีสถานะก็ต้องให้ความเป็นธรรมด้วย

นายเรืองไกร กล่าวถึงกรณีที่ไพบูลย์ ระบุว่าจะฟ้องร้องกลับว่า จะฟ้องก็ยินดีเพราะหลักฐานที่เอามายื่นต่อกกต.ก็นำมาจากพรรคพลังประชารัฐ เชื่อว่ากกต.จะใช้เวลาไม่นานเพราะภาพหลักฐานก็ปรากฏตามสื่ออยู่แล้ว

ส่วนกรณีที่กลุ่ม 4 กุมาร ของพรรคพลังประชารัฐ เตรียมลาออก ตนมองว่าควรที่จะลาออก เพราะเป็นคนที่ก่อตั้งพรรคมา โดยขณะนั้นยอมสละโอกาสในการลงสมัครส.ส. แต่ยังทำหน้าที่รัฐมนตรีต่อ จนพรรคชนะการเลือกตั้ง และสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่กลับมีการนำนักเลือกตั้งเข้ามาแทน ซึ่งหากตนเป็น 4 กุมาร ตนก็อยู่ไม่ได้ หากเห็นว่าการลาออกมีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองก็ขอให้ไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ เพราะไม่ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง และเชื่อว่าหากมีการยุบสภา หรือครบวาระก็จะมีพรรคการเมืองเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นถ้าอยากทำงานทางการเมืองก็ควรรีบลาออก แล้วไปตั้งพรรคใหม่ และบอกให้ประชาชนรับรู้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"