8ก.ค.63-เพจแพทย์ไทยไอเดียสุด ที่ติดตามสถานการณ์โควิด-19 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความคืบหน้าการวิจัยในต่างประเทศ ได้โพสต์ข้อมูล เกี่ยวกับการแพร่กระจายเชื้อโควิดในอากาศ ซึ่งข่าวล่าสุดนักวิจัยจาก 32 ประเทศทั่วโลก ได้ยืนยันว่า โควิด สามารถติดต่อทางอากาศ กระจายเชื้อได้ไกลกว่า 10 เมตร และองค์การอนามัยโลก ได้ออกคำเตือนมาแล้ว โพสต์ในเพจนี้ มีข้อมูลมากมายที่นำข้อมูลย้อนหลังมาประกอบกัน แต่มีความน่าสนใจมาก และเป็นเครื่องเตือนใจว่า โควิด อาจจะยังอยู่กับเรา แม้ในประเทศไทยจะไม่มีผู้ติดเชื้อจากในประเทศติดต่อกัน 43 วัน
เนื้อหาของเพจแพทย์ไทยไอเดียสุดมีดังนี้
-----------------
วิจัยยืนยัน "ความเสี่ยงเด็กผู้ใหญ่นั่งในห้องปิด" จึงรีบแปล รีบลง เพราะเปิดเทอม ถ้าช่วยกันแชร์วิจัยนี้ไปทั่วประเทศ อาจช่วยเด็กๆ และครอบครัวให้ลดความเสี่ยงติดเชื้อทั้งหวัด ทั้ง Covid19 ได้ ถ้าทำให้บางโรงเรียนที่ห้องเรียนติดแอร์ไหวตัวทัน เปิดประตูห้องให้อากาศไหลเวียนเข้าออกมากขึ้น
และทำให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ผู้บริหารเข้าใจปัจจัยเสี่ยงของห้องปิด (รวมถึงรถที่มีคนโดยสารมากๆ) และอาจจะทำให้ทุกคนการ์ดไม่ตกมากกว่านี้ด้วย
ผู้ที่สนใจตามอ่านวิจัยนี้ได้ที่
Exposure assessment for airborne transmission of SARS-CoV-2 via breathing, speaking, coughing and sneezing
https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2020.07.02.20144832v1
...............
ในโพสต์นี้มีแถม "รวมสุดยอด 15 ปัจจัยเสี่ยงในการรับเชื้อ ติดเชื้อ Covid19" ที่อาจจะหาอ่านแบบครบๆ แบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว
.............
#ความลับCovid19 ตอนที่ 32 - นั่งในห้องปิด ในรถ ที่มีผู้ติดเชื้อแค่ 1 ชั่วโมง แม้ไม่มีคนไอ จาม ก็มีลุ้นติดเชื้อได้ ได้อย่างไร ตามอ่านกันได้
ผู้ที่สนใจความลับ 31 ตอนแรก ตามอ่านกันได้ใน Tag "ความลับCovid19" ด้านบนได้เลยครับ
โพสต์ก่อนหน้านี้ ก็ไม่ควรพลาด !!
1. ต้องบุกตรวจในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงที่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยๆ ถึงจะเจอ แถมเจอตั้ง 3 %
https://www.facebook.com/100912971593787/posts/165700908448326/
2. วิจัยที่บังเอิญตรงกับการที่จีนเจอกลุ่มผู้ติดเชื้อแสดงอาการช้า ตรวจเชื้อไม่เจอใน 14 วันแรก แบบ Covid19 สายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่ข้ามไปจากทวีปยโรป และอเมริกาที่เข้าประเทศจีนตามโพสต์นี้
https://www.facebook.com/100912971593787/posts/165973595087724/
ผู้ที่เข้าประเทศมา ต่อให้กักครบ 14 วัน ตรวจเชื้อยังไงก็ไม่เจอ แม้เพิ่งติดเชื้อ พอหลุดการกักตัวกลับกระจายเชื้อได้ ... หรือแม้แต่แค่นั่งในเครื่องบินที่บินเข้ามา ก็อาจจะกระจายเชื้อกันในเครื่องบินได้ หรือลงเครื่องบิน ก็ในห้องอาหาร ในเลาจน์ ในบาร์น้ำที่สนามบิน โรงแรม หรือรีสอร์ทที่เอาไว้กักกันเบื้องต้น (เพราะต้องถอดมาส์กกินข้าวกันทุกคนในห้องอาหาร)
ถ้ามากระจายเชื้อในไทยอีกรอบ .... รอบนี้อาจจะไม่โชคดีเหมือนเวฟแรกก็ได้ ใครจะไปรู้
...............
วิจัยนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลดูจากข้อมูลวิจัยในอดีตหลายๆ วิจัย เพื่อมาคำนวนหาอัตราความเสี่ยงในการรับเชื้อจาก การจาม ไอ พูด และหายใจในห้องปิด หรือรถบัส รถโดยสารที่อากาศหมุนเวียนไม่ดี
โดยผู้ติดเชื้อสามารถกระจายเชื้อไวรัสออกมาได้ครั้งละ ไม่มากจนถึงหายสิบล้านตัวใน 1 ครั้งของการไอ จาม พูดก็เป็นได้ (จากวิจัยอื่นๆ เชื้อไวรัสเข้าไปในร่างกายแค่ 1,000 ตัวก็อาจทำให้ติดเชื้อได้แล้ว)
โดยอัตราการสัมผัสเชื้อ Covid19ของคนปกติ จะสัมพันธ์กับ
1. ปริมาณความเข้มข้นของเชื้อในเสมหะในคอ ในน้ำมูกในจมูกของผู้ติดเชื้อ
ถ้ามีเชื้อในสิ่งคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ ประมาณ 10,000 ตัวต่อมิลลิลิตรขึ้นไป จะเริ่มมีความเสี่ยงในการกระจายเชื้อไปให้ผู้อื่นสัมผัสเชื้อแล้ว (แต่ยังน้อยกว่า 1%)
ซึ่งส่วนใหญ่ 3/4 (75%) ของผู้ติดเชื้อ มักมีปริมาณเชื้อขั้นต่ำเพียงพอ (10,000 ตัวต่อ 1 มิลลิลิตร) ในการกระจายเชื้ออยู่แล้ว แม้กระทั่งช่วงไม่มีอาการ อาการน้อยก็ตาม
ครึ่งนึง (50%) พบ 100,000 ตัวต่อ 1 มิลลิลิตร
5% ของผู้ติดเชื้อ พบเชื้อได้ถึง 10 ล้านตัวต่อ 1 มิลลิลิตรเลยทีเดีว
2. ขนาดห้อง ขนาดรถ ยิ่งเล็ก ยิ่งกระจายเชื้อได้ง่าย โอกาสสัมผัสเชื้อยิ่งมาก
3. การจามแพร่เชื้อได้มากกว่าไอ พูด หายใจตามลำดับ
4. จำนวนครั้ง และลักษณะความแรงของท่าทางการจาม ไอ พูด หายใจ ยิ่งแรง ยิ่งทำมากๆ ยิ่งกระจายเชื้อได้มากขึ้น เช่นการร้องเพลง ออกกำลัง พูดดังๆ ยิ่งกระจายเชื้อได้มากกว่า ตัวอย่างเช่น วงคอรัส
5. ยิ่งอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อนานแค่ไหน ยิ่งมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น
ในห้องเดียวกัน อยู่นาน 1 ชั่วโมง โอกาสสัมผัสเชื้อ 14% ถ้า 4 ชั่วโมง โอกาสสัมผัสเชื้อ 41 %
................
อันนี้แถมเพิ่มให้ครบ จากวิจัยอื่น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
6. การหมุนเวียนอากาศไม่ดี เช่น รถโดยสารต่างๆ ห้องเรียน ห้องอาหารติดแอร์ที่ปิดประตูห้อง
7. อุณหภูมิที่เย็นกว่า เชื้ออยู่ได้นานกว่า ถ้าเย็นแบบคล้ายตู้เย็นความเสี่ยงสัมผัสเชื้อยิ่งสูง
8. ห้องมีแสงสาดเข้ามา หรือความชื้น ยิ่งมาก ๆ เชื้อยิ่งตายง่ายเป็น
9. มีผู้ติดเชื้อในห้อง ในรถกี่คน ยิ่งมากๆ ยิ่งความเสี่ยงสูง ยิ่งถ้าในห้องที่มีแต่ผู้ติดเชื้ออาการหนักๆ หลายๆ คนนอนรวมกัน ยิ่งมีความเสี่ยงสูง เช่น ใน ICU หอพักผู้ป่วย ห้องผู้ป่วยที่ระบบอากาศปิดที่มีผู้ติดเชื้อนอนอยู่
10. สายพันธุ์ที่ระบาดในพื้นที่นั้นๆ ถ้าสายพันธุ์นำเข้าจากประเทศในวีปยุโรป ทวีปอเมริกา หรืออิหร่าน อินเดียที่เหมือนกระจายง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมของจีน
11. กรรมพันธุ์ของประชากรในแต่ละประเทศ จะมีโอกาสในการรับเชื้อง่ายกว่ายากกว่า อาจจะรวมถึงปัจจัยที่มาภายหลัง เช่น การฉีดวัคซีนในอดีต (BCG ไข้หวัดใหญ่ ?)
12. ระยะห่างของผู้ที่อยู่ในห้อง ในรถ ยิ่งอยู่ห่างๆ ยิ่งเสี่ยงน้อง ถ้าคนเต็มห้อง เต็มรถ ก็เสี่ยงสูงมากแน่นอน
13. วัฒนธรรมในการเข้าสังคม ประชาชนมีความเชื่อถือในนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคระบาด ซึ่งพบว่าในเอเซียจะดีกว่ายุโรป สหรัฐ
14. การบังคับใช้กฎหมายในการล็อกดาวน์ งดเว้นกิจกรรมที่คนอยู่รวมกันมากๆ การเข้าชุมชน การใส่มาส์กในชุมชน การเว้นระยะห่างกัน
15. เวลาเข้าสถานที่ปิด มีการใส่มาส์ก หรือถอดมาส์กในห้อง ในรถมากกว่ากัน
16. อื่นๆ จะมาอัพเดทเพิ่มเติม
...............
เฉพาะข้อที่ 15 อาจชี้จุดเสี่ยงที่สุดของคนไทย คนทั้งโลก คือ
การถอดมาส์กตอนไปเที่ยว ไปซื้อของ ทำกิจกรรมต่างๆ ไปเรียน ไปทำงานในรถโดยสาร ในห้องปิด
"โดยเฉพาะทานข้าว" ในห้องปิดติดแอร์ อากาศระบายไม่ดี มีคนอยู่ค่อนข้างมาก มีการพูดคุยในห้อง เป็นระยะเวลานาน ความเสี่ยงมาครบจริงๆ มีตัวอย่าง Superspreaders จากการกินข้าวในห้องปิดมากมายจากทั่วโลก
.........
เขายกตัวอย่างมาในรูปที่ 8 (ดูตารางในรูปที่ 5 มีสถานการณ์ 6 แบบ)
แกนนอนเป็นความเข้มขันของไวรัสในสิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ แกนตั้งเป็นโอกาสรับเชื้อ
ในรถบัส มีคนนั่ง 1 คน ถ้าผู้ติดเชื้อมีไวรัสกระจายออกมา 100,000 ตัว /มิลลิสิตร มีโอกาสติดเชื้อ 4%
แต่ถ้ารถมีคนนั่ง 30 คน โอกาสที่คน 1 คนจะสัมผัสเชื้อกลายเป็น 60% ทันที
ในรถบัสที่มีคนนั่งเต็ม ถ้าผู้ติดเชื้อหายใจไปนานๆ มีไวรัสออกมา 10 ล้านตัว โอกาสสัมผัสเชื้อคือ 6%
แ่ต่ถ้าในรถบัส ผู้ติดเชื้อจามแรงๆ แค่ 1 ครั้ง โดยมีเชื้อ 10 ล้านตัว/มิลลิลิตร โอกาสมีผู้สัมผัสเชื้อ ขั้นต่ำ 1 คน คือ 100%
ถ้าความเข้มข้นของไวรัสจากผู้ติดเชื้อลดเหลือ 100000 ตัว/มิลลิลิตร โอกาสที่คน 1 คนจะรับเชื้อ คือ 60%
..........
มีการะบุถึง Superspreaders ว่าต้องมีหลายองค์ประกอบ เริ่มจาก
เป็น SuperReplicators คือผู้ติดเชื้อที่สามารถกระจายเชื้อจำนวนมากจากระบบทางเดินหายใจด้านบนออกมา
แล้วถ้าคนนั้นๆ สามารถก่อให้เกิดละอองฝอยทั้งใหญ่ทั้งเล็กได้มาก (Droplets and Aerosol Production) จะเรียกว่า SuperShedders
ถ้า SuperShedders ป่วยแล้วไปทำงาน ไปเรียน ไปขึ้นรถไฟฟ้า ไปที่ชุมชน ไปเที่ยว ไปทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่ปิด ไม่ใส่มาส์ก และมีพฤติกรรมเสี่ยง ก็อาจจะกลายเป็น SuperSpreaders ได้ เพราะปล่อยไวรัสออกมามากๆ ในแบบฟอร์มที่กระจายได้มากๆ
.
ปัญหา คือ มีกลุ่มติดเชื้อไร้อาการ หรืออาการน้อยๆ แต่มีเชื้อเยอะพอควรในสังคมทุกสังคม อาจจะมากน้อยแล้วแต่ช่วงนั้นระบาดหนักหรือน้อย
ในไทยช่วงนี้คงมีกลุ่ม Asymptomatic Pre Symptomatic และ Pauci Symptomatic ไม่มาก แถมเราเป็นสายพันธุ์เหมือนจะเบา กระจายช้า
แถมกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อมเราอาจจะไม่เอื้อในการกระจายเชื้อมากนอกสถานที่มากนัก
มาตรการช่วงแรกถือว่ามาทันเวลากระจายแบบ Multiple Superspreaders
แต่บอกตามตรงว่า "ยังมีผู้ติดเชื้อเบาๆ ที่ไม่ได้มาตรวจบ้าง" ไม่ได้แปลว่า "ไม่มีเลย"
ศบค รู้ดี เลยสั่งยิกๆ การ์ดห้ามตก !!
จริงหรือไม่ครับ ศบค. ?
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |