08 ก.ค.2563 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพลร่วมกับศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ผู้สูงวัยไทยใส่ใจสังคมมากน้อยแค่ไหน” ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8, 14-15, 29 พฤษภาคม และ 4-5 มิถุนายน 2563 จากผู้สูงอายุไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้สูงวัยไทยในช่วง 3 เดือนก่อนที่มีการประกาศพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจากการระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด - 19)
จากการสำรวจเมื่อถามถึงพฤติกรรมของผู้สูงวัยต่อกิจกรรม พบว่ากิจกรรมที่ผู้สูงวัยไม่เคยทำในชีวิตประจำวัน เกินกว่าครึ่ง ได้แก่ 65.36% ระบุว่า กิจกรรมนอกบ้านกับครอบครัว (เช่น ดูหนัง ทานข้าว) และ 54.08% ระบุว่า งานอดิเรกที่อาจมีการพนันขันต่อ (เช่น ชนไก่ แข่งนกขัน เล่นหวย/ซื้อสลากกินแบ่ง) ส่วนกิจกรรมที่ผู้สูงวัยทำทุกวันในชีวิตประจำวัน เกินกว่าครึ่ง ได้แก่ 80.96% ระบุว่า กิจกรรมภายในบ้านที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก (เช่น ฟังวิทยุ ดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์/หนังสือ) รองลงมา 74.96% ระบุว่า กิจกรรมในบ้านที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย (เช่น ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหาร ทำสวนครัว/สวนดอกไม้) และ 64.64% ระบุว่า ออกกำลังกาย (เช่น การเดิน โยคะ แอโรบิก ว่ายน้ำ เต้นรำ/รำไทย)
ในส่วนของการเป็นสมาชิกของกลุ่ม/องค์กรของผู้สูงวัย พบว่า ส่วนใหญ่ 76.32% ระบุบว่า ไม่เป็นสมาชิกของกลุ่ม/องค์กรใด ในขณะที่ 23.68% ระบุว่า เป็นสมาชิกของกลุ่ม/องค์กร โดยผู้สูงวัยที่ระบุว่า เป็นสมาชิกของกลุ่ม/องค์กร พบว่า ส่วนใหญ่ 52.70% เป็นสมาชิกขององค์กรของผู้สูงอายุหรือผู้เกษียณ (เช่น สมาคมผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ องค์การทหารผ่านศึก เป็นต้น) รองลงมา 46.28% เป็นสมาชิกขององค์กรทางวิชาชีพ (เช่น สหกรณ์ สมาคมแพทย์ เป็นต้น) 5.07% องค์กรทางสังคม หรือทางนันทนาการ (เช่น โรตารี่ ไลอ้อนส์ ซอนต้า เป็นต้น) 3.04% องค์กรทางการเมือง (เช่น พรรคการเมือง) และ 1.35% องค์กรด้านชาติพันธุ์/เชื้อชาติ (เช่น หอการค้าไทย-จีน สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมปักษ์ใต้ เป็นต้น)
สำหรับการเข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด/ศาสนสถาน หรือในชุมชนของผู้สูงวัย พบว่า ส่วนใหญ่ 83.52% ระบุว่า ไม่เข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด/ศาสนสถาน หรือในชุมชน ในขณะที่ 16.48% ระบุว่า เข้าร่วม ทำงานอาสาสมัครในวัด/ศาสนสถาน หรือในชุมชน โดยผู้สูงวัยที่ระบุว่า เข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด/ศาสนสถาน หรือในชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่ 49.03% เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รองลงมา 40.29% เป็นกรรมการวัด/ศาสนสถาน/โบสถ์ ร้อยละ 11.17 เป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) และ 6.80% ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครตำรวจบ้าน กรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน สำหรับ การเป็นอาสาสมัครโครงการธนาคารเวลา มีเพียง 0.49% ของผู้สูงวัย
ผู้สูงวัยส่วนมากไม่ใช้สื่อทางสังคม (Social Media) แต่ทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อติดต่อสื่อสาร สำหรับการใช้สื่อทางสังคม (Social Media) ของผู้สูงวัย พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ 44.72% ระบุว่า ใช้ Line รองลงมา 30.56% ระบุว่า ใช้ Facebook 29.60% ระบุว่า ใช้ YouTube 4.80% ระบุว่า ใช้ Instagram และ 3.44% ระบุว่า ใช้ Twitter ด้านการมีเครื่องมือการสื่อสารของผู้สูงวัย พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ 6.56% มี Notebook ใช้ รองลงมา 6.24% มี คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) ใช้ และ 6% มี Tablet ใช้
ท้ายที่สุดสำหรับบุคคลที่ช่วยเหลือผู้สูงวัยในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร พบว่า 30.64% ระบุว่า ไม่มีใคร รองลงมา 28% ระบุว่า บุตรสาว 25.04% ระบุว่าหลาน (ลูกของบุตร) 21.36% ระบุว่า บุตรชาย 9.20% ระบุว่า เพื่อน 3.04% ระบุว่า คู่สมรส 1.76% ระบุว่า ญาติ 1.52% ระบุว่า บุตรสะใภ้ 1.36% ระบุว่า น้องสาว 1.20% ระบุว่า บุตรเขย 0.88% ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ เพื่อนบ้าน พนักงานร้านขาย - ซ่อม โทรศัพท์ และ 0.56% ระบุว่า น้องชาย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |