7 ก.ค.2563 นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเดือนกรกฎาคม 2563 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น 4% มาอยู่ที่ระดับ 101.19 อยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเหมือนเดือนก่อน โดยนักลงทุนคาดหวังการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมาคือนโยบายภาครัฐ และการไหลเข้าออกของเงินทุน ทั้งนี้ ความกังวลต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไตรมาส 2 ปี 2563 เป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือการไหลเข้าออกของเงินทุน และนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมถึงยังคงกังวลกับการระบาดรอบสองของไวรัสโควิด-19
ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ “ร้อนแรง” ที่ 125.00 ส่วนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ “ทรงตัว” ที่ 100.00 ด้านสถาบันในประเทศปรับลดลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับ “ทรงตัว” ที่ 100.00 และกลุ่มนักลงทุนบุคคลปรับตัวลงอยู่ในระดับ “ซบเซา” ที่ 71.79 สำหรับหมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (FOOD) ส่วนหมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดธนาคาร (BANK)
“ผลสำรวจ ณ เดือนมิถุนายน 2563 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่า ความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ “ร้อนแรง” ในขณะที่กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และสถาบันในประเทศอยู่ในระดับ “ทรงตัว” ยกเว้นกลุ่มนักลงทุนบุคคลที่ปรับตัวลงอยู่ในระดับ “ซบเซา” ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2563 ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม โดยช่วงครึ่งเดือนแรกดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1,341.99—1,438.66 จุด หลังจากได้รับแนวโน้มการผ่อนคลาย Lockdown ระยะที่สี่ รวมถึงครม. เห็นชอบมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว วงเงินรวม 22,400 ล้านบาท จากนั้นดัชนีปรับตัวลงเล็กน้อยหลังจากกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2563 ติดลบ 8.1% และประกาศให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายดเงินปันผลระหว่างกาล อีกทั้งธนาคารกลางสหรัฐประกาศห้ามธนาคารจ่ายเงินปันผล โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ปิดที่ 1,339.03 จุด"
ขณะเดียวกัน ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ความขัดแย้งบริเวณชายแดนจีน—อินเดีย การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในส่วนของปัจจัยในประเทศที่น่าติดตามได้แก่ ผลกระทบของโควิดต่อเศรษฐกิจ การผ่อนคลายการลอคดาวน์ และมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งมาตรการด้านการคลัง มาตรการด้านสินเชื่อ และมาตรการด้านการเงิน
ทั้งนี้ ประเมินว่าเป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1,400-1,450 จุด ด้านทิศทางของกระแสเงินทุนต่างชาติ คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ยังไม่มีปัจจัยบวกมากพอที่จะทำให้กระแสเงินทุนไหลเข้ามามาก โดยมองว่าในช่วงไตรมาส 3 ยังเร็วเกินไปที่จะไหลกลับเข้ามาตลาดหุ้นไทย เนื่องจากนักลงทุนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อการคลายล็อคมาตรการต่างๆ ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีแค่ไหน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |