การตัดสินใจว่าประเทศไทยควรจะเข้าร่วม CPTPP หรือไม่ เป็นหัวข้อร้อนแรงที่มีทั้งผู้เห็นด้วยและคัดค้าน
ไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านการเกษตรหรือสาธารณสุข ซึ่งก็มีการนำเสนอกันแล้วในหลายๆ เวที
ที่น่าสนใจล่าสุดคือ ความเห็นจาก ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ UNCTAD และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ WTO ที่ให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” เมื่อสัปดาห์ก่อน
ความเห็นของคุณศุภชัยเป็นแง่มุมเรื่อง “ภูมิรัฐศาสตร์” ที่โยงกับจุดยืนของไทยในเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ กับจีน
ผมเชื่อว่านี่ก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะคุณศุภชัยยกคำถามมาชวนคนไทยให้ช่วยกันคิด 5 ข้อว่าทำไมไทยต้องร่วมขบวน CPTPP
1.ไทยคิดดีแล้วหรือที่แสดงความกระตือรือร้นจะเข้าร่วม CPTPP (ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก) ที่คุณศุภชัยเชื่อว่าเป็นแผนการสกัดการเจริญเติบโตด้านการค้าของจีน "ตามแนวทางที่ "สหรัฐอเมริกา" ปูเอาไว้"
คุณศุภชัยเห็นว่าจีนเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีบทบาทเรื่อง "ซัพพลายเชน" และ "ทหาร" เป็นอย่างมาก
2.ไทยจำเป็นต้องทำตามวาระของสหรัฐฯ หรือไม่ ทั้งๆ ที่เรามีวาระกลาง ที่ทำโดยอาเซียน 10 ประเทศอยู่แล้ว
เหตุใดไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สหรัฐฯ และพรรคพวกวางไว้ เช่น การลงทุน รัฐวิสาหกิจ กระบวนการระงับข้อพิพาท ข้อตกลงด้านการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ
3.ไทยคิดดีแล้วหรือที่จะไปร่วมองค์กรซึ่งมีกฎระเบียบมากมาย เพิ่มเติมจาก WTO (องค์การการค้าโลก) ทำไมไทยต้องยอมให้ประเทศยักษ์ใหญ่ 2-3 ประเทศ มาบังคับ? ทั้งที่เรามีพรรคพวกตั้ง 160 ประเทศ ใน WTO
4.ทุกประเทศรวมถึงจีน เกรงใจ "อาเซียน" เหตุใดจึงต้องยอมให้ CPTPP เข้ามาวางกฎเกณฑ์และปกครองอาเซียน
ทำไมจึงยอมให้อาเซียน 10 ประเทศ ถูกแบ่ง เป็นฝ่ายเอา CPTPP กับฝ่ายถูกทิ้งให้อยู่นอก CPTPP ทำไมเราไม่เข้าไปพร้อมกันทั้ง 10 ประเทศ?
5.ทำไมต้องรวมกลุ่มกันเพื่อการค้าเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ควรพัฒนาเรื่องทรัพยากร การลงทุน คมนาคม ฯลฯ ให้ครอบคลุมทุกมิติ
"การค้าของเราและการค้าโลกในเวลานี้ ต่อให้ทำอีก 10 CPTPP ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะเศรษฐกิจติดลบ" คุณศุภชัยถามอย่างน่าสนใจ
ผมเห็นด้วยกับคำถามทั้งห้าข้อของคุณศุภชัย แต่ก็บางประเด็นที่ควรจะได้รับการพิจารณาในการวางยุทธศาสตร์ของชาติในขณะที่เราต้องฟื้นจากวิกฤติโควิดอย่างเข้มแข็งที่สุด
ทิศทางของไทยในภาวะระเบียบโลกกำลังจะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญนั้นจำเป็นที่ไทยจะต้องเข้าใจกติกาใหม่ที่ยังไม่มีใครรู้ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน
เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะชนะเลือกตั้งหรือไม่
คำถามต่อมาคือ หากโจ ไบเดน ของพรรคเดโมแครตสามารถคว่ำทรัมป์ได้ สหรัฐฯ จะเปลี่ยนนโยบายอย่างไร
สหรัฐฯ ภายใต้ไบเดนจะกลับมาร่วมผลักดัน CPTPP หรือไม่
และความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะมีรูปแบบอย่างไร...ทั้งในภาพของทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง และกรณีที่ผู้นำคนใหม่ของอเมริกาชื่อไบเดน
แนวทางการ “รักษาระยะห่างอันเหมาะควร” ของไทยกับมหาอำนาจทั้งหลายเป็นกลยุทธ์ของไทยมาตลอด...ทำได้บ้างทำไม่ได้บ้างแล้วแต่ปัจจัยการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้นๆ และวิสัยทัศน์ของผู้นำไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัย
นโยบายรักษา Equi-Distance กับมหาอำนาจเป็นเรื่องสำคัญ แต่วันนี้ต้องยอมรับว่าภาพของไทยมีความใกล้ชิดกับจีนมากกว่าสหรัฐฯ ในบางมิติ
อาเซียนเองก็แบ่งเป็นกลุ่มประเทศที่เอียงไปอยู่กับจีน และอีกกลุ่มหนึ่งที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากกว่า
นโยบายที่ถูกต้องของไทยจึงควรจะต้องเป็นการให้ทั้งสหรัฐฯ และจีนมีความเคารพในนโยบายที่ไม่ต้องการให้ประเทศใหญ่ที่ไหนมากดดันบังคับให้เราต้อง “เลือกข้าง”
นั่นหมายถึงการนิยามผลประโยชน์ของประเทศเราให้ชัดเจน และสื่อสารรวมถึงมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
การจะเข้าเจรจากับ CPTPP หรือไม่ อาจจะไม่ได้เป็นลักษณะ “ขาวกับดำ” อย่างที่คุณศุภชัยพูดเสียเลยทั้งหมด
การเข้ากับ RCEP เต็มตัวเป็นทิศทางที่ถูกต้องโดยต้องไม่ถูกมองว่าอยู่ใน “ค่าย” ของจีน และ “ไม่เอา” สหรัฐฯ
และหากเราจะขยับเข้าสู่ขั้นตอนของการเริ่มเจรจากับ CPTPP เมื่อชั่งน้ำหนักของข้อดีและข้อเสีย (เราไม่อาจจะคาดว่าจะดี 100% หรือเสีย 100%) แล้วก็ไม่ควรจะถูกมองว่าต่อต้านจีนหรือยอมก้มหัวให้สหรัฐฯ แต่อย่างไร
นักการทูตจีนท่านหนึ่งในประเทศไทยบอกผมว่าจีนก็สนใจ CPTPP และกำลังชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียอยู่
เรายังต้องทำการบ้านอีกมากเพื่อให้การตัดสินใจนโยบายระดับชาติอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างวิทยาศาสตร์ ไม่ใช้อารมณ์ ไม่มีอคติและไม่ติดยึดอยู่ในวิธีคิดแบบเก่าๆ ทั้งสิ้นทั้งปวง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |