เครือข่ายโรคไต จวก"แพทยสภา"ออกกฎผู้ป่วย เกินเลยอำนาจหน้่าที่ ถ่างความเหลื่อมล้ำหมอ กับคนไข้


เพิ่มเพื่อน    


6ก.ค.63-เครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกประเภทค้านประกาศแพทยสภา   10 ข้อ  ชี้ไม่ใช่หน้าที่และอำนาจในการออกระเบียบข้อบังคับต่อผู้ป่วย สะท้อนเหลื่อมล้ำแพทย์และผู้ป่วย ที่ถูกมองเป็นลบ อีกทั้ง ต้องระบุให้ชัดว่าไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีทางการแพทย์

นายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกประเภท (Healthy forum) ให้ความเห็นคัดค้านการออกประกาศแพทยสภาเรื่องหน้าที่ของผู้ป่วย ซึ่งได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากมองว่าแพทยสภาไม่มีอำนาจในการออกหน้าที่ของผู้ป่วยแต่อย่างใด ดังนั้นประกาศดังกล่าวจึงขัดต่อกฎหมายของแพทยสภา

นายธนพลธ์ กล่าวว่า การที่แพทยสภาอ้างอิงตามความในมาตรา 21 (1) มาตรา 7 (2) และ (4) หากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าแพทยสภาไม่มีอำนาจในการออกประกาศเรื่องหน้าที่ของผู้ป่วย เพราะในมาตรา 21 (1) ระบุว่า ให้อำนาจคณะกรรมการแพทยสภาในการบริหารกิจการแพทยสภาตามวัตถุประสงค์ในมาตรา 7 และในส่วนของมาตรา 7 (2) ก็กำหนดวัตถุประสงค์ในเรื่องการส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบอาชีพในทางการแพทย์ ส่วนใน (4) ก็ระบุในเรื่องการช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข ซึ่งจะเห็นว่าไม่ได้เป็นอำนาจในการออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยแต่อย่างใด ทำได้เพียงการช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และการให้การศึกษาแก่ประชาชน แต่ไม่ใช่การออกคำสั่งต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหรือประชาชน

"จริงๆ คือมันทำผิดหน้าที่ ที่บอกว่าตามมาตรา 7 จริงๆ มันเป็นเรื่องการวิจัย การพัฒนาแพทย์ ไม่ใช่การมาออกระเบียบข้อบังคับกับคนไข้ มันไม่ใช่หน้าที่แพทยสภา หากจะมีการออกหน้าที่ผู้ป่วยจริง ควรเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข" นายธนพลธ์ กล่าว

นอกจากนี้ หากหากพิจารณาหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยทั้ง 10 ข้อที่แพทยสภาระบุไว้ จะเห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และทัศนคติของแพทยสภาที่มองผู้ป่วยเป็นลบ มองว่าไม่สนใจปัญหาสุขภาพของตนเอง ทั้งๆ ที่เรื่องสุขภาพนั้นมีปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนหลากหลาย ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

ขณะเดียวกัน หน้าที่ของผู้ป่วยหลายประการที่ระบุไว้ เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพที่จะซักถามจากผู้ป่วยเพราะผู้ป่วยจำนวนมากไม่ทราบว่าสิ่งไหนสำคัญไม่สำคัญที่จำเป็นจะต้องให้ข้อมูล และบางเรื่องก็สามารถอธิบายให้ผู้ป่วยหรือญาติได้รับทราบ เช่น การใช้ห้องฉุกเฉิน ความเหมาะสม หรือบางหน้าที่เป็นพฤติกรรมเฉพาะตนของผู้ป่วยในบางกรณีที่มีสาเหตุมาจากความไม่พอใจ ซึ่งไม่ควรกำหนดเป็นหน้าที่ของผู้ป่วยโดยภาพรวม

นายธนพลธ์ ยังกล่าวอีกว่า หากจะมีการออกระเบียบข้อบังคับกับคนไข้ ควรจะต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างกว้างขวาง ต้องมีการทำงานร่วมกัน ไม่ใช่คิดแทนผู้ป่วย และต้องระบุอย่างชัดเจนว่า หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีทางการแพทย์

"ถ้าแพทย์เป็นคนกำหนด หากเกิดความเสียหายจากการให้บริการ คุณก็สามารถตัดสินได้เลย คิดแทนเราได้เลยว่าเขาต้องถูก ทั้งๆที่ บางครั้งอาจเกิดจากความผิดพลาดของแพทย์ ดังนั้นอยากให้ทำอะไรก็ตามต้องทำประชาพิจารณ์ ไม่ใช่คิดแทนเรา" นายธนพลธ์ กล่าวทิ้งท้าย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"