เป็นการขยับเดินทางการเมือง ที่เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาไม่น้อย กับกลยุทธ์ใหม่ของ พรรคก้าวไกล-คณะก้าวหน้า ที่เดินหมากทางการเมืองแบบคู่ขนาน ทั้งในสภาที่ขับเคลื่อนผ่านพรรคก้าวไกล โดยการนำของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และนอกสภากับ คณะก้าวหน้า โดยการนำของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และปิยบุตร แสงกนกกุล
ด้วยการที่ "พรรคก้าวไกล" เสนอชื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ให้คัมแบ็ก กลับเข้าสู่รันเวย์การเมืองในสภาอีกครั้ง ในฐานะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2564 ที่จะประชุมนัดแรก วันพุธที่ 8 ก.ค.นี้ เพื่อเลือกประธาน กมธ.และตำแหน่งอื่นๆ
วิเคราะห์ได้ว่า สาเหตุที่พรรคก้าวไกลต้องเข็น ธนาธร กลับมาอีกรอบ อาจเพราะต้องการปรับจุดโฟกัสให้ธนาธร-คณะก้าวหน้า อยู่ในโฟกัสทางการเมืองของสาธารณชนมากขึ้น โดยเฉพาะการเมืองกระแสหลัก เพราะคงมองว่าจะไปหวังใช้แต่ช่องทางการแสดงความเห็น และการเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านโซเชียลมีเดีย ในพื้นที่ของคณะก้าวหน้า-แฟนคลับพรรคก้าวไกล-แฟนคลับธนาธร เท่านั้นคงไม่เพียงพอ จำเป็นต้องให้ธนาธรกลับเข้าสู่เส้นทางการเมืองในกระแสหลักด้วย เพื่อทำให้การขับเคลื่อนของตัวเขาและคณะก้าวหน้าได้รับการพูดถึงและถูกจับตามองมากขึ้น ไม่ใช่แค่กับแฟนคลับกลุ่มเดิมๆ
พรรคก้าวไกล จึงจับมือกับ ธนาธร-คณะก้าวหน้า ในการเสนอชื่อธนาธรกลับมาเป็นกรรมาธิการงบประมาณปี 2564 อีกรอบอย่างที่เห็น ที่คาดหมายได้เลยว่าเป้าหมายหลักของ ธนาธร ในการคัมแบ็ก รอบนี้ ก็คือการเข้าไปเล่นบทบาทหัวหอกหลักในการตรวจสอบงบประมาณ กระทรวงกลาโหม
หลังก่อนหน้านี้ตอนเป็น กมธ.งบฯ ปี 2562 ก่อนที่จะลาออกกลางคันทิ้งเก้าอี้ไปแบบดื้อๆ ตอนนั้น ธนาธรก็เป็น กมธ.งบฯ จากซีกฝ่ายค้าน ที่คอยรุกไล่ตรวจสอบงบประมาณกระทรวงกลาโหมอย่างเข้มข้น
เห็นได้จากที่มีการซักไซ้ไล่เลียงผู้นำเหล่าทัพที่มาชี้แจงต่อ กมธ.งบฯ เมื่อ 28 พ.ย.62 ที่ประกอบด้วย พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ., พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผบ.ทร., พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผบ.ทอ. โดยในวันดังกล่าว "ธนาธร" เล่นบทไล่จี้ถามผู้นำเหล่าทัพ ถึงเรื่อง ที่มาของรายได้นอกงบประมาณร่วม 18,657 ล้านบาท ที่ไม่ได้ถูกส่งกลับเข้าคลัง และไม่มีการตรวจสอบ
โดยมีการขอให้ผู้นำกองทัพชี้แจงรายละเอียดในเรื่องต่างๆ เช่น รายได้จากการใช้ทรัพยากรคลื่นวิทยุย้อนหลัง 10 ปี, รายชื่อบริษัทผู้รับบริหารสัมปทานคลื่นวิทยุ และสัญญากับทุกบริษัท, สัญญาระหว่างกองทัพบกกับช่อง 7 ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2512, รายได้จากการให้สัมปทานช่อง 7 ทุกปี ตั้งแต่ปี 2512, รายได้อัตราค่าเช่าโครงข่ายภาคพื้นดิน หรือ MUX
ซึ่งตอนนั้น ธนาธร ระบุว่า "ประชาชนตั้งคำถามว่า ทำไมบรรดานายพลจึงร่ำรวยผิดปกติ เพราะเมื่อดูจากบัญชีทรัพย์สินที่แสดงต่อ ป.ป.ช.เมื่อพฤษภาคม 2562 รายได้ของนายพล 81 คน ที่เป็นสมาชิก สนช. มีทรัพย์สินเฉลี่ย 78 ล้าน รายได้เฉลี่ย 12.72 ล้านบาทต่อปี ซึ่งรายได้และทรัพย์สินเหล่านี้ไม่สามารถได้มาโดยลำพังเงินเดือนการเป็นทหารอย่างเดียว"
การคัมแบ็กของธนาธรรอบนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งหมากทางการเมืองที่ พรรคก้าวไกล-คณะก้าวหน้า จับมือกัน เพื่อเตรียมเปิดหน้าชนกับ กองทัพ ผ่านการตรวจสอบงบทหารอย่างเข้มข้นในชั้น กมธ.งบฯ ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |