5 ก.ค.63- นายสมยศ วงศ์บุญยกุล นายกสมาคมชาวประมงภูเก็ต และสมาชิกรวมตัวกันประมาณ100คน ยื่นหนังสือ แก่ นายพิเชษฐ์ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เรื่อง คัดค้านการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ณ ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
นายสมยศ กล่าวว่า จากการที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ติดประกาศเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการพิจารณาเกี่ยวกับโรงงานจำพวกที่ 3 โดยจะพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัทมาร์ซัน จำกัด(มหาชน) ตั้งอยู่ ณ ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต หมู่ที่ 1 ถนนศรีสุทัศน์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ประกอบกิจการ ต่อและซ่อมแซมเรือ โดยบุคคลใดจะให้ความเห็นเรื่องดังกล่าวขอให้แจ้งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ตทราบภายในวันที่ 10 ก.ค.2563
จากประกาศดังกล่าว นำไปติดประกาศไว้ที่ ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีชาวประมงพบเห็นและไม่เห็นด้วยให้มาตั้งโรงงานฯ ในสถานที่แห่งนี้ จึงรวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้านกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ด้วยเหตุผลคือ โครงการพัฒนาที่ดินขององค์การสะพานปลา อนุญาตให้บริษัทมาร์ซัน จำกัด(มหาชน) ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมต่อเรือเหล็กซ่อมเรือเหล็กขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในพื้นที่ อยู่ห่างจากท่าเทียบเรือประมงและชุมชน 150เมตร
นายสมยศ ระบุว่า หากมีการตั้งโรงงานฯนี้ จะก่อให้เกิดมลพิษ ทางอากาศ ฝุ่นละอองจำนวนมาก มลพิษทางน้ำ เกิดการปนเปื้อนมลพิษทางน้ำไหลลงคลองท่าจีนที่เป็นคลองหลักในการสัญจรของเรือประมง และมลพิษทางเสียงดังรำคาญมีผลต่อชุมชนทั้งหมด รวมทั้ง กระทบป่าชายเลนโดยรอบจะมีผลต่อการประกอบอาชีพชาวประมงเป็นอย่างมาก การจะอนุญาตให้ประกอบกิจการต่อและซ่อมแซมเรือดังกล่าว องค์การสะพานปลา มีนโยบายผิดพลาด แทนที่จะส่งเสริมการประมงและตลาดสัตว์น้ำ โดยเฉพาะ เน้นสุขอนามัย ท่าเทียบเรือประมง แต่กลับอนุญาตให้ดำเนินกิจการต่อและซ่อมแซมเรือ ของ บ.มาร์ซันจำกัด(มหาชน) เน้นเรือเหล็กเป็นหลัก กิจการนี้ต้องเข้าไปอยู่ในเขตอุตสาหกรรมโดยเฉพาะไม่ใช่มาอยู่รวมกับอุตสาหกรรมการเกษตรอาหารเพื่อการบริโภค
'ที่ผ่านมา ทางหน่วยงานรัฐ ทำประชาพิจารณ์เรื่องนี้รอบนอก ไม่เข้ามาทำในท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต และมาติดประกาศในจุดที่ถ้าไม่สังเกตไม่เห็น โชคดีที่ชาวประมงพบเห็นประกาศจึงนัดรวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้านกับรองผวจ.ภูเก็ต ซึ่ง อุตสาหกรรมหนักขนาดนี้ไม่ควรมาตั้งในเขตท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตกระทบกันทั้งหมด ในท่าเทียบเรือประมงและข้างเคียงมีคานเรือ 3 แห่งแล้ว จะมาสร้างโรงงานอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ใช้พื้นที่ 66ไร่ จะกระทบทั้งหมดที่อยู่ในท่าเทียบเรือประมงและบริเวณโดยรอบ ทั้งที่ป่าชายเลน ที่อยู่อาศัยของลิงแสม เดือดร้อนกันหมด ควรพัฒนาเป็นตลาดปลาเพื่อส่งเสริมท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชน แบบOTOP ภูเก็ต ให้นักท่องเที่ยวมาแวะซื้อเพื่อยกระดับสินค้าประมง น่าจะดีกว่าสร้างโรงงานอู่ต่อเรือขนาดใหญ่' นายสมยศ ระบุ
นายสมยศ ระบุด้วยว่า สมาคมชาวประมงภูเก็ตในฐานะตัวแทนของชาวประมงที่อยู่ในบริเวณท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต และแพปลาเอกชน ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม จะได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ ทางเสียง และ ทางน้ำ จากกิจกรรมการต่อและซ่อมแซมเรือจึงขอคัดค้านการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัทมาร์ซันจำกัด(มหาชน) เพื่อดำเนินกิจการต่อและซ่อมแซมเรือในพื้นที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตโดยเด็ดขาด และจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อให้ชาวประมง ผู้ประกอบการประมงได้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีคุณค่าและยั่งยืน และไม่ถูกรบกวนหรือทำลาบจากกิจการที่จะเกิดขึ้นหากได้รับการอนุญาต
ด้านนายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดถูเก็ต รับหนังสือและระบุว่าจะพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |