สศค. เร่งดันกฎหมายภาษีลาภลอย-สินทรัพย์ดิจิตอล


เพิ่มเพื่อน    

สศค. เร่งผลักดันกฎหมายการเงินสำคัญ 5-6 ฉบับ หวังเป็นเครื่องมือช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโตอย่างมีเสถียรภาพ ชู "กฎหมายคุมเทรดคริปโตเคอเรนซี" มีผลบังคับใช้เร็ว ๆ นี้ พร้อมลุ้น ก.ล.ต. ออกกฎหมายลูกออกมารองรับ

13 เม.ย. 61 - นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. ต้องเร่งผลักดันกฎหมายการเงินสำคัญๆ 5-6 ฉบับ เพื่อทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น โดยมีกฎหมายที่สำคัฐประกอบด้วย พ.ร.ก. การประกอบสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งรอมีผลบังคับในไม่ช้านี้ ซึ่งทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะต้องออกกฎหมายลูกออก โดยผู้ที่ใช้คริปโตเคอเรนซี่ทั้ง โบรกเกอร์ ดีลเลอร์ ต้องมาขึ้นทะเบียนกับทาง ก.ล.ต.

ขณะเดียวกันผู้ออกหน่วยสินทรัพย์ดินจิทัล (ไอซีโอ) ก็ต้องขออนุญาต ก.ล.ต. เหมือนกับการออกขายหุ้น ขณะที่ประชาชนที่ซื้อขายคริปโตเคอเรนซี่ จะต้องทำพิสูจน์ตัวตนว่าเป็นใคร ซึ่งการออกกฎหมายนี้ของไทยถือเป็นแห่งแรกของโลกที่มีการออกกฎหมายควบคุม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับนักลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ สศค. ต้องเร่งผลักดันประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ พ.ศ. .... หรือ ภาษีลาภลอย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ดีทำให้เกิดการกระจายใช้ประโยชน์ของที่ดินและทำให้รัฐเก็บรายได้เพิ่มมากขึ้น

สาระสำคัญของกฎหมายยังกำหนดเพดานอัตราภาษีที่จะเก็บไม่เกิน 5% โดยอัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจริงจะกำหนดในพระราชกฤษฎีกาอีกครั้ง ผู้เสียภาษี คือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของห้องชุด ที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเจ้าของห้องชุดรอการจำหน่าย ซึ่งอยู่รอบพื้นที่ที่มีโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สนามบิน ท่าเรือ โครงการทางด่วนพิเศษ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีพ.ร.บ.ให้คลังตั้งหน่วยงานขึ้นมากำกับดูแลที่ดำเนินการคล้ายสถาบันการเงินแต่ไม่ได้กำกับโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือหน่วยงานอื่นๆ เลย เช่นลิสซิ่ง แฟคตอริ่ง เช่าซื้อ รวมถึงพิโกไฟแนนซ์ เพื่อดูแลกำกับไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน คุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอาเปรียบคิดดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมสูง ซึ่งหากใครทำผิดก็จะมีบทลงโทษ ที่กฎหมายปัจจุบันยังไม่ครอบคลุม

นายสุวิชญ กล่าวว่า ยังมี พ.ร.บ. การบริหารจัดการบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน ที่ไม่เคลื่อนไหว 10 ปี ให้โยกย้ายมาไว้ในเงินคงคลัง และสร้างระบบให้เจ้าของตรวจสอบและขอคืนจากกระทรวงการคลังได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่างประเทศทำกันหลายประเทศ
นอกจากนี้ สศค. ต้องเร่งพิจารณา พ.ร.บ. สถาบันการเงินชุมชน เพื่อสนับสนุนองค์กรการเงินระดับชุมชนให้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ คนมีรายได้น้อยในต่างจังหวัดเข้าถึงการบริการทางการเงิน ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก รวมถึงการดันร่าง พ.ร.บ.ดูแลคู่สัญญา เพื่อให้การซื้อทรัพย์สินของประชาชนไม่ถูกเอาเปรียบ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"