เริ่มแล้วเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา 2563 ชาวพุทธพร้อมใจสืบสานพุทธศาสนา-ประเพณีอันดีงาม


เพิ่มเพื่อน    

 

พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทยมาแต่อดีต น้อมนำหลักธรรมมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตให้มีคุณธรรมและสติปั­­าเพื่อพัฒนาตนเอง ชุมชนและบ้านเมืองให้เจริ­รุ่งเรือง ประเทศไทยได้รับการยกย่องให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ในวันสำคั­ทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาปีนี้ รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนาทั่วประเทศ จัดกิจกรรมเนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา พุทธศักราช 2563 ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2563 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

 

 

นายอิทธิพล  คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สำหรับส่วนกลาง จัดพิธีเจริ­พระพุทธมนต์หล่อเทียนพรรษาและจะได้นำเทียนพรรษาไปถวายวัดในวันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2563 โดยมีหน่วยงานในกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้แทนไปร่วมเป็นเจ้าภาพถวายเทียนพรรษา ดังนี้ 1.กรมการศาสนา ที่วัดพรหมวงศาราม เขตดินแดง และวัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน 2. กรมศิลปากร ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร 3. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่วัดพระราม 9 กา­จนาภิเษก เขตห้วยขวาง 4. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่วัดเทพลีลา เขตบางกะปิ 5.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร  6.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ที่วัดชัยพฤกษมาลา เขตตลิ่งชัน 7.ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ที่วัดเสมียนนารี เขตหลักสี่ 8.หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ที่วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริ­ 9.เปรีย­ธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ที่วัดสามพระยา เขตพระนคร

 

 

นอกจากนี้ วธ. โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และชุมชนต่างๆในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สืบสานวัฒนธรรมอันดีงาม เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา พุทธศักราช 2563 ด้วย เพื่อให้พลังบวรในชุมชนเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นแกนกลางในการส่งเสริมประพฤติปฏิบัติถูกต้องเหมาะสมตามหลักธรรมศาสนา น้อมนำหลักปรัช­ของเศรษฐกิจพอเพียง สืบสานรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม มีจิตอาสา ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

 

ในส่วนภูมิภาค ได้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตามความพร้อมของแต่ละจังหวัด เช่น พิธีหล่อเทียน การแห่เทียนพรรษา การถวายเทียนพรรษา การทำบุ­ตักบาตร การแสดงพระธรรมเทศนา พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติธรรม การประดับธงชาติและธงธรรมจักร การจัดนิทรรศการวันสำคั­ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งรณรงค์ให้พุทธศาสนิกชนรักษาศีล ลด ละ เลิก อบายมุข ตลอดพรรษา โดยในปีนี้การจัดกิจกรรมทุกประเภท ได้ดำเนินการตามข้อปฏิบัติและคำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และคำแนะนำเกี่ยวกับเทศกาลประเพณีสงกรานต์ ประเพณีต่างๆ พิธีทางศาสนาในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของ วธ.

 

 

ทั้งนี้ โดยในส่วนของภูมิภาคนั้นได้มีการสืบทอดรักษาประเพณีอันดีงามและสืบทอดพระพุทธศาสนาจากระดับท้องถิ่นให้ยั่งยืนระดับประเทศและระดับนานาชาติ อาทิ ภาคเหนือ ได้แก่ ประเพณีตักบาตรเทียน จังหวัดน่าน ภาคกลาง ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และประเพณีตักบาตรดอกไม้ วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ภาคอีสาน ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี และประเพณีแห่เทียนพรรษา ตักบาตรบนหลังช้าง จังหวัดสุรินทร์ และภาคใต้ ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น

 

ด้าน นายกฤษศ­พงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า วธ.พร้อมส่งเสริมให้มีการจัดงานเทศกาลประเพณีของท้องถิ่นอย่างถูกต้องตามหลักศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและตามหลักของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งการทำบุ­ตักบาตร หล่อเทียน เวียนเทียน ถวายเทียนพรรษา ไหว้พระ สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม เจริ­จิตภาวนา หรือกิจกรรมอื่นใด ช่วยกันสืบสาน รักษา ต่อยอดไปสู่คนรุ่นหลัง

 

"ปีนี้ได้มอบหมายให้วัฒนธรรมจังหวัด ร่วมหาแนวทางและเข้าไปหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดและสธ.จังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำทางภูมิปั­­ผู้นำท้องถิ่นว่าสามารถจัดกิจกรรมได้หรือไม่ หากสามารถจัดได้จะมีแนวทางจัดอย่างไร ขอย้ำให้มีมาตรการทางสาธารณสุขป้องกันอย่างเคร่งครัด" ปลัด วธ. กล่าว

 

 

เทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา พุทธศักราช 2563 จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ชาวพุทธจะได้ร่วมมือกันส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ปลุกจิตสำนึกคนในชาติ ยึดมั่นและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ประชาชนน้อมนำหลักธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติ สร้างคุณความดี สืบทอดพระพุทธศาสนาและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยพร้อมเพรียงกัน

 

วันอาสาฬหบูชา  ตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน (อธิกมาส) กำหนดเป็นวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน) ก่อนเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคั­ทางพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา ทรงแสดงธรรมครั้งแรก (ปฐมเทศนา) "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" เป็นวันที่พระสงฆ์องค์แรกเกิดขึ้น คือ พระอั­­าโกณฑั­­ะ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

 

วันเข้าพรรษา วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่ง ไม่ได้ไปค้างแรมในที่อื่นตลอด 3 เดือนในฤดูฝน ระหว่างแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พระภิกษุจะได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและประพฤติปฏิบัติธรรม พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญบุ­กุศล เช่น ทำบุ­ ตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม เจริ­ภาวนาตลอดพรรษา อีกทั้งได้สืบสาน รักษา ต่อยอดประเพณีการหล่อเทียนพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝน ประเพณีแห่เทียนพรรษา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"