เพ้อหนักมาก! 'ธนาธร' ต้านผันน้ำพังงาช่วยภัยแล้งภูเก็ต พล่ามรัฐแย่งชิงทรัพยากรให้นายทุน


เพิ่มเพื่อน    

1 ก.ค.63 - นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่โพสต์เฟซบุ๊ค "Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" โดยมีเนื้อหาดังนี้ เราไม่ยอมรับการแปรรูปน้ำให้เป็นกำไรของเอกชน : กรณีศึกษาพังงา-ภูเก็ต เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปดูพื้นที่ความขัดแย้งที่เกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติระหว่าง ทุน-รัฐ-ประชาชน ที่จังหวัดพังงา และหัวใจของเรื่องนี้ก็คือ “น้ำ” ทรัพยากรที่ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ต่างก็ขาดไม่ได้ดังคำกล่าวที่ว่า “น้ำ” คือ “ชีวิต

แต่รัฐบาลไทยกำลังให้สัมปทานบริษัทเอกชนผันน้ำจากพังงาไปให้ภูเก็ต โดยที่คนพังงาไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลย การผันน้ำจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ วิถีชีวิตของผู้คน และเกิดความไม่ไว้วางใจระหว่างประชาชนกับรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในด้านการพัฒนาประเทศ การจัดการและแย่งชิงทรัพยากรน้ำถือเป็นปัญหาหลักมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านการสร้างเขื่อน ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และปัญหาภัยแล้ง ปัจจุบันนี้แนวคิดเรื่องการแปรรูปน้ำให้เป็นสินค้าที่ริเริ่มโดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่าน พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กำลังทำให้ปัญหาเลวร้ายลง เพราะพ.ร.บ. น้ำฉบับนี้ จะทำให้น้ำกลายเป็นสินค้าที่ซื้อขายได้ โดยละเลยสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสาธารณูปโภคที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน

คลองพังงาเป็นแหล่งน้ำสายหลักสายหนึ่งของจังหวัดพังงา ต้นน้ำอยู่ที่ตำบลทุ่งคาโคก ทิศตะวันตก ตอนเหนือของอำเภอเมือง กลางน้ำไหลผ่านตำบลนบปริง ก่อนไหลลงอ่าวพังงาที่ตำบลถ้ำน้ำผุด และลงสู่อ่าวพังงา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่น เกาะยาว หมู่เกาะพีพี อ่าวพังงานำรายได้มหาศาลเข้าสู่พังงา ภูเก็ต และกระบี่

ภูเก็ต เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าภูเก็ตปีละ 10.6 ล้านคน นำรายได้เข้าประเทศปีละ 4.2 แสนล้าน การท่องเที่ยวไม่เพียงสร้างเศรษฐกิจในภูเก็ตเท่านั้น แต่ยังแบกรับการจ้างงานของแรงงานจากจังหวัดอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานจากภาคอีสาน หรือจังหวัดชายแดนใต้

พังงาและภูเก็ตมีระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกัน นักท่องเที่ยวเดินทางไปมาระหว่างสองจังหวัด ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในสองจังหวัดส่งต่อนักท่องเที่ยวให้แก่กัน ทรัพยากรหลายอย่างถูกใช้ร่วมกัน เช่น สนามบิน อุทยานแห่งชาติ เกาะต่างๆ และพืชผลการเกษตรจากจังหวัดพังงาส่วนหนึ่งส่งป้อนให้ตลาดที่ภูเก็ต

เมื่อการท่องเที่ยวพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ปริมาณการใช้น้ำเพื่อรองรับกับภาคท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจคือ การแย่งชิงน้ำระหว่างครัวเรือน ภาคท่องเที่ยว และภาคการเกษตร การประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่มีกำลังการผลิตเพียง 80,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขณะที่ความต้องการใช้น้ำประปาในภูเก็ตถูกประมาณการไว้ถึง 200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

เพื่อรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวในภูเก็ต รัฐบาลผ่านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้สัมปทาน 30 ปี กับบริษัทเอกชน ในการสร้างพื้นที่เก็บน้ำและการส่งน้ำจากอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เพื่อผลิตน้ำประปาส่งให้ภูเก็ตเพื่อรองรับภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัว

บริษัทที่ได้รับสัมปทานให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า บริษัทคิดค่าน้ำสำหรับครัวเรือนเริ่มต้นที่ 5 บาทต่อหน่วย สำหรับธุรกิจขนาดเล็กอยู่ที่ 20 บาทต่อหน่วย และสำหรับหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจขนาดใหญ่จะคิดราคา 28 บาทต่อหน่วย บริษัทใช้เงินลงทุนโครงการนี้ 600 ล้านบาท เมื่อผลิตเต็มศักยภาพอยู่ที่ 96,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน บริษัทจะมีรายได้ปีละ 800 ล้านบาท และคืนทุนภายใน 7 ปี ( ข้อมูลจาก https://thestandard.co/gold-shores-phuket-phangnga-tap-wat…/ )

นอกจากนี้ การประปาส่วนภูมิภาคยังมีแผนจะลงทุนขุดบ่อเก็บน้ำขนาด 100 ไร่ที่ต้นน้ำคลองพังงา ด้วยงบประมาณ 3,517 ล้านบาท เพื่อจ่ายน้ำให้ภูเก็ต และมีการตั้งข้อสงสัยว่าน้ำบางส่วนจากในอ่างนี้ จะถูกส่งให้บริษัทที่ได้รับสัมปทานนำไปขายที่ภูเก็ตด้วย

ประชาชนในพื้นที่ไม่เคยได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ของโครงการทั้งสองโครงการ ไม่เคยเห็นรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ไม่เคยเห็นแผนการจัดการลุ่มน้ำทั้งลุ่ม โครงการทั้งหมดถูกออกแบบและจัดการจากกระทรวงส่วนกลาง โดยที่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบไม่มีส่วนร่วมใดๆในการตัดสินใจ

ปัจจุบันพังงามีปัญหาขาดน้ำในฤดูแล้งอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ตำบลนบปริง ประชาชนหลายครัวเรือนต้องพึ่งพาน้ำจากรถขนน้ำของอบต. ข้อกังวลของประชาชนในพื้นที่คือหากเกิดบ่อเก็บน้ำ ปัญหาการขาดน้ำจะรุนแรงขึ้นอีก การกักเก็บน้ำที่ต้นน้ำจะทำให้แรงส่งน้ำที่ปากอ่าวน้อยลง น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้น รุกขึ้นไปตามลำคลอง ส่งผลต่อชุมชนที่ใช้น้ำจืดในการเกษตร โดยเฉพาะปาล์ม และการบริโภค น้ำในคลองพังงาซึ่งน้อยอยู่แล้วในหน้าแล้งจะน้อยลงไปอีก นอกจากนี้ ปริมาณน้ำที่ไหลตามเส้นทางธรรมชาติลดน้อยลง ยังส่งผลกระทบถึงน้ำใต้ดิน ทำให้ประชาชนที่ใช้น้ำบาดาลจึงอาจได้รับผลกระทบด้วย

พื้นที่ตลอดคลองพังงาจนถึงอ่าว คือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศน์วิทยาสูง น้ำที่ลดลงยังอาจส่งผลกระทบถึงแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตามชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพของสายน้ำ และระบบนิเวศน์ของป่าชายเลน

นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการลงทุนด้านสาธารณูโภคพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทยในการรองรับนักท่องเที่ยวที่กลับมาหลังจากการคลายล็อคจากโควิด-19

เราไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนา แต่เราปฏิเสธการพัฒนาที่ดอกผลของการพัฒนาตกอยู่ในมือของกลุ่มทุน ขณะที่ผลกระทบตกอยู่กับคนตัวเล็กตัวน้อย โครงการนี้ออกแบบและตัดสินใจจากส่วนกลาง ใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นในพังงา เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในภูเก็ต นายทุนเอาผลกำไรไป ส่วนคนในพื้นที่รับกรรมที่พวกเขาไม่ได้ก่อ

พังงา เป็นพื้นที่ที่ฝนตกชุกมากที่สุดพื้นที่หนึ่งในประเทศไทย เรามีทั้งปริมาณน้ำฝน ความรู้ วิทยาศาสตร์ และงบประมาณ เพียงพอที่จะจัดสรรน้ำให้เพียงพอกับการพัฒนาเศรษฐกิจและความต้องการของภาคครัวเรือนและเกษตร โดยไม่ต้องขัดแย้งแย่งชิงกัน หากเราจัดการอย่างมีส่วนร่วมและเคารพสิทธิชุมชน

ผมขอเรียกร้องให้ภาครัฐหยุดดำเนินการโครงการนี้ไว้ก่อน เปิดข้อมูลทั้งทางเศรษฐกิจ ทางนิเวศน์วิทยา และทางวิศวกรรมให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดได้รับทราบอย่างครบถ้วน กว้างขวาง และจริงใจ แล้วเสาะหาทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ร่วมกัน ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ให้ดอกผลของการพัฒนาได้รับการเฉลี่ยจัดสรรอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง พร้อมทั้งเห็นความสำคัญของวิถีชีวิตท้องถิ่นและการเป็นเจ้าของร่วมกัน

ผมปฏิเสธการแปรรูปน้ำให้เป็นกำไรของเอกชน ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติในประเทศนี้ร่วมกัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"