30 มิ.ย.2563 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังร่วมหารือกับคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม ที่นำโดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ผู้แทนภาคประชาชน และผู้แทนการหน่วยงาน 3 การไฟฟ้า ถึงแนวทางการบริหารจัดการโครงการโซลาร์ภาคประชาชนรูปแบบใหม่ว่า ได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน นำโดยนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน เพื่อดำเนินโครงการนำร่องผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ภาคประชาชน (โซลาร์ ภาคประชาชน) บนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย โดยจะมีการศึกษาถึงรูปแบบการดำเนินงานใหม่ทั้งหมดเพื่อแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ซึ่งตั้งเป้าการทำงานที่ 60 วันหลังจากนี้จะเห็นโครงการนำร่องที่เสร็จสมบูรณ์
“การดำเนินงานดังกล่าวนั้นจะใช้โควต้าของโซลาร์ภาคประชาชนที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ(พีดีพี ฉบับใหม่) ที่กำหนดสัดส่วนไว้ที่ปีละ 50 เมกะวัตต์ ระยะเวลา 5 ปี (63-67) ซึ่งสัดส่วนที่ถูกลดลงมาจากเดิมที่เคยกำหนดไว้ที่ปีละ 100 เมกฯ ระยะเวลา 10 ปี แต่ต้องยอมรับว่าไม่ได้รับความสนใจมาก ซึ่งมีคนสมัครเข้ามาร่วมโครงการรวมเพียง 1.8 เมกฯ ซึ่งการดำเนินงานรอบนี้จะต้องมีรูปแบบที่ทำได้จริง โดยจะให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นเครื่องมือสร้างรายได้และทำให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง”นายสนธิรัตน์ กล่าว
อย่างไรก็ตามได้เชิญผู้เกี่ยวข้องเข้ามาพูดคุยถึงอุปสรรคและข้อติดขัดที่จะทำให้โครงการดังกล่าวไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ด้วย โดยเบื้องต้นเห็นถึงปัญหาในด้านของเงินทุน และปัญหาด้านภาษีที่กรมสรรพสามิต ออกมาชี้แจง เนื่องจากหากโครงการดังกล่าวสามารถนำส่วนที่ผลิตเกินความต้องการใช้มาขายได้ จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมาย โดยคาดว่าจะมีการหารือถึงแนวทางแก้ไขและสามารถสรุปได้ก่อน 60 วันที่กำหนดไว้ รวมถึงแผนงานด้านวิศวกร และเรื่องสายส่งด้วย
นายสนธิรัตน์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ว่าจะทำการเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)รับทราบในวันที่ 30 มิ.ย. 2563 นี้ และสามารถดำเนินการได้ทันที แต่อาจจะไม่ใช่วันที่ 1 ก.ค. 63 เนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ ต้องมีการเตรียมพร้อมให้เรียบร้อยก่อนที่จะมีการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ แต่คาดว่าจะเป็นช่วงต้นเดือน ก.ค. นี้แน่นอน
นายปานเทพ กล่าวว่าโครงการดังกล่าวจะนำร่องใช้รูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปอย่างเป็นธรรม โดยระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติจากไฟฟ้าที่ผลิตใช้เอง หรือที่เรียกว่า เน็ต มิตเตอร์ริ่ง(Net Metering) ซึ่งอัตราใหม่นั้นจะต้องผ่านการศึกษาก่อนว่าจะกำหนดอยู่ที่เท่าไหร่ แต่อยากให้เป็นราคาที่จูงใจประชาชนมากที่สุด ซึ่งมองว่าอัตราเดิมที่กำหนดไว้ที่ 1.68 บาทต่อหน่วยนั้นเป็นราคาที่ไม่จูงใจ ซึ่งยืนยันว่าหลังจากการหารือแล้วนั้นทุกฝ่ายจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการดังกล่าว โดยเน้นที่จะสร้างการรับรู้และสร้างความสำคัญของโครงการทำให้ประชาชนที่รับทราบเกิดความต้องการที่จะเข้าร่วมมากขึ้น
“อยากให้คนคิดว่าการติดโซลาร์เหมือนถูกหวย โดยในช่วงแรก ๆ ที่จะส่งเสริมนี้ควรจะให้อัตราตอบแทนที่สูงมากขึ้นจากเดิม เพื่อเป็นการจูงใจประชาชนทั่วไป ซึ่งมองว่าในสัดส่วน 50 เมกฯนั้น หากจะมีการสนับสนุนราคาที่สูงมาก ก็คงไม่กระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าภาพรวมของประเทศจนทำให้ราคาค่าไฟของคนทั่วไปนั้นเพิ่มขึ้นได้ เพราะยังเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก แต่อยากให้มองถึงปลายทางหากประเทศไทยนั้นมีคนใช้มากขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเพิ่มขึ้นด้วย เพราะจะเป็นการลดรายจ่ายของครัวเรือน แถมยังเป็นการเพิ่มรายได้หากผลิตเกินและขายได้อีกด้วย”นายปานเทพ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |