(ประดิษฐ์ โปซิว)
สร้างความผูกพันกลมเกลียวทั้งผู้สูงอายุและลูกหลานเข้าไว้ด้วยกัน สำหรับ “อาหารมงคลช่วงสงกรานต์” ที่ไม่เพียงช่วยให้คุณตาคุณยายอิ่มท้อง แต่ยังสะท้อนให้เห็นว่า อันที่จริงแล้วอาหารคาว-หวานยังเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสานวัฒนธรรมในช่วงวันปีใหม่ไทย เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวสมาชิกในครอบครัวต้องอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน และร่วมกันปรุงอาหารเพื่อรับประทานด้วยกัน ซึ่งนับเป็นประเพณีที่อบอุ่นและปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานในช่วงสงกรานต์ ท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม “ประดิษฐ์ โปซิว” ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเมนูอาหารคู่ประเพณีสงกรานต์ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ และนิยมบริโภคกันต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น
รองอธิบดีให้ข้อมูลว่า “การที่เราจะพูดว่าอาหารในประเพณีสงกรานต์มันเชื่อมโยงกับวันปีใหม่ไทยของเราอย่างไรนั้น ก็ต้องเรียนว่าประเพณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนมีกิจกรรมทำร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร และอยู่ร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน ซึ่งก่อนที่จะไปวัดนั้น ทุกบ้านต้องเตรียมอาหารใส่บาตรที่จะต้องทำเป็นพิเศษ นี่เองจึงเป็นตัวบอกว่าอาหารที่รับประทานคู่วันสงกรานต์เป็นสิ่งสะท้อนวัฒนธรรมไทยได้เช่นเดียวกับการแต่งชุดไทย หรือการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ จากการที่สมาชิกทุกคนร่วมใจช่วยกันปรุง
(“ข้าวแช่” อาหารคลายร้อนครบ 5 หมู่ ดีต่อสุขภาพผู้สูงอายุ)
อาทิ “เมนูข้าวแช่” ที่ค่อนข้างเหมาะกับผู้สูงอายุ เป็นอาหารคลายร้อน เหมาะกับช่วงหน้าร้อน และเครื่องเคียงต่างๆ ก็ค่อนข้างครบ 5 หมู่ ที่สำคัญเมื่อบริโภคแล้วย่อยง่าย ทั้งนี้ ประวัติของเมนูดังกล่าวเป็นอาหารของชาวมอญ โดยย้อนกลับไปช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ประเทศสยามได้รบกับชาวมอญ กระทั่งชนะและชาวมอญก็ได้มาอยู่ในประเทศไทย กระทั่งเมนูข้าวแช่ได้ถูกนำไปปรุงในวัง ซึ่งมีหลักฐานว่ารัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเมนูนี้ และก็มักจะเสวยในช่วงหน้าร้อน เนื่องจากเป็นเมนูที่มีฤทธิ์เย็น กระทั่งข้าวแช่ได้แพร่ออกมานอกวัง และได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยก่อนเมนูนี้จะไม่ใส่น้ำแข็งเหมือนในปัจจุบัน แต่เราจะนำน้ำลอยดอกมะลิใส่ลงในหม้อดินและทิ้งไว้ให้น้ำเย็นเอง จากนั้นก็ตักขึ้นมาราดลงบนข้าวสวย และกินกับเครื่องเคียงที่มีตั้งแต่ลูกกะปิหวาน, หัวไช้โป๊ผัด, เนื้อเค็ม, หมูเค็ม, ปลาแห้งต่างๆ, พริกชี้ฟ้า, แตงกวาสด ฯลฯ
(“กะละแม” ขนมหวานที่นิยมรับประทานช่วงวันสงกรานต์ ที่ช่วยเติมความผูกพันปู่ย่าตายาย เนื่องจากต้องใช้เวลาและแรงจากลูกหลานที่มารวมตัวกันในวันดังกล่าว)
นอกจากนี้ยังมีเมนู “ขนม” ที่นิยมรับประทานในช่วงวันสงกรานต์อย่าง “กะละแม” เหตุผลที่ว่าทำไมต้องเป็นเมนูนี้ มันเริ่มตั้งแต่เป็นขนมที่ทำยาก เพราะต้องเคี่ยวในกระทะ ที่สำคัญทั้งร้อนและจำเป็นต้องใช้แรงคนจำนวนมาก ดังนั้นช่วงสงกรานต์ที่ลูกหลานมักอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการทำเมนูนี้รับประทาน และนับได้ว่าเป็นขนมหวานที่ตรงกับเทศกาลสงกรานต์ แต่เนื่องจากมีความหวานสูง ดังนั้นผู้สูงอายุควรบริโภคแต่น้อย ที่ลืมไม่ได้ก็จะมีเมนู “ข้าวเหนียวแดง” ซึ่งต้องใช้เวลากวนค่อนข้างนานเช่นเดียวกัน ที่สำคัญมีน้ำตาลเยอะ หากผู้สูงอายุต้องการรับประทานก็กินให้น้อยๆ ในส่วนของเครื่องดื่ม คือ “น้ำมะพร้าว” เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น ผู้สูงอายุสามารถดื่มได้ และมะพร้าวยังสามารถกินได้ทุกฤดูกาล รวมถึงช่วงหน้าร้อนที่กำลังจะมาถึงนี้
เมนูอาหารในวันปีใหม่ไทยไม่เพียงอิ่มอร่อย แต่ยังสร้างความกลมเกลียวระหว่างปู่ย่ากับลูกหลานได้เช่นเดียวกัน เห็นได้จากขนมกะละแม ที่หากไม่รู้ที่มาอันแท้จริงแล้ว เด็กยุคใหม่ก็อาจลืมเลือนขนมชนิดนี้ไป อีกทั้งไม่รู้ว่าต้องใช้ทั้งพละกำลังและเวลานานในการปรุง และไม่ทราบว่าเหตุใดจึงทำรับประทานกันในช่วงปีใหม่ไทย...รู้อย่างนี้แล้วน้องๆ หนูๆ ก็อย่าลืมกลับไปกระชับความผูกพันปู่ย่าด้วยการเข้าครัวปรุงอาหารรับประทานร่วมกันในวันสงกรานต์ ว่าไหมค่ะ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |