29 มิ.ย.63 - ที่ีบริเวณหน้า อบต.ทุ่งสมอ ตำบลทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ชาวบ้านรวมตัวคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมี นายเพชรายุทธ เพชรวัชรนนท์ ดร.ชรินทร์ ศรีทับทิม น.ส.ไข่มุก ศรีทับทิม นางจินตนา สระสำอาง นายวิโรจน์ เพิ่มพงศาเจริญ เป็นแกนนำคัดค้านโรงงานไฟฟ้าชีวมวล ต.ทุ่งสมอ อ.พนมทวน ต่อมา นายธนณัฎฐ์ ศรีสันต์ นายอำเภอพนมทวน ได้เดินทางมาพบประชาชน และรับหนังสือคัดค้าน
ก่อนที่ชาวทุ่งสมอ จะเดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ได้ยื่นหนังสือคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวลต่อนายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และนายสุเทพ แก้วทอง หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับหนังสือร้องค้าน พร้อมจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
นางจินตนา สระสำอาง ตัวแทนกลุ่มคนรักทุ่งสมอ กล่าวว่า เนื่องด้วยคณะทำงานของกลุ่มคนรักทุ่งสมอ ได้ทราบว่าจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน ซึ่งตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงพลังงานได้ให้การสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กให้เป็นโรงไฟฟ้าชุมชนที่เน้นเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนโดยใช้ชีวมวล หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมถึงสร้างความมั่นคงทางพลังงานที่เป็นไฟฟ้าสำรองของประเทศ
การดำเนินการดังกล่าวอยู่ระหว่างกว้านซื้อที่ดิน ข้าพเจ้าในนามของกลุ่มเห็นว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลมีหลักการที่ดี แต่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลในผลดีผลเสีย อีกทั้งได้ศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ของโรงไฟฟ้าชีวมวลจากแหล่งอื่น เกี่ยวกับผลกระทบที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อวิถีชีวิตชุมชน สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย และด้วยเหตุผลสำคัญที่สุดคือ ที่ตั้งของโรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ประมาณ 2-5 กิโลเมตรโดยรอบ ประกอบด้วยตำบลทุ่งสมอ ตำบลหนองโรง และตำบลหนองขาวเป็นที่ราบสูงต้นน้ำป่า ซึ่งจะไหลลงสู่ชุมชนทุกปีในฤดูฝน
นางจินตนา กล่าวอีกว่า จากการประชุมกลุ่มได้ข้อสรุปเป็นเหตุผลสำคัญในการคัดค้าน ดังนี้ 1.ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำจากกากของเสีย ทั้งน้ำบนดินและน้ำซึมลงดินซึ่งจะไหลเข้าชุมชน เกิดผลกระทบทางสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งควบคุมไม่ได้
2.ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ วัตถุดิบจากชีวมวล จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองจากกระบวนการผลิต เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเด็กและคนชรา รวมถึงกลิ่นที่ลอยมาในอากาศ
3.ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการตัดต้นไม้ตามหัวไร่ปลายนา เพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบ ซึ่งควบคุมได้ยาก ส่งผลโดยตรงต่อภูมิอากาศ คือ ภาวะโลกร้อนอากาศร้อน แห้งแล้ง
4.มลพิษทางเสียง อันเกิดจากกระบวนการผลิต เทคโนโลยีและเครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง รามถึงผลจากเสียงของรถบรรทุกวัตถุดิบซึ่งต้องวิ่งผ่านชุมชน
5.ผลกระทบต่อวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม เกิดความแตกแยกในหมู่ชาวบ้านความขัดแย้งในผลประโยชน์ การซื้อขายที่ดินและการเปลี่ยนมือการเป็นเจ้าของที่ดินจากชาวบ้านไปเป็นของนายทุน จากเหตุผลดังกล่าว ในฐานะลูกหลานของชาวตำบลทุ่งสมอ เห็นว่า เพื่อประโยชน์สุขของชาวบ้านโดยรวมทั้งระยะสั้นและระยะยาว เห็นควรระงับยับยั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |