เมื่อวันที่ 26 มิย.ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะลงพื้นที่ สวนศรีมูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 1ในเกษตรกรต้นแบบ 32 รายของการใช้ถานไบโอชาร์ในพื้นที่ไม้ผลจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อชมนวัตกรรม การใช้ถ่านไบโอชาร์ ของ ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ ชุมแสง ซึ่งได้มีการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตเตา/การเผาถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ (Biochar) ที่ใช้กระบวนการเผาไหม้ที่มีการควบคุมอุณหภูมิและอากาศหรือจำกัดอากาศให้เข้าไปเผาไหม้น้อยที่สุด เรียกว่า “การแยกสลายด้วยความร้อนหรือกระบวนการไพโรไลซิส” ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 200-600 องศาเซลเซียส และระยะเวลาการเผาไม่เกิน 2 ชั่วโมง และการเผาไหม้ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ ประโยชน์ของถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนและธาตุอาหารในดิน และปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดินเนื่องจากสมบัติของถ่านชีวภาพมีรูพรุนสูงช่วยสำหรับเก็บน้ำและเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ปรับปรุงทางเคมีของดินเนื่องจากมีสภาพเป็นด่าง ลดความเป็นกรดของดิน มีปริมาณแคลเซียม ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียมค่อนข้างสูง มีพื้นที่ผิวความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงช่วยในการดูดยึดโลหะหนักในดิน
ประโยชน์ของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่ได้นำมาส่งเสริมและพัฒนาเชิงพื้นที่ ในการการปรับปรุงบำรุงดินด้วยถ่านชีวภาพร่วมกับสารชีวภัณฑ์ ในพื้นที่วนเกษตรไม้ผลจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มมูลค่าและสร้างความตระหนักในการนำวัสดุเหลือทิ้งจากพื้นการเกษตรมาใช้ประโยชน์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่อยู่บนพื้นฐานความเหมาะสมและเกษตรกรสามารถดำเนินการได้ และยังเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและให้เกิดการรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตเป็นชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือสังคมคาร์บอนต่ำ ผสมผสานการต่อยอดองค์ความรู้จากการวิจัยเชิงพื้นที่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง และนวัตกรรมการพัฒนาสับปะรดห้วยมุ่นแบบครบวงจร ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้ดำเนินการโครงการชุดเพื่อการพัฒนาสับปะรดห้วยมุ่นแบบครบวงจร ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ประกอบด้วย (1) หมู่บ้านถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปและการเพิ่มมูลค่าสับปะรดห้วยมุ่น (2) การอบรมการตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตสับปะรดห้วยมุ่น (3) การชักนำการออกดอกสำหรับผลิตสับปะรดห้วยมุ่นนอกฤดู (4) นวัตกรรมเครื่องคัดแยกหน่อพันธ์สับปะรดห้วยมุ่นอัตโนมัติ (5) ระบบสารสนเทศทวนสอบคุณภาพสินค้าสับปะรดห้วยมุ่น เป้าหมายร่วมกันที่จะตอบสนองกับนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยปัญญา เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในชุมชนทุกมิติ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังได้ ชมนวัตกรรมชุดกับดักแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียน ของ ผศ.ดร.พิชัย ใจกล้า และ ผศ.ดร.วีระพล คงนุ่น เพื่อกำจัดแมลงศัตรูที่พบในทุเรียน ได้แก่ หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะผลทุเรียน หนอนกินขั้วผล ไรแดง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยจักจั่นฝอย มอดเจาะลำต้น บุ้งหูแดง หนอนด้วงปีกแข็งกินรากทุเรียน แมลงค่อมทอง ด้วงบ่าหนามจุดนูนดำ เป็นต้น โดยงานวิจัยการป้องกันกำจัดด้วยกลวิธีกับดักแสงไฟ สามารถลดแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนในช่วงเวลาศึกษา 3 เดือน พบปริมาณและชนิดของแมลงในสวนทุเรียนในการศึกษาครั้งนี้ พบจำนวนแมลงทั้งสิ้น 1,993 ตัว จำแนกได้เป็น 6 อันดับ 12 วงศ์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |