โฆษกกมธ.เผยขยายเวลาศึกษาผลกระทบ CPTPP ระบุต้องไม่นำกรอบเวลามาผูกมัดตัวเอง เพราะอาจทำให้​ประเด็น​สำคัญ​ตกหล่นไป​


เพิ่มเพื่อน    

24 มิ.ย.63 - นางสาวเพชร​ชมพู​ กิจ​บูรณะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมพลังประชาชาติไทย ในฐานะ​โฆษก​คณะกรรมาธิการ​ CPTPP คณะใหญ่​ และในฐานะโฆษก​คณะอนุกรรมาธิการ​ด้านเศรษฐกิจ แถลงรายงานความคืบหน้าคืบหน้าการดำเนิน​งาน​ของคณะใหญ่​ และ​ ภาพรวมคณะอนุ​กรรมาธิการ​ทั้ง​ 3 คณะ ว่า คณะใหญ่​ได้มีการประชุม​มาแล้วทั้งหมด​ 5 ครั้ง​ คณะอนุฯ​ เศรษฐกิจ​ ประชุมมาแล้วทั้งหมด​ 3 ครั้ง​ ซึ่งในการประชุม​แต่ละครั้งได้มีการหยิบยกประเด็นที่เป็นที่สนใจของประชาชน​ และเป็นประเด็นอ่อนไหวขึ้นมาพิจารณา​ เช่น​ ความมั่นคง​ทางอาหารและยา​ สิทธิ​ในเมล็ดพันธุ์​พืชของเกษตรกรไทย​ การระงับข้อพิพาท​ระหว่างนักธุรกิจ​ต่างชาติและรัฐไทย​ เป็นต้น

นางสาวเพชร​ชมพู กล่าวว่าในการประชุม​แต่ละครั้ง​ จะเห็นได้ชัดว่า​ มีหลายประเด็นที่ยังมีความคิดเห็​นที่แตกต่าง​กันของกรรมาธิการ​ และที่ปรึกษา​อยู่บ้าง​ บางประเด็น​ก็เป็นการเข้าใจผิดที่เกิดจากความคลาดเคลื่อน​ทางข้อมูล​ ซึ่งต้องมีการลงลึกในการดูแม่บทของข้อตกลงที่เป็นภาษาอังกฤษ​ การตีความในมาตราที่เป็นข้อกังวลของไทยที่อาจจะต้องมีการแก้กฎหมาย​ภายใน​ และ​ ผลกระทบ​ต่อผู้ประกอบการ​ในอุตสาหกรรม​ต่างๆ​ รวมไปถึงเกษตรกร​ด้วย

"คณะกรรมาธิ​การได้เชิญ​หลายภาคส่วนมาให้ข้อมูล​ ทั้ง​ภาค​รัฐ​ เอกชน​ และ​ NGOs ต่างๆ​ ที่ทำงานในประเด็น​ที่เกี่ยวข้อง​ เพราะเราตระหนัก​ดีว่า​ ข้อตกลง​นี้​ หากไทยส่งหนังสือแสดง​ เจตจำนงขอเจรจา​แล้ว​ ต้องนำข้อเสนอ​ ข้อห่วงกังวล​ของประชาชนไปเป็นข้อเจรจาด้วย​ หากมีคำถามใดที่เราเองยังตอบประชาชน​ได้ไม่ชัด​ เราก็ไม่สมควรดำเนินการ​ไปถึงขั้นยื่นหนังสือดังกล่าว"นางสาวเพชร​ชมพู  กล่าวและว่าจากประเด็น​ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น​ ทำให้คณะกรรมาธิการ​ของเราเห็นตรงกันว่า​ ควรจะต้องมีการขอต่อระยะเวลา​การศึกษา​ของคณะ จากเดิมที่ได้รับมติจากสภาฯ​ ตั้งกรอบเวลา​ 30​ วัน​ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่​ 10 กรกฎาคม​นี้​ ออกไปอีก

โฆษก​คณะกรรมาธิการ​ CPTPP  กล่าวว่า จริงอยู่ว่า​ ประเทศภาคีของ​ CPTPP​ จะมีการประชุม​ประจำปีในวันที่​ 5 สิงหาคม​ ที่จะถึงนี้​ และถ้าเราพร้อมเจรจาเข้าร่วมข้อตกลง​นี้​ ก็ต้องส่งหนังสือ​แสดงเจตจำนงไปก่อนหน้า​ แต่ในการทำงานของกรรมาธิการ​จะไม่นำกรอบเวลานี้มาเป็นข้อผูกมัดตัวเอง​ ไม่เร่งรีบพิจารณา​จนถึงขั้นทำให้มีประเด็น​สำคัญ​ต้องตกหล่นไป​ เรื่องใดก็ตามที่เป็นผลประโยชน์​ของประเทศชาติ​ เราต้องพิจารณา​ให้ละเอียด​รอบคอบที่สุด

ทั้งนี้ในประเด็น​ UPOV​ 1991 ซึ่งเป็นอนุสัญญา​ระหว่าง​ประเทศ​เพื่อการคุ้มครอง​พันธุ์​ใหม่​ ทางคณะกรรมาธิการ​จะทำเป็นหนังสือสอบถาม​อย่างเป็นทางการ​ไปทางหน่วยงาน​โดยตรง​ เพื่อขอความชัดเจนเรื่อง​ สิทธิ​ของเกษตรกร​ในพันธุ์​พืชใหม่ที่ได้รับความ​คุ้มครอง​ และ​ การขอยกเว้นพันธุ์​พืชบางประเภทที่เป็นพืชไร่​ พืชเศรษฐกิจ​ ได้การตอบรับ​อย่างไรจะนำมารายงานอีกครั้ง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"