24 มิ.ย.63 กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (สนช.) หรือสายเลิกบุหรี่ 1600 ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงข่าวเปิดตัว “โครงการรวมพลังตามหาคนอยากเลิกบุหรี่” เพื่อสร้างความตระหนัก และชวนประชาชนให้ลดหรือเลิกสูบบุหรี่ทุกชนิดได้สำเร็จในช่วงวิกฤตโควิด -19 ระบาด
ดร. สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นับว่าเป็นการรวมพลัง อสม. อีกครั้งที่จะเป็นกำลังสำคัญในการเคาะประตูบ้านประชาชน ค้นหาผู้อยากเลิกบุรหรี่ เพราะแม้วิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสก่อโรคโควิด-19 จะลดระดับลงแล้ว แต่เพื่อความไม่ประมาทและเป็นการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ได้สำเร็จในช่วงภาวะวิกฤต เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงติดอาการป่วยทรุดหนักและแพร่กระจายไวรัสก่อโรคโควิด -19 สู่สาธารณะได้
ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)กล่าวเสริมว่า อย่างที่ทราบว่าคนที่มีประวัติสูบบุหรี่และป่วยโควิด-19 จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าคนปกติที่ได้รับเชื้อ เพราะปอด เป็นส่วนได้รับผลกระทบเหมือนกัน หรือในส่วนของผู้สูบบุหรี่แม้จะไม่ได้ติดเชื้อ แต่การสูบทำให้เกิดไอระเหย หรือละออง และบางคนใช้อุปกรณ์ชุดเดียวกันอย่างบุหรี่ไฟฟ้า ก็มีโอกาสที่เสี่ยงติดเชื้อจากการสัมผัสร่วมกัน ดังนั้นในการดำเนินโครงการนี้ กลไกขับเคลื่อนเชิงรุกที่สำคัญ คือ อสม. ที่มีอยู่ประมาณ 1.5 ล้านคนทั่วประเทศ ที่ได้ดำเนินการเคาะประตูบ้านในการคัดกรองโรวิด-19 ซึ่งเป็นการทำงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ที่ได้รับการยกย่องและยอมรับ และมีภาระกิจต่อเนื่องในการลงสำรวจสุขภาพจิต และการจัดการดูแลต่างๆ หลังโควิด-19 สงบ จึงได้อาศัยการทำงานช่วงนี้ในการค้นหาผู้ที่อยากเลิกสูบบุหรี่ไปด้วย ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เพราะอสม. 1 คน จะดูแล 15-20 หลังคาเรือน มีความใกล้ชิด และทราบว่าบ้านไหนมีใครสูบบุหรี่ และอยากเลิกจริงๆ ทำให้สามารถชักชวนหรือจูงใจได้ง่ายขึ้น ได้ตั้งเป้าไว้ว่า 5-6 เดือนในการดำเนินงานจะมีผู้อยากเลิกบุหรี่ 5-6 หมื่นคน โดยมีสายเลิกบุหรี่ 1600 และสสส. เข้ามาช่วยหนุนเสริมดูแลให้คำปรึกษาคนที่อยากเลิกบุหรี่ให้สามารถเลิกบุหรี่สำเร็จมากขึ้น
นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าว ยังเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิถีความปกติใหม่หรือ New Normal ที่ยังคงรักษาระยะห่างหรือ Social Distance เนื่องจากเป็นการทำงานผ่านระบบแอปพลิเคชัน SMART อสม. และแอปพลิเคชัน U-Refer ของสายเลิกบุหรี่ 1600 รวมถึงระบบการให้บริการผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ถือเป็นการผนึกจุดแข็งและบูรณาการ ทั้งทรัพยากรเทคโนโลยี กำลังคน ความสามารถที่มีอยู่ของแต่ละหน่วยงานมาต่อยอดเสริมการทำงานซึ่งกันทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและอสม. ทั่วประเทศจะช่วยให้คนในชุมชนเข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ที่มีคุณภาพเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งต่อตัวเองครอบครัวและชุมชนที่จะปลอดภัยจากควันบุหรี่
รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (สนช.) หรือสายเลิกบุหรี่ 1600 กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อย่างเดือนเมษายนที่ผ่านมา แม้จะมีการปิดทำการ แต่ก็มีผู้ที่โทรเข้ามาอยากเลิกบุหรี่เพราะกลัวโควิด-19 ถึง 29% และเพราะครอบครัว 25% ซึ่งการทำงานในโครงการครั้งนี้จะเป็นการปฏิบัติการแบบเชิงรุก โดยการโทรหาผู้ที่อยากบุหรี่จริงๆ ผ่านการคัดกรองมาจาก อสม. ที่ได้ลงพื้นที่สอบถาม ส่งข้อมูลผู้อยากเลิกต่อมายังแอปพลิเคชัน U-Refer ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้ และ อสม. ยังสามารถติดตามสถานะผู้อยากบุหรี่ได้ด้วย จากนั้นสายเลิกบุหรี่ 1600 จะดำเนินการโทรกลับ เข้าสู่กระบวนการต่างๆ โดยการเลิกบุหรี่มี 2 วิธี คือ แบบใช้ยาและไม่ใช้ยา แต่เราคือการใช้ใจเป็นหลัก เพราะจากประสบการณ์การทำงานกว่า 10 ปี พบว่าการเลิกบุหรี่ด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ โอกาสเลิกได้สำเร็จเพียงแค่ร้อยละ 5 เพราะแพ้ใจตัวเองกลับไปสูบอีกครั้ง แต่ถ้าเลิกกับสายเลิกบุหรี่ 1600 สามารถช่วยให้เลิกบุหรี่สำเร็จต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 32 เพราะนวัตกรรมบริการให้คำปรึกษา ชุดข้อความสร้างเสริมกำลังใจ องค์ความรู้ในการเลิกบุหรี่ใหม่ ๆ รวมถึงระบบการส่งต่อผู้อยากเลิกบุหรี่ และการทำงานแบบเรียลไทม์ ที่กลายเป็นต้นแบบให้กับสายเลิกบุรีในหลายประเทศ ซึ่งในเวทีวิชาการนานาชาติยืนยันตรงกันว่า การให้บริการเลิกบุหรี่จะประสบความสำเร็จ หากสามารถทำงานร่วมกับภาคีในระดับชุมชน โดยบุคลากรสุขภาพและผู้นำชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการช่วยให้คนเลิกบุหรี่ ซึ่งการทำงานร่วมกับภาคีระดับปฐมภูมิเป็นกลวิธีสำคัญหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติฉบับที่ 2
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า สถานการณ์ประชากรไทยสูบบุรี่ลดลงประมาณ 19% หรือประมาณ 12 ล้านคน เมื่อเทียบกับ 30 ปีที่อยู่ 40-50% ซึ่งต้องอาศัยการรณรงค์เรื่องบุหรี่ได้จัดทำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเลิกบุหรี่ได้ โดยข้อมูลจากศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบศจย.) ปี 2560 พบว่าคนไทยเสียชีวิตเพราะบุหรี่ถึง 72,656 คนโดยผู้เสียชีวิตแต่ละคนเสียชีวิตเร็วขึ้น 18 ปี โดยเฉลี่ยต้องทุพพลภาพก่อนเสียชีวิต 3 ปี ขณะที่การวิเคราะห์ข้อมูลค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยจากกองทุนหลักประกันสุขภาพประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการในปี 2560 พบว่าบุหรี่เป็นสาเหตุให้คนไทยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลถึง 580,794 ครั้งต่อปี การสูบบุหรี่ยังส่งผลเสียทางเศรษฐกิจมหาศาลข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2560 พบว่าไทยสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 87,250 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 0.56 ของ GDP และคิดเป็นร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ แบ่งเป็นต้นทุนจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 77,173 ล้านบาท ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ 8,891 ล้านบาท
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |