กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านเฮ! ครม.ไพเขียวงบ 699 ล้านให้ค่าตอบแทนพิเศษ 7 เดือน ตอบแทนช่วยป้องโควิด-19 ด้าน "สภาพัฒน์" แจงส่วนราชการเสนอโครงการขอใช้เงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจทะลุ 1.36 ล้านล้านบาท มากกว่าเงินกู้ 3 เท่า
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.63 ว่า ครม.มีมติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ และแพทย์ประจำตำบล ที่มีอยู่ประมาณ 290,000 คน โดยเห็นควรพิจารณาให้ค่าตอบแทนเพิ่มเติมพิเศษ 7 เดือน ตามความจำเป็นของแต่ละตำแหน่ง
นางนฤมลกล่าวว่า สืบเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แต่งตั้งให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงานโรคติดต่อในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 รวมถึงการช่วยดำเนินการค้นหาเชิงรุก และการดูแลสถานการณ์ในช่วงเคอร์ฟิว ทำให้กระทบต่อรายได้ อีกทั้งค่าตอบแทนในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ
ส่วนแหล่งที่มาของงบประมาณจะใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ในแผนบุคลากรของรัฐ ประมาณ 699 ล้านบาท โดยเห็นควรให้กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ไปจัดทำรายละเอียดและหลักเกณฑ์ให้ค่าตอบแทนพิเศษ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า ครม.ยังมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง 5 ฉบับ เพื่อยกเว้นและลดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคลและบัตรประชาชนสำหรับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการติดต่อขอรับบริการเกี่ยวกับการทะเบียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
วันเดียวกัน นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้รายงานความคืบหน้าการวิเคราะห์และกลั่นกรองแผนงานหรือโครงการที่ 3 ภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 วงเงิน 400,000 ล้านบาท ว่าจากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 22 มิ.ย.63 มีข้อเสนอโครงการในรอบที่ 1 รวมทุกแผนงาน จำนวน 43,851 ข้อเสนอ วงเงินกว่า 1.36 ล้านล้านบาท ซึ่งแผนงาน 3.2 มีข้อเสนอโครงการมากที่สุด จำนวน 42,405 โครงการ ตามมาด้วยแผนงาน 3.1 จำนวน 1,259 โครงการ ตามลำดับ
"เนื่องจากข้อเสนอโครงการมีจำนวนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงทำให้การวิเคราะห์โครงการของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ล่าช้าไปกว่ากำหนดอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าจะสามารถวิเคราะห์เสร็จในเบื้องต้นภายในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ และสามารถส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้เพื่อพิจารณาได้ทันในวันที่ 1 ก.ค.63 เพื่อนำส่งโครงการที่ผ่านการพิจารณาให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามกำหนดไว้ในวันพุธที่ 8 ก.ค.ต่อไป" นายทศพรกล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงก่อนที่จะให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้พิจารณานั้น สภาพัฒน์จะเปิดให้ประชาชนได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอโครงการที่ผ่านการวิเคราะห์ของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ผ่านทางระบบ ThaiME (http://thaime.nesdc.go.th) เพื่อใช้ประกอบการกลั่นกรองโครงการต่อไปให้เกิดความรอบคอบและโปร่งใส
สำหรับกรณีที่ภาคส่วนต่างๆ ยังมีความกังวลว่า บางข้อเสนอโครงการอาจมีความไม่เหมาะสมและไม่คุ้มค่าในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ขอยืนยันว่าคณะทำงานของสภาพัฒน์ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการประกอบด้วยนักวิชาการผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญจากหลายสาขา ได้วิเคราะห์โครงการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี คือการใช้เงินกู้นี้จะต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั่วถึงเที่ยงธรรม เน้นความคุ้มค่าและมีมาตรการป้องกันการทุจริต
อย่างไรก็ดี สศช.กำหนดจัดแถลงข่าวสื่อมวลชนเพื่อชี้แจงเรื่องเกี่ยวกับ "ความก้าวหน้าของการวิเคราะห์โครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ" ในวันศุกร์ที่ 26 มิ.ย.63 เวลา 09.30 น. ณ ห้องแถลงข่าว อาคาร 5 ชั้น 1 สศช.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |