บริบทประเทศไทยช่วงก่อนและหลังปี ๒๔๗๕ มีความแตกต่างกับปัจจุบันค่อนข้างมาก
การตีความอุดมการณ์คณะราษฎรจึงมีความต่างออกไป
กลุ่มนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีความสุดโต่งมองอย่างหนึ่ง
กลุ่มนักศึกษาที่ผ่านเหตุการณ์เดือนตุลาคมก็ตีความไปอีกทาง
ขณะที่ตัวคณะราษฎรเองยังมองการกระทำของตัวเองต่างออกไป เช่นคำให้สัมภาษณ์ของ "ปรีดี พนมยงค์" ที่เอ่ยถึงไปเมื่อวานนี้
บทสัมภาษณ์ของ "ปรีดี" ชิ้นนี้ กลุ่มนิยมปรีดีบางส่วนอ้างว่าเป็นของปลอม
เป็นเฟกนิวส์ที่สร้างขึ้นเพื่อทำลาย "ปรีดี" และสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายตรงข้าม
เปล่าเลย! ของจริงล้วนๆ
เป็นบทสัมภาษณ์เมื่อปี ๒๕๒๓ โดยแอนโทนี พอล ผู้สื่อข่าวนิตยสารเอเชียวีกประจำกรุงปารีส โดยเฉพาะท่อนที่ระบุว่า
..."ในปี ค.ศ.๑๙๓๒ (พ.ศ.๒๔๗๕) ข้าพเจ้าอายุ ๓๒ ปี พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน... และครั้นข้าพเจ้ามีความจัดเจนมากขึ้น (พ.ศ.๒๔๘๙-๒๔๙๐) ข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ”....
มาจากคำถามที่ว่า... ท่านคิดว่าอะไรที่น่าจะเป็นความผิดอันใหญ่หลวงของท่าน ถ้านท่านมีอำนาจกลับไปและแก้ไขเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตของท่าน การตกลงใจหรือการกระทำอันไหนที่ท่านอยากจะเปลี่ยนมากที่สุด
จะเห็นว่าเป็นคำถามที่สำคัญ และสะท้อนความล้มเหลวของการอภิวัฒน์ที่ "ปรีดี" ยอมรับและอยากแก้ไข
แต่สำหรับนักการเมืองรุ่นหลังบางกลุ่มมองว่า "ปรีดี" ทำถูกต้องทุกอย่าง กระทั่งโยงไปถึงลัทธิคอมมิวนิสต์
บังเอิญว่า "จรัล ดิษฐาอภิชัย" แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก เนื่องในวันรำลึก ๒๔ มิถุนายน
...วันนั้น ท่านปรีดีอายุ ๒๖ ปี ท่านอื่นๆ เป็นคนหนุ่มกันทั้งนั้น แต่มีความคิดความกล้าหาญที่จะปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คณะราษฎรเป็นองค์การปฏิวัติ และปฏิวัติประชาธิปไตยสำเร็จเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ พรุ่งนี้จะครบ ๘๘ ปี
ควรต้องชี้อีกว่า หลังจากคณะราษฎรแล้ว มีแต่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่เป็นองค์การปฏิวัติ ยังไม่เคยมีการจัดตั้งองค์การปฏิวัติใดๆ ได้เลยจนถึงวันนี้....
ความเข้าใจเรื่อง "ปรีดี" กับ "คอมมิวนิสต์" เป็นข้อถกเถียงมานาน
บ้างก็ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเค้าโครงการเศรษฐกิจของ "ปรีดี" คือแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์
บางส่วนปฏิเสธว่า ไม่ใช่ เป็นเพียงแนวคิดที่สร้างความเท่าเทียมของคนในชาติเท่านั้น
และการอภิวัฒน์ ก็คือการอภิวัฒน์ประชาธิปไตย
ไม่ใช่อภิวัฒน์คอมมิวนิสต์!
เพื่อความชัดเจน บทสัมภาษณ์อย่างละเอียดของ "แอนโทนี พอล" ซึ่งไม่แพร่หลายนัก ได้อธิบายประเด็นนี้เอาไว้ค่อนข้างชัดเจน
คำถาม : ถ้างั้น ท่านก็สนับสนุนให้พวกคอมมิวนิสต์รวมอยู่ด้วยในกระบวนการทางรัฐสภานะซิ?
คำตอบ : ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นการดีกว่า สำหรับทุกคนที่จะอภิปรายเรื่องต่างๆ อย่างเปิดเผยและถูกต้องถามกฎหมายในสภา อย่างเช่นในอังกฤษ ฝรั่งเศส และยุโรปตะวันตก ซึ่งพวกคอมมิวนิสต์มีเสรี ข้าพเจ้าคิดว่ามันดีกว่า แน่ล่ะมีพวกคอมมิวนิสต์หลายชนิด และพวกเขาก็มีทรรศนะแตกต่างกันเกี่ยวกับเรื่องนี้
นั่นคือความคิดของ "ปรีดี พนมยงค์" ในปี พ.ศ.๒๕๒๓
เป็นปีที่โลกเสรีนิยมนำโดยอเมริกายังหวาดผวาทฤษฎีโดมิโน ที่จะล้มเวียดนาม ลาว เป็นคอมมิวนิสต์ไปแล้ว โดยมีไทย มาเลเซีย เป็นเป้าหมายต่อไป
และนี่คือประวัติศาสตร์ที่ไร้การเติมแต่ง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |