จะฟื้นเป็นตัว U หรือ L?


เพิ่มเพื่อน    


    เมื่อวานผมเอาแนววิเคราะห์เศรษฐกิจไทยที่ถูกโควิด-19 กระทบหนักของ “วิจัยกรุงศรี” มาเล่าให้ฟังเพื่อช่วยกันประเมินสถานการณ์ของบ้านเราให้รอบด้าน
    ในรายงานนั้นระบุว่า สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่า แรงงานจำนวน 14.4 ล้านคนมีความเสี่ยงในไตรมาส 2 
    และไตรมาส 3 การระบาดของไวรัสคาดว่าจะกระทบแรงงาน 2.5 ล้านคนจาก 3.9 ล้านคนในภาคท่องเที่ยว กระทบแรงงาน 1.5 ล้านคนจาก 5.9 ล้านคนในภาคอุตสาหกรรม และกระทบ 4.4 ล้านคนจาก 10.3 ล้านคนในภาคบริการอื่นๆ ขณะเดียวกันภัยแล้งมีผลกระทบต่อเกษตรกร 6 ล้านคน 
    สภาพัฒน์ยังคาดว่าแรงงานที่ว่างงานจะเพิ่มเป็น 2 ล้านคนในสิ้นปี 2563 นี้ หรือ 3-4% ของแรงงานทั้งหมด จาก 1% ในปัจจุบัน 
    เป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วง เพราะนี่เป็นการว่างงานที่สูงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติการเงินปี 1998
    เป็นที่มาของการคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ 
    อาจจะทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ผ่อนคลายนโยบายการเงินอีก แม้จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ย 
    รายงานนี้บอกว่าเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมยังติดลบเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 3.44% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 
    เป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง 28.0% และมาตรการของรัฐบาลในการลดค่าครองชีพของประชาชน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานติดลบ 0.01% 
    บทวิเคราะห์นี้บอกว่าแม้เงินเฟ้อมีแนวโน้มติดลบน้อยลงจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นหลังจากคลายล็อกดาวน์ แต่คาดว่าเงินเฟ้อทั้งปีจะติดลบ 0.8% เพราะความต้องการในประเทศยังอ่อนตัว
    แนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่สดใสและความเสี่ยงที่จะเกิดเงินฝืด อาจจะทำให้ กนง.ออกมาตรการกระตุ้นทั้งผ่านนโยบายการเงินแบบทั่วไปและนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมาย 
    การผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยหนุนการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน 
    “วิจัยกรุงศรี” มองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดลงมาที่ 0.50% ระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์ของ กนง. เป็นการส่งสัญญาณการสิ้นสุดวัฏจักรการลดดอกเบี้ย 
    และคาดว่าจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 เพราะแม้มีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ 
    แต่เศรษฐกิจทั้งไตรมาส 2 น่าจะหดตัวมากกว่า 8% และในครึ่งหลังของปียังคงหดตัวจากระยะเดียวกันของปีก่อน 
    นั่นหมายความว่าครัวเรือนและภาคธุรกิจยังต้องการมาตรการกระตุ้น ทั้งมาตรการทั่วไปและมาตรการแบบกำหนดเป้าหมาย
    ทิศทางเศรษฐกิจไทยในอีกหลายเดือนข้างหน้าขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพของนโยบาย
    วิจัยกรุงศรีคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบ 5% ในปี 2563 โดยมีความเป็นไปได้มากที่เศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างช้าๆ และภาคธุรกิจต่างๆ จะเริ่มปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ๆ ที่จะชัดเจนมากขึ้นในปี 2564
    วิจัยกรุงศรีประเมินว่าจะฟื้นตัวแบบ U-shape แต่มีความเสี่ยงที่จะถดถอยลึกลงไปอีก 
    จากการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสรายใหม่จะแตะระดับสูงสุดภายในครึ่งแรกของปีนี้ และการดำเนินนโยบายเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์มีประสิทธิภาพปานกลาง 
    แต่เศรษฐกิจไทยยังประสบกับสถานการณ์ที่ท้าทายจากมาตรการล็อกดาวน์ ที่ยังบังคับใช้ในบางด้านทั้งในประเทศและทั่วโลก
    รวมทั้งมีความเสี่ยงสูงที่วิกฤติทางการเงินจะลุกลามและนำไปสู่การฟื้นตัวแบบ L-shape และมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดรอบสอง
    รายงานนี้สรุปว่า “ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแบบ U-shape เพราะมีสมมติฐานว่าไทยจะควบคุมการระบาดของไวรัสได้ภายในสิ้นไตรมาส 2 และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพปานกลาง แต่ก็มีโอกาสที่เศรษฐกิจจะถดถอยลึกลงไปอีก 
    หรือในกรณีที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ การลุกลามของวิกฤติทางการเงินจะนำไปสู่การฟื้นตัวแบบ L-shape และเกิดการระบาดรอบสอง”
    ถ้าเป็นการฟื้นแบบ L จะมีผลกระทบตามมาหลายด้าน
    (พรุ่งนี้: การฟื้นไทยต้องเชื่อมกับเศรษฐกิจโลก).
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"