"หมอประสิทธิ์"วิเคราะห์ไทยอาจหนีไม่พ้นต้องเจอระบาดระลอก 2 แต่ถ้าการ์ดไม่ตก ก็จะเป็นแค่คลื่นเล็กๆ เศรษฐกิจยังเคลื่อนต่อได้  


เพิ่มเพื่อน    


23 มิ.ย.63-ศ. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชและพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกบทวิเคราะห์ที่เป็นความเห็นส่วนตัวผ่านทางไลฟ์สด  mahidil channel วา เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO )ได้ออกมาประกาศเตือนการเข้าสู่เวลาใหม่และอันตราย  ระลอกใหม่ของการระบาดโควิด-19  องค์การอนามัยโลก ชี้ว่าจากสถิติตัวเลขที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวันของประเทศในแถบยุโรป แทบทุกทวีป พบว่ามีการกลับมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ และการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่เคยควบคุมได้ดี หรือค่อนข้างดี เห็นได้จาก  กรุงปักกิ่ง  กรุงโซล เกิดการระบาดใหม่ มีผู้ติดเชื้อในแต่ละวันเพิ่มขึ้น  ส่วนในอเมริกา ขยายไปทางตะวันตก และตอนใต้  มีการวิคราะห์ เป็นระยะอันตรายใหม่( New Dangerous Phase )เพราะเกิดการระบาดใหม่ ในรัฐที่มีการผ่อนคลายเร็วกว่าที่ควรจะเป็น   นอกจากนี้ เมื่อมองจากทั้งโลกพบว่าในช่วง 2สัปดาห์ที่ผ่านมามี  81 ประเทศ มีอุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ และมี 30ประเทศที่ผู้ติดเชื้อลดลง  ภาพทั้งโลก ข้อมูลสิ้นสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่  21 มิ.ย. พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 1.3 แสนรายต่อวัน ส่วนสัปดาห์ก่อนหน้านี้  1.7-1.8 เพิ่มขึ้นต่อวัน 

 


เมื่อดูสถานการณ์ในสหรัฐอเมริกา เพิ่้มขึ้นวันละ 3หมื่นรายต่อวัน  การเสียชีวิตเหมือนจะดีขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อ อายุ20-30 ปีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลจากการออกไปสังคม การเสียชีวิตคนกลุ่มนี้แม้จะน้อย แต่ถ้ามีการเสียชีวิตก็จะกระทบกับเศรษฐกิจ ส่วนบราซิล  ติดเชื้อ3-5หมื่นราย/วัน เกินศักยภาพระบบสุขภาพประเทศที่จะดูแลได้ ทำให้มีการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น วันละมากกว่า 1พันราย 


ทางด้านอิหร่าน เมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว ที่เราเฝ้าติดตาม แต่ตอนนี้ตัวเลขเริ่มลดลง แสดงว่าควบคุมได้  ประเทศอิตาลี ตัวเลขเริ่มลดลง แต่ไม่ลงสนิท เพราะขึ้นบ้างบางครั้งคราว เป็นคลื่นเล็กๆ แต่ไม่น้อย เพราะคูณด้วยจำนวนหลักพัน ผู้ป่วยรายใหม่ยังเพิ่มประมาณ   300 ราย/วัน  มีการปรับตัวทำให้การเสียชีวิตไม่สูงเหมือนช่วงแรก ประมาณ 50ราย /วัน  ทางประเทศฝรั่งเศส เหมือนจะดีขึ้น แต่มีคลื่นเตี้ยๆ การติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นบางครั้งคราว  จำนวน.500-600 รายต่อวัน การเสียชีวิตลดลง เป็นตัวเลขสองหลัก กลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองระดับหนึ่ง  เทียบกับการระบาดช่วงแรกๆ   จะมีคลื่้นเล็กๆ ครั้งคราว อยู่ในระดับสุขภาพรับได้ 


ทางด้านเอเชีย ประเทศสิงคโปร์ เคยได้รับคำชื่นชมเรื่องการควบคุมการระบาด แต่พอค้นพบการระบาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ทำให้ผู้ติดเชื้อก็เพิ่มขึ้น จากเดิมมี 509 ราย แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 45,000ราย และตัวเลขเริ่มดีขึ้นตอนนี้ติดเชื้่อประมาณวันละ 200 กว่าราย แสดงให้เห็นว่าเริ่มเข้าที่เข้าทาง แต่อัตราการเสียฃีวิตของสิงคโปร์ต่ำมาก เนื่องจาก คนติดเชื้อเป็นกลุ่มแรงงาน สุขภาพแข็งแรงมาก่อน และรัฐบาลลงไปติดตามหาผู้ติดเชื้อ จำกัด บริเวณ และควบคุมการกระจายเชื้อได้ดี


ประเทศญี่ปุ่น พอผู้ติดเชื้อลดลง ถึงกลับมาเปิดประเทศ ก็พบว่ามีคลื่นเล็กๆ ไม่สูงมาก อัตราติดเชื้อแต่ละวัน  40-50 ราย/ว้น และตอนนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังออกมาตรการเข้มข้น เพราะการติดเชื้อวันละ40-50 ราย จะทำให้เกิดการสะสมคนไข้จะมากขึ้นเรื่อยๆ 
ทางเกาหลีใต้ เป็นประเทศที่เคยเกิด ซูเปอสเปรดเดอร์ แต่กาหลีใต้ได้นำกลไก การเรียนรู้เมื่อครั้งเกิดการระบาดโรคเมอร์ส มาใช้กับโควิด-19  ทำให้ตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย. ถึง พ.ค.คนติดเชื้อลดลงเหลือน้อยมาก แต่พอหลังๆปลายพ.ค.-มิ.ย.กลับมีผู้ติดเชื้อใหม่ สถ่านการณ์ไม่เหมือนปลายเดือนเม.ย.เพราะมีคนงานบริษัทจัดส่งสินค้าเกิดการติดเชื้อ 


สำหรับประเทศไทย ตัวเลขวันนี้ เราชื่นชมยินดี ว่าเรามีผู้ป่วยรายใหม่น้อย หรือบางวันไม่มี ผู้ป่วยรวม 3พันกว่า อัตราเสียชีวิตอย่างมากแค่วันละ 1 ราย  ทั้งหมดที่กล่าว เพื่อชี้ให้เห็นว่ากลุ่มประเทศที่เปิด ผ่อนคลายเร็ว จะมีการกลับมาระบาดใหม่ อย่างในเอเชีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น  ทั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทย ต้องการจุดสมดุล ระหว่างสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ต้องเกิดการประสาน รัฐบาล  ผู้ประกอบการ ประชาชน  จนเราผ่อนคลาย มาตรการ 4 ระยะ ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความร่วมมืออย่างดี ในช่วงต้นๆ แต่ระยะหลังๆ เริ่มมีการผ่อนคลายมากขึ้น บางร้านเริ่มหย่อน  การติดตามผู้เสี่ยง หรือติดเชื้อช่วง 3-4เดือนที่ผ่านมา คนไทยทำดีมาก รักษาระยะห่าง ล้างมือ ใส่หน้ากาก แต่ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา หลายคนเริ่มวางใจ ไม่ใส่หน้ากาก ใม่ล้างมือ ไม่เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล


ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า อย่างที่ตนเคยกล่าวไปแล้วว่า ประเทศไทยน่าจะมีการะบาดระลอกใหม่อีก แต่ถ้ากลับมาใหม่เป็นการระบาดเล็กๆ จำนวนไม่มาก ก็ไม่น่ากังวล   ซึ่งการใช้ แอพลิเคชั่น" ไทยชนะ" จะเป็นประโยชน์ในการควบคุมโรคมาก แต่แอพฯนี้ ยังมีการใช้น้อย หรือมีการใช้อย่างไม่ถูกต้อง เพราะถ้าเราไม่เช็คเอาท์ แม้ออกจากร้านไปแล้ว แต่ถ้ามีคนที่ไปร้านมีผู้ติดเชื้อเข้ามา  กระบวนการสืบสวน ก็ต้องวิ่งมาหาตัวเรา  ทั้งที่เราไม่ได้อยู่ในพื้นที่ และในเวลาดียวกับคนติดเชื้ออยู่  แต่ถ้าหากมีการเช็คเอาท์ ก็จะทำให้การสืบสวน  การตรวจ การหาคนกลุ่มเสี่ยงทำได้ง่ายขึ้น  เพราะเมื่อเจอกลุ่มเสี่ยงแล้ว ไม่ได้มีแต่เราเท่านั้น ที่ต้องถูกเฝ้่าระวัง ยังมีคนในครอบครัวด้วย   


"ถ้าทุกคนช่วยกัน แม้การระบาดจะกลับมาใหม่ แต่ก็เป็นคลื่นเล็ก ๆ ก็ไม่น่ากังวล หากจำนวนไม่มาก เราติดตามตัวได้ แยกกิจกรรมต่างๆได้  การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  และครัวเรือนยังดำเนินต่อได้ ไม่กระทบ แต่หากมีคนติดเชื้อมาก เศรษฐกิจก็จะขับเคลื่อนไม่ได้   ดังนั้น  เมื่อรัฐบาล นำไทยชนะออกมาแล้ว ต้องช่วยกันใช้ หากมีการติดเชื้อใหม่ การค้นหาจะทำได้เร็ว  เราก็เห็นแล้วว่า หลายประเทศ กลับมาติดเชื้ออีก  แต่ถ้ามีคนติดเชื้อไม่มาก กิจกรรมเศรษฐกิจทุกอย่างดำเนินนได้ แต่ถ้าติดเชื้อมาก เศรษฐกิจจะแย่ เคลื่อนไม่ได้ เพราะคนกลัวการติดเชื้อ"

ศ.นพ.ประสิทธิ์ ย้ำอีกว่า ในช่วงเกือบเดือน ที่เรามีคนติดเชื้อที่มาจากต่างประเทศ วันละ 4-5 ราย และยังไม่มีคนติดเชื้อในประเทศ  แต่อย่าคิดว่าจะปลอดภัย เช่น เกาหลีใต้ เยอรมัน จีน  เองก็กลับมาเจอผู้ติดเชื้อรายใหม่  ซึ่งประเทศไทยเองยังไม่มีการสำรวจวัดหาภูมิต้านทานโควิด-19 ในคนไทย แต่เชื่อว่าคนไทยมีน้อย ถึงน้อยมาก เพราะเรามีคนติดเชื้อสะสมรวมแค่ 3พันกว่า  ซึ่งศิริราชเองเคยศึกษาภูมิคุ้มกัน ตรวจนักศึกษาแพทย์ พบว่าไม่มีภูมิคุ้มกันโควิดเลย ทางด้านรพ.รามาธิบดีเอง ก็นำบุคคลากรมาหาภูมิคุ้มกัน พบว่ามีภูมิแค่  3%  ดังนั้น การที่เรามีผู้ติดเเชื้อ แค่ 3พันกว่าคน ถ้ามีการหลุดขึ้นมา เชื้อมาจากข้างนอก  หรือไม่รู้มาจากไหน เราก็จำเป็นต้องป้องกันตัวเองไว้ก่อน  จนกว่าจะมีวัคซีนขึ้นมา  


" การติดเชื้อแค่พลาดวันเดียว หรืออาทิตย์เดียว ก็จะทำให้สิ่งที่เราพยายามทำมาดีแล้วเสียไปทั้งหมด ดังนั้น แอพฯไทยชนะจะทำให้รัฐบาลสะดวก ในการติดตาม ยิ่งใช้เยอะ จะยิ่งติดตาม ช่วยคนหา ผู้เสี่ยงและพื้นที่เสี่ยง ได้ ง่ายขึ้่น และผมขอย้ำว่า แต่ต้องใช้ให้ถูก เช็คอิน แล้วต้องเช็คเอาท์ และเราต้องทำการป้องกันพื้นฐาน ใส่หน้ากาก ล้างมือ  เพื่อให้ทุกคนปลอดภัย ประเทศไทย จะชนะโควิดหรือไม่ ปัจจัย สำคัญที่สุดคือคน เราผ่านเรื่องดีๆ และเราผ่อนคลาย ผมเชื่อว่าเราไม่อยากไปถูกควบคุมเหมือนเดิม เราต้องช่วยกัน  แอพ ติดตาม มีแล้วต้องใช้ "ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"