เงินเก็บเกลี้ยงกระเป๋า-ขายของที่มีอยู่ทุกอย่างแล้ว พนักงานบริการโวยประกันสังคมยังไม่จ่ายว่างงาน ส่งจดหมายถึงนายกฯ-ศบค.ขอความชัดเจนเปิดผับ-บาร์-คาราโอเกะ
22 มิ.ย.63 - เครือข่ายพนักงานบริการ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค) โดยระบุว่า ขณะนี้หลายอาชีพได้กลับไปทำงาน แต่ศบค. ยังไม่มีวิธีที่จะเปิดสถานบริการ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวดให้ปลอดภัยได้อย่างไร โดยพนักงานบริการกับสถานบริการร่วมมือกันทำตามนโยบายเพื่อสังคมที่ปลอดภัยได้ แต่ในช่วงที่ปิดนี้จะใช้ชีวิตกันอย่างไร เมื่อเงินเยียวยาหมดไปแล้ว เงินประกันสังคมบางคนยังไม่ได้ ยิ่งพนักงานบริการที่เป็นชาติพันธุ์และคนที่ถือบัตรแรงงานข้ามชาติ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆเลย ทุกคนไม่มีรายได้ แต่รายจ่ายยังมี ไม่ว่าจะเป็นค่าที่อยู่ ที่กิน ด้วยความที่พนักงานบริการ 80% เป็นแม่ เดือนหน้าโรงเรียนเปิดแล้ว ค่าเทอม ค่าชุดนักเรียน ค่าหนังสือ จะหาจากไหน
"บางคนใช้เงินเก็บจนหมด บางคนขายของที่มีอยู่ออกไป พยายามที่จะหารายได้จากหลายๆทาง ทั้งขายของออนไลน์ ปลูกผัก รับจ้าง บางคนเรียนทักษะต่างๆ เพิ่ม บางคนพยายามกลับไปทำงานที่เคยทำ เช่น ก่อสร้าง แม่บ้าน เด็กเสิร์ฟ รับจ้าง ถึงอย่างนั้นก็ตาม ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน เราก็ไม่สามารถวางแผนชีวิตให้มั่นคงได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การคอรัปชั่น และการแสวงหาประโยชน์ได้ ผลกระทบนี้ส่งผลไปถึงลูกจ้างในสถานบริการมากกว่า 1 ล้านคน”จดหมายเปิดผนึก ระบุ
ในจดหมายระบุว่า มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ร่วมกับองค์กรและผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน 51 รายชื่อ ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกที่ถึงนายกรัฐมนตรีและ ศบค. เพื่อเรียกร้องให้ 1.รัฐบาลต้องประกาศให้ชัดเจนว่าสถานบริการจะปิดเป็นเวลานานเท่าไหร่เพื่อที่พนักงานบริการวางแผนชีวิตได้ 2.รัฐต้องขยายเวลาในการช่วยเหลือเงินเยียวยา 5,000 บาทกับพนักงานบริการ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์และแรงงานข้ามชาติทุกคน 3.รัฐต้องเร่งรัดการจ่ายเงินว่างงานให้กับผู้ประกันตน ม.33 และขยายเวลาจาก 90 วันเป็น 180 วัน 4.รัฐต้องลบประวัติความผิดทางอาญากับผู้ขายบริการทางเพศที่เคยถูกจับในความผิดค้าประเวณีเพื่อสามารถสร้างชีวิตใหม่ได้
น.ส.ไหม จันตา ตัวแทนพนักงานบริการกล่าวว่า กรณีเงินเยียวยา 5,000 บาท คนที่ถือบัตรประชาชนไทยส่วนมากจะได้รับเงินกันเกือบหมดแล้ว เพราะทุกคนเข้าถึง แต่สำหรับพนักงานที่มาจากพื้นที่สูงและพนักงานกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งยังไม่มีสถานะทางทะเบียนและเข้าถึงประกันสังคมได้น้อยมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานบริการ แต่กลับเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ ที่สำคัญคนกลุ่มนี้ส่วนมากไม่มีประกันสังคม
“รัฐบาลบอกว่าพวกเราอยู่ในระยะที่ 4 แต่เขายังไม่ผ่อนปรน และจัดพวกเราไว้เป็นกลุ่มสุดท้าย ไม่มีความชัดเจนแน่นอนเลย ทั้งผับ บาร์ คาราโอเกะ จะเปิดเมื่อไหร่ พวกเราเหมือนถูกทิ้งแล้ว จึงต้องทำจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี เราไม่ได้โต้แย้งว่าเราจะขอเปิด เพียงแต่ถ้าปิดต่อ ช่วยบอกให้ชัดเจนได้มั้ยว่าจะปิดไปถึงเมื่อไหร่ และต้องมีเงินเยียวยาให้เราต่อ ไม่ใช่ทิ้งเราไว้แบบนี้”น.ส.ไหม กล่าว
น.ส.ไหมกล่าวว่า ตอนนี้คนที่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยา 5 พันได้เงินครบแล้ว แต่พนักงานที่รอกรณีว่างงานจากประกันสังคมกลับยังไม่ได้รับเงินกันเลย เรื่องเงียบหายไปเลย ทั้งๆที่มีนายจ้างรับรอง ทำให้คนตกงานยังคงตั้งหน้าตั้งตารอ เขาตั้งคำถามว่าเงินประกันสังคมเป็นเงินของเขาเองแท้ๆ แต่กลับได้ยากเย็น จึงอยากให้รัฐบาบเร่งรัด ”น.ส.ไหม กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |