นายอำเภอพลเปิดบ้านให้ประชาชน มาเก็บเกี่ยวผลผลิตจากธนาคารอาหาร หลังพืชผักสวนครัวเริ่มออกดอกออกผล เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมเดินหน้าต่อยอดธนาคารอาหารต้นแบบทุกตำบล เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างยั่งยืนมีกินมีใช้ทุกวัน
22 มิ.ย.63 - ที่บ้านพักนายอำเภอพล ภายในศูนย์ราชการ อ.พล จ.ขอนแก่น มีประชาชนที่ได้รับผลกะทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทยอยกันมาเก็บผักและผลผลิตทางการเกษตร ที่ อ.พล ร่วมกับ กิ่งกาชาด อ.พล จัดทำขึ้นตามโครงการธนาคารอาหาร หรือ Food Bank สำหรับการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยได้มีการใช้พื้นที่โดยรอบบ้านพักนายอำเภอพล รวมทั้งที่ว่าง บริเวณทางเข้าที่ว่าการ อ.พล จัดทำแปลงเพาะปลูกผักนานาชนิด พื้นที่ทำปุ๋ยอินทรีย์ แปลงสาธิตและจุดถ่ายภาพ ขณะนี้พืชผักต่างๆ เริ่มออกผลผลิต และทางอำเภอได้อนุญาตให้ประชาชนเข้ามาเก็บผลผลิตนำกลับไปรับประทานได้แล้วอย่างต่อเนื่อง
นายเพชร สุพพัตกุล นายอำเภอพล กล่าวว่าจากสถานการณ์โควิด-19 โครงการธนาคารอาหาร เป็นอีกหนึ่งแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนคู่ขนานกับมาตรการป้องกัน เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นแต่ละพื้นที่นั้นมีแตกต่างกัน ดังนั้นแนวทางการสร้างความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพออยู่พอกิน พอมี พอใช้ มาดำเนินงานนั้นเป็นสิ่งที่อำเภอจะต้องสร้างพื้นที่ต้นแบบและสร้างความรูปธรรมให้เกิดขึ้น
"ธนาคารอาหารของเรานั้นเริ่มจากพื้นที่ว่างใกล้ตัว จึงใช้พื้นที่โดยรอบบ้านพักของผม รวมทั้งพื้นที่ว่างทางเข้าที่ว่าการ อ.พล เป็นพื้นที่แปลงสาธิต ที่คณะทำงานร่วมทุกฝ่าย โดยเฉพาะกิ่งกาชาด อ.พล นั้นเป็นแกนนำหลักของการดำเนินงาน ด้วยการจัดเตรียมพื้นที่ที่เป็นรูปแบบของการทำการเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ด้วยแปลงเพาะปลูกที่แยกประเภทไล่เรียงตามแต่ละชนิด ที่ทุกอย่างนั้นเป็นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกวัน ด้วยหลักวิชาการมากำหนดการออกผลผลิตที่เหลื่อมล้ำกัน ทั้งกลุ่มผักสลัดออกแกนิค,ต้นหอม,ผักบุ้ง,พริกขี้หนู,ตะไคร้,ใบกะเพรา,ใบโหระพา,ใบแมงลัก,คื่นช่าย,เซเลอรี่,กุ้ยช่าย,ถั่วฝักยาว,แตงกวา ซึ่งแปลงผักของเรานั้นมีผักมากกว่า 20 ชนิดที่ขณะนี้ออกผลิตแล้ว”
ขณะที่ นางรุ่งนภา เตรียมเวชวุฒิไกร รองนายกกิ่งกาชาด อ.พล จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้ผลผลิตทางการเกษตรในแปลงผักของธนาคารอาหารเริ่มให้ประชาชนมาเก็บไปกินได้แล้ว ซึ่งคณะทำงานจะอนุญาตให้ประชาชนมาเก็บเป็นรอบเวลา และกลุ่มผักแต่ละชนิด ในจำนวนที่เหมาะสมของแต่ละคนเพื่อให้ผลผลิตนั้นกระจายไปถึงกลุ่มผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19
อีกทั้งยังคงมีเจ้าหน้าที่ อส.และเจ้าหน้าที่ของกาชาด ดูแลและบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้ธนาคารอาหารต้นแบบของ อ.พล เป็นศูนย์สาธิตที่สามารถต่อยอดแผนการดำเนินงานได้ครอบคลุมทุกตำบลของ อ.พล รวมทั้งการเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษที่ผสมผสานความเป็นธนาคารอาหารในด้านต่างๆได้อย่างลงตัว และที่สำคัญคือ การที่ทุกคนสามารถใช้พื้นที่ว่างข้างบ้านมาเป็นธนาคารอาหารที่สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกวันย่างยั่งยืนอีกด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |