สสส.จุฬาลงกรณ์ฯ กลุ่มอรุณสยาม กทม.ชูโมเดลขับเคลื่อนเครือข่ายคนสามวัย เคล็ดลับการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรต่อกัน ด้วยภูมิปัญญาผู้สูงวัยถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ กลไกโรงเรียนผู้สูงอายุ สร้างพื้นที่สุขภาวะ ลดเครียด สร้างชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเอง ดูแลกลุ่มสูงวัยเปราะบาง “ติดบ้าน-ติดเตียง” ช่วยรอดพ้นภัยโควิด-19
ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วย ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. เยี่ยมให้กำลังใจครอบครัวผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 พร้อมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ในชุมชน แนวทางการแก้ปัญหาและมอบชุดอุปกรณ์ป้องกันโควิด–19 ให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบด้วยที่ชุมชนทรัพย์สินใหม่ เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
“ชุมชนวังทองหลาง จุฬาฯ กทม.อรุณสยามช่วยกันเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มกันใน 11 ชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กองทุนผู้สูงอายุ การพัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์ฯ มีหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุสนับสนุนทรัพยากร ความรู้ ศึกษาดูงานทำให้ชุมชนรวมตัวกันมีกิจกรรมต่อเนื่อง สำรวจกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากลำบากว่าอยู่ที่ไหน สสส.จะเข้าไปสนับสนุนด้วยการให้อุปกรณ์ยังชีพ ส่วนใหญ่ชุมชนจะเป็นผู้คัดเลือกว่าใครเดือดร้อนมากที่สุดเพื่อให้ สสส.เข้าไปช่วยเหลือ ขณะนี้พบ 500 หลังคาเรือนมีความเสี่ยงสูงจะได้ถุงเครื่องมือส่งเสริมวิถีสุขภาวะในสภาวะวิกฤติเป็นการเฝ้าระวังในเบื้องต้น มีการแนะนำแกนนำผู้สูงอายุในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง การทำงานกับผู้สูงอายุในเขตเมืองเป็นโจทย์ยาก หากทำสำเร็จจะเป็นโครงการนำร่องในพื้นที่อื่นๆ ด้วย”
ทพ.ศิริเกียรติกล่าวว่า สสส.ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งเชิงนโยบาย วิชาการ และประสานการทำงานกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ 11 ชุมชน ในเขตวังทองหลาง ห้วยขวาง ประกอบด้วย ชุมชนเทพลีลา ชุมชนทรัพย์สินใหม่ ชุมชนทรัพย์สินเก่า ชุมชนร่วมสามัคคี ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา ชุมชนเก้าพัฒนา ชุมชนน้อมเกล้า ชุมชนคลองพลับพลา ชุมชนหมู่บ้านพลับพลา ชุมชนบึงพระราม 9 พัฒนา และชุมชนบึงพระราม 9 (บ่อ 3) ซึ่งมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน ตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีกิจกรรมเพื่อรองรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง จนนำมาสู่การจัดตั้งเครือข่ายผู้สูงอายุ 11 ชุมชน และการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ซึ่งนับเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุแห่งแรกในกรุงเทพมหานครที่จัดตั้งและดำเนินการเองโดยภาคประชาชน
“สสส.ส่งเสริมให้แกนนำและประชาชนใน 11 ชุมชน สร้างกลไกขับเคลื่อนสุขภาวะในพื้นที่เกิด 1) ชมรมผู้สูงอายุ 11 ชุมชน และ 2) เครือข่ายคนสามวัย เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ทั้งสองกลไก ได้ร่วมกันระดมทรัพยากรเครื่องอุปโภคและบริโภคให้กับชาวชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง และเครื่องอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน รวมถึงเยียวยาช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ 11 ชุมชน โดยประสานแกนนำ/ผู้นำชุมชนสำรวจข้อมูลทั้งเชิงประมาณและคุณภาพของกลุ่มเปราะบางในแต่ละชุมชน พร้อมทั้งประสานหน่วยงานและจัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อนำเครื่องอุปโภคบริโภคมาเยียวยาให้กับกลุ่มเปราะบาง ทำให้สามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ขณะเดียวกัน สสส.ก็หนุนเสริมให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน ระยะฟื้นฟู โดยร่วมกันสร้างกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการขั้นพื้นฐานและการเรียนรู้ที่จะอยู่ต่อไปในสถานการณ์ที่เชื้อโควิด-19 ยังไม่ได้หมดไป เช่น การพึ่งตนเองทางด้านความมั่นคงทางอาหาร จัดกระบวนการสร้างความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ (Health Literacy) และกิจกรรมส่งเสริมจิตอาสาช่วยเหลือกันในชุมชนผ่านรูปแบบธนาคารเวลาเพื่อคนทุกเพศทุกวัย” ทพ.ศิริเกียรติกล่าว
ทพ.ศิริเกียรติกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ สสส.ได้บูรณาการการทำงาน 3 แผนงานของ สสส.คือ แผนสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ แผนสร้างเสริมสุขภาพจิต และแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งานพื้นที่สุขภาวะ โดยการดำเนินการของสถาบันอรุณ อิน สยาม เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้ โดยสร้างแกนนำคน 3 วัย ในชุมชนเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมให้เพิ่มกิจกรรมทางกายในรูปแบบต่างๆ การทำแปลงผักปลอดสารพิษ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะและสุขาภิบาลที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังสนับสนุนพัฒนาศักยภาพผู้นำและกลไกการสร้างเสริมสุขภาพจิตกลุ่มแรงงาน “การสร้างสุข ลดทุกข์” ดำเนินการโดยสมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พัฒนาศักยภาพผู้นำเพื่อเป็นอาสาสร้างสุขและหมอสุขชุมชน เพื่อทำให้ประชากรวัยแรงงานในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างสุขลดทุกข์ ลดความเครียด เกิดการสร้างสมดุลในชีวิตครอบครัวและงาน
ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก9) สสส. กล่าวว่า ชุดอุปกรณ์ที่ สสส.นำมามอบให้เป็นคู่มือในการปฏิบัติตัว มีภาพประกอบที่เข้าใจง่าย วิธีการล้างมือที่ถูกต้อง การล้างมือใช้สบู่ก้อนดีกว่าสบู่เหลว ระหว่างการล้างมือสามารถร้องเพลงชาติ หรือจะร้องเพลง Happy Birth Day ก็ได้ ขณะที่ล้างมือด้วยสบู่ 7 ขั้นตอน ก็ให้ฟอกล้างก๊อกน้ำไปด้วย การล้างมือล้างได้บ่อยๆ ล้างมือก่อนเข้าบ้านและทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยใส่ใจล้างนิ้วโป้ง ตามง่ามนิ้วหลังมือหัวแม่โป้งกลางมือฟอกด้วยสบู่ให้สะอาดที่สุด อุปกรณ์หน้ากากอนามัย ปรอทวัดไข้ แอลกอฮอล์สเปรย์ สบู่ก้อน ทั้งหมด 500 ชุด และยังมีแอลกอฮอล์เจลต่างหากอีก 1,000 ชิ้น สถานการณ์นี้เชื่อว่าจะต้องใส่หน้ากากอนามัยอีกเป็นปี ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมที่ป้องกันโดวิด-19 ได้ในระดับหนึ่ง
อัปสรฤดี จันทหิรัญ รองประธานชุมชนเทพลีลา ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยชุมชนเทพลีลา อดีตอาจารย์ รร.พระโขนงพิทยาลัย ในฐานะผู้แทนศูนย์ 3 วัย ใน 11 ชุมชน กล่าวรายงานสถานการณ์ครัวเรือนทั้งหมด ประชาชนกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่ 11 ชุมชน มี 168 คน เป็นชาย 67 คน เป็นหญิง 101 คน สถาบันอรุณสยามและ สสส.ห่วงใยสุขภาพประชาชน จึงได้จัดอุปกรณ์ป้องกันโรค 500 ถุง ถุงยังชีพซึ่งประกอบด้วยข้าวสาร 5 กก. น้ำปลา น้ำมันพืช น้ำยาล้างจาน กระดาษทิชชู ให้กับกลุ่มเปราะบางทั้ง 168 คน ขณะเดียวกัน สุรชัย รักษาชาติ ผู้ประสานงานหลักสถาบันอรุณสยามพัฒนา 11 ชุมชน เพื่อสร้างเสริมให้ผู้สูงอายุพวกเรา 3 วัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชี้แนะให้กำลังใจให้ความรู้ศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ สนับสนุนนักเรียนผู้สูงวัย เด็ก เยาวชนมีกิจกรรมร่วมกัน ผู้สูงวัยที่มีความจำสั้นมีความสุขยิ่งขึ้น
ที่ รร.ผู้สูงอายุได้พบปะกัน อยู่บ้านลูกหลานคุยไม่รู้เรื่อง มีความสุขที่ได้ออกจากบ้านได้พบปะเพื่อนฝูงเรียนหลักสูตรเป็นประสบการณ์ใหม่ที่มีบูรณาการ การกินอาหาร การบริหารร่างกายให้แข็งแรง การบริหารชีวิตให้มีความสุข คุยกับใครก็คิดบวกสามารถปรับตัวอยู่ได้ เป็นการรวมคนกลุ่ม 3 วัยให้มาอยู่ด้วยกัน ช่วยกันทำงาน เด็กมีแม่แบบที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต เราจำเป็นต้องปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้ก้าวเดินไปข้างหน้า โดยมีผู้ใหญ่ที่เป็นภูมิปัญญาดูแลและหล่อหลอมเด็กให้เติบโตเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดี
บุญชัย นำเจริญสมบัติ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตวังทองหลาง กล่าวว่า ขณะนี้ 11 ชุมชนรวมกันทำกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ลุงแก้วในฐานะผู้นำชุมชนปลูกผักทำอาหารสุขภาพมาจำหน่าย เราต้องอยู่ในบรรยากาศของการป้องกันโควิด-19 ไปอีกนาน รัฐบาลเปิดเฟส 3 เฟส 4 การแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น เราต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ New Normal การรักษาสุขอนามัย ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้านและอยู่ในพื้นที่เสี่ยง
อนึ่ง นวลใย พึ่งจะแย้ม แกนนำชุมชนน้อมเกล้า ชาตรี โสสิงห์ นำคณะผู้บริหาร สสส.เข้าไปเยี่ยมเยียนมอบถุงป้องกันโควิด และถุงยังชีพให้กับสมมติ-พูน วันตรง สองสามีภริยาที่เจ็บป่วยอยู่บ้าน ทุกครั้งที่ออกจากบ้านต้องนั่งรถเข็น จากเดิมที่ พูน วันตรง ขายกล้วยแขก ข้าวเม่าทอด ขนมต่างๆ ที่ รร.ศิริเพ็ญ และวัดสระปทุม ส่วนสมมติ สามีป่วยเป็นอัมพฤกษ์เป็นเวลาสิบกว่าปีแล้ว อยู่ในความดูแลของลูกสาวและหลานสาว ทั้งนี้ มีอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพฯ เข้ามาดูแล
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |