"วราวุธ ศิลปอาชา" รมว.ทส. ลงพื้นที่สุราษฎร์ธานี สำรวจทรัพยากรทางทะเล สุดปลื้มระบบนิเวศฟื้นตัวคืนความสมดุล สัตว์ทะเลหายากกลับมาให้พบเห็นมากขึ้น เตรียมตั้งหน่วยอนุรักษ์ฯเกาะพะงัน ประสานชุมชนและนักท่องเที่ยวบนเกาะเต่า เกาะสมุยและเกาะพะงันมีส่วนร่วมอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
21 มิ.ย.63 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ได้ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายนนี้ เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์การฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลหลังวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง น้ำตกธารเสด็จ เกาะนางยวน เกาะเต่า และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร นอกจากนี้นายวราวุธยังได้มีโอกาสดำน้ำดูสภาพปะการังรอบเกาะเต่า พร้อมกล่าวว่า สิ่งที่ตนรับรู้ได้คือในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ธรรมชาติและระบบนิเวศสามารถฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ทรัพยากรทางทะเลคืนสมดุล สัตว์ทะเลหายากหลายชนิดกลับมาให้เราได้พบเห็นมากขึ้น
นายวราวุธ กล่าวว่าเมื่อเร็วๆนี้ คุณพรรณี ครูสอนดำน้ำได้พบฉลามวาฬในพื้นที่เกาะเต่า ก็เป็นเครื่องแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ฉลามวาฬตัวดังกล่าว ได้รับผลกระทบจากขยะทะเลที่เป็นเชือกพันหางจนเป็นแผล ตนจึงได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งผนึกกำลังกับทีมงานนักดำน้ำเกาะเต่าติดตามค้นหาช่วยเหลือต่อไปให้ได้ ตนได้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกับพี่น้องประชาชน รวมถึงสมาชิกชมรมรักษ์เกาะเต่า ผู้ประกอบการในพื้นที่ดังกล่าว ก็ได้ให้กำลังใจกับทุกฝ่ายที่ได้ผ่านพ้นวิกฤติในช่วงที่ผ่านมา
พร้อมกันนี้ ตนได้รับทราบถึงปัญหาอื่นๆของพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนแหล่งกักเก็บน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ปัญหาการถือครองที่ดินทำกิน ปัญหาการก่อสร้างท่าเทียบเรือ รวมถึงการอนุรักษ์ต้นเทียนทะเล การอนุรักษ์ฉลามหูดำ เป็นต้น ซึ่งตนจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะสั่งการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนโดยเร็ว
รมว.ทส. กล่าวอีกว่าอยากจะฝากให้พี่น้องประชาชนและผู้เกี่ยวข้องว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะหาจุดสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่คงไม่ใช่เรื่องยากหากเราช่วยกัน ทรัพยากรธรรมชาติสามารถฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติ เพียงแต่ต้องอาศัยระยะเวลาและการงดการรบกวนจากกิจกรรมมนุษย์ การท่องเที่ยวที่ไม่เกินศักยภาพที่ธรรมชาติรองรับได้ การทำประมงอย่างถูกหลักวิธี การไม่ทิ้งขยะลงทะเล การลดการใช้พลาสติก และการปล่อยมลพิษลงสู่ทะเล สิ่งต่างๆเหล่านี้คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศคงความสมดุลและคงอยู่อย่างยั่งยืน ไม่ต้องบอกว่าใครคือผู้รับผิดชอบหลัก ใครคือผู้สนับสนุน เราทุกคนมีภาระหน้าที่เท่าเทียม
หลังจากนี้ เราต้องเตรียมการเพื่อเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เราต้องร่วมกันสร้างสิ่งต่างๆให้ดีกว่าเดิม หรือ Build Back Better ทั้งนี้ได้สั่งการให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. และนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เตรียมแผนรองรับการเปิดพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล รวมถึงประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินงานอย่างจริงจังต่อไป
ด้าน นายโสภณ กล่าวว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลเกาะพะงัน (เกาะเต่า) จ.สุราษฎร์ธานี ตามแนวนโยบาย รมว.ทส. เพื่อเป็นหน่วยประสานและดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ พร้อมทั้งเป็นหน่วยให้ความรู้และประสานความร่วมมือกับชุมชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยได้ประสานงานกับนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีส่วนร่วม ครอบคลุมพื้นที่เกาะเต่า เกาะพะงัน เกาะสมุย และแหล่งทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในเร็วๆนี้ โดยจะเน้นการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ คำนึงถึงระบบนิเวศและคงความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |