'หมอจุฬาฯ'แนะแนวป้องกันโควิดหลังปลดล็อค'ผับ-บาร์-คาราโอเกะ'


เพิ่มเพื่อน    

21 มิ.ย.63-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่องมาตรการสำหรับผับ...บาร์...คาราโอเกะ... ระบุว่า ไม่ได้มองแบบโลกสวย แต่มองตามความเป็นจริง เราคงต้องยอมรับว่า เห็นใจผู้ประกอบการ และคนทำงานกลางคืนอย่างยิ่ง และหากเราต้องปลดล็อคให้กิจการดำเนินการแล้ว วัตถุประสงค์หลักคือ อยากให้ทุกคน ทั้งคนทำงานกลางคืน ประชาชนที่มาใช้บริการ และตัวกิจการเองนั้น อยู่รอดปลอดภัยไปยาวๆ 

โจทย์หลักที่ต้องตีให้แตกคือ ความเสี่ยงหลักอยู่ที่อะไรบ้าง? กิจการต่างๆ ข้างต้น ถือเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ใช่แค่การดื่มด่ำกับดนตรี แต่มีการเต้น และอาจมีการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างคน ตั้งแต่กระซิบกระซาบ ตะโกน หรือกอดรัดฟัดเหวี่ยงกันตามสถานการณ์ รวมถึงการแชร์ของกินของใช้กันระหว่างใช้บริการ ปัจจัยเสี่ยงหลักที่จะทำให้โรคระบาดคือ การใกล้ชิด แชร์ของกินของใช้ สัมผัสจับต้องคน หรือสิ่งของที่มีเชื้อแล้วนำเข้าสู่ร่างกาย และระหว่างใช้สุขา จะอ้วก หรืออื่นๆ

ส่วนปัจจัยหนุนเสริมที่จะทำให้ใกล้ชิดกัน สัมผัสกัน ขาดสติ คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติดต่างๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว "ความเสี่ยงที่พอจะจัดการลดได้" 1. ทำความสะอาดจานชาม ช้อนส้อม ตะเกียบ แก้วน้ำ สถานที่ ที่นั่ง ราวจับ ไมโครโฟน และสุขาให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ 2. คัดกรองคน ทั้งคนทำงาน และคนมาใช้บริการ ด้วยกระบวนการมาตรฐาน วัดไข้ และใช้ระบบบันทึกรายละเอียดบุคคลเพื่อใช้ในการติดตามหรือเตือนให้ไปตรวจหากเกิดมีการตรวจพบคนติดเชื้อในวันเวลาที่มาใช้บริการ 3. จำกัดจำนวนคนในพื้นที่ 4. รักษาระยะห่างระหว่างวงดนตรี/นักดนตรี/นักแสดง กับลูกค้า และงดการจับมือ 5. วงดนตรี นักดนตรี นักแสดง ใส่เฟซชิลด์ แม้จะช่วยได้ไม่มากนักก็ดีกว่าไม่ใช้ 6. ลักษณะของเพลง: ควรเลี่ยงเพลงที่มี"เนื้อหา"ปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ หรือเน้นความรุนแรงและกระตุ้นให้เกิดการตะโกน แต่เรื่องทำนองเพลงนั้น งานวิจัยยังมีข้อถกเถียงกัน 7. เน้นนโยบายไม่แชร์ของกินของใช้ 8. เจ้าของกิจการควรจัดการเรื่องต่างๆ ที่ระบุไว้อย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้เกิดโรคระบาดจนทำให้กิจการต้องปิดอีกยาว 

"สิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม และสำคัญอย่างมากคือ การส่งคนทำงานทุกคนไปตรวจคัดกรองโรค COVID-19 ทุก 1-2 สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านครับ "ความเสี่ยงที่จัดการไม่ได้หรือทำได้ยาก" 1. ความใกล้ชิด: จะให้คนมาเที่ยวไม่ใกล้ชิดกัน คงพูดเป็นการ์ตูน หากเป็นเช่นนั้นเค้าคงร้องหรือฟังเพลงและเต้นอยู่ที่บ้าน การรักษาระยะห่างคงเป็นไปได้ยาก 2. การสัมผัสจับต้องคน: มีคนมาเที่ยวจำนวนไม่น้อยมาหาสุนทรียะจากการอยู่สนิทชิดเชื้อกับคนที่ชอบหรือต้องตาต้องใจ ยกเว้นบางส่วนที่มาฟังเพลง หรือร้องเพลงจริงๆ 3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มนั้น ในทางปฏิบัติแล้วยากในการควบคุมเรื่องปริมาณการดื่ม ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมสติ อารมณ์ และการยับยั้งชั่งใจ เพิ่มความกล้าได้กล้าเสียหรือทำเรื่องเสี่ยง 4. การจำกัดเวลา: คงยากที่จะจำกัดเวลาให้อยู่ในสถานบันเทิงแบบสั้น คงทำได้เพียงจำกัดเวลาการเปิดบริการให้เป็นไปตามปกติ แต่ไม่โต้รุ่ง"

ดังนั้น "ประชาชนที่มาใช้บริการ" ควรให้ความร่วมมือในการคัดกรองและให้รายละเอียดเพื่อติดตามตัวกรณีมีเหตุการณ์ติดเชื้อขึ้นในสถานที่นั้น โดยหลังกลับบ้านไปแล้ว ต้องตระหนักว่าได้ไปสัมผัสความเสี่ยงต่อ COVID-19 มา และควรสังเกตอาการด้วยตนเอง 14 วัน หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล
โดยสรุป กิจการเสี่ยงมากๆ เราควรใช้มาตรการร่วมกัน ระหว่างการลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะจัดการได้ (Minimize manageable risks) กับการตรวจหมั่นตรวจสอบอาการของตนเอง เพื่อรีบตรวจรักษาได้ทันท่วงที (early detection and early treatment)

อย่าลืม...ดำรงชีวิตประจำวันด้วยการใส่หน้ากาก...ล้างมือบ่อยๆ...อยู่ห่างๆ คนอื่นอย่างน้อย 1 เมตร...พูดน้อยลง...พบปะคนน้อยลงสั้นลง...เลี่ยงที่อโคจร...หมั่นเช็คอาการตนเองและคนในครอบครัว...
แล้วเราจะผ่านพ้นวิกฤติโควิดไปด้วยกันครับ ด้วยรักต่อทุกคน... ประเทศไทยต้องทำได้...


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"