11 เม.ย. -เพจเฟซบุ๊ก พิราบแรงงาน แจ้งว่า บริษัทซัมมิท โอโตซิท อินดัสตรี จำกัด ส่งหนังสือประกาศเลิกจ้างถึงนายพนม เพ็ญสุข รองประธานสหภาพแรงงานซัมมิท โอโตซิท อินดัสตรี (SAS) โดยให้เหตุผลว่า มาจากการปรับลดขนาดขององค์กรลงให้มีความเหมาะสมกับสภาพธุรกิจในปัจจุบันที่ประสบภาวะขาดทุน และหรือ นายพนม ไม่มีการงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งผลการประเมินพบว่า งานของนายพนมอยู่ในข่ายที่ต้องพิจารณา บริษัทฯ จึงขอใช้สิทธิตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและตามกฎหมายแรงงานเรื่องการเลิกจ้าง โดยให้มีผลตั้งแต่ 11เม.ย.2561 เป็นต้นไป นอกจากนี้ในหนังสือของบริษัทฯ ดังกล่าวยังระบุด้วยว่า เรื่องการเลิกจ้างนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาเลิกจ้างของบริษัทฯ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ตัวแทนฝ่ายสหภาพแรงงาน และกรรมการกลาง แล้ว
สำหรับนายพนม เพ็ญสุข นอกจากเป็นรองประธานสหภาพแรงงานSAS แล้ว ยังมีบทบาทในฐานะรองเลขาธิการสภาองค์กรลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย และกรรมการสหพันธ์แรงงานโตโยต้าทำงานขับเคลื่อนประเด็นแรงงาน ทำงานมวลชนในองค์กรแรงงานทั้งภายนอกและภายใน เป็นปากเป็นเสียงให้กับพี่น้องแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไม่เคยขาด
ขณะที่ สภาองค์กรลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย แจ้งว่า ในสัปดาห์หน้า คณะกรรมการ สภาฯยานยนต์แห่งประเทศไทย จะมีการนัดประชุมถึงกรณีดังกล่าว เนื่องจากการข่าวการเลิกจ้างพนมเป็นที่สนใจในกลุ่มสหภาพแรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เป็นจำนวนมาก.
จากประวัติการเติบโตของ กลุ่มซัมมิท ปีพ.ศ. 2515 ก่อตั้งกลุ่มบริษัทซัมมิท โดยมีหุ้นส่วนเป็นคนไทยทั้งหมด ภายใต้ชื่อ ซัมมิท โอโตซีท อินดัสตรี กิจการเริ่มแรกของบริษัท คือ การผลิตเบาะสำหรับมอเตอร์ไซต์ และชิ้นส่วนภายในรถยนต์ ถือเป็นก้าวแรกของกลุ่มบริษัทซัมมิท ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ปี 2515 เป็นช่วงยุคทองของ “สามมิตร” ที่โตอย่างก้าวกระโดดจากนโยบายรัฐบาลที่บังคับให้ต้องใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศในอัตรา 25% สำหรับรถจักรยานยนต์ และอัตรา 20% สำหรับรถยนต์ที่ประกอบภายในประเทศ ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้บริษัทเล็กๆ ที่ซ่อมเบาะรถจักรยานยนต์และรถยนต์ มีงานเข้ามาจำนวนมากจนผันตัวเป็นผู้ผลิต OEM ให้กับโรงงานประกอบรถยนต์ โดยมียามาฮ่าเป็นผู้ว่าจ้างรายแรก จากห้องสี่คูหา ก็ขยายเป็นที่ดินและโรงงานขนาดย่อม แล้วเติบโตเป็นโรงงานขนาดใหญ่ขนาด 50 ไร่ที่บางนา-ตราด
ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช้มีเฉพาะธุรกิจของครอบครัวเท่านั้น ตัวเถ้าแก่อย่าง “จึง ฮังตง” และน้องชายคนรอง "จึง ฮั้งฮ้อ" ก็มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองเช่นกัน โดยมีการเปลี่ยนชื่อสกุลจีนเป็นไทย คือ สรรเสริญ จุฬางกูร และ พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ
เหตุผลที่พี่ใหญ่ สรรเสริญ ใช้นามสกุล “จุฬางกูร” ไม่ใช้นามสกุล “จึงรุ่งเรืองกิจ” เหมือนพี่น้องคนอื่นเพราะ หนึ่งเป็นคนต่างด้าวไม่ได้เกิดที่ประเทศไทย และ สองอยากสร้างความแตกต่างเป็นตัวของตัวเอง
น้องรอง พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ ได้แยกไปทำธุรกิจของตัวเองตอนปี พ.ศ. 2520 เป็น บริษัท ซัมมิทโอโตพาร์ท อินดัสตรี เน้นด้านเบาะและชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีอนาคตดีมาก ส่วนสรรเสริญ ดูแล บริษัท ซัมมิทโอโตซีท อินดัสตรี เน้นเบาะและชิ้นส่วนรถยนต์ ต่างคนต่างแยกการบริหารชัดเจน ภายหลังกลุ่มของ พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ จะเพิ่มคำว่า “ไทย” ไปในชื่อเช่น ไทยซัมมิทโอโตพาร์ท ไทยชนาธรอุตสาหกรรม ไทยฮาร์เนส ไทยซัมมิทเอนจิเนียริ่งและไทยซัมมิทพีเค ส่วนของ สรรเสริญ จุฬางกูร ยังคงใช้คำขึ้นต้นว่า "ซัมมิท"
เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Sustarum Thammaboosadee สรุปประเด็นที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ live คู่กับปีกแรงงานของพรรคและพูดถึงแนวทางด้านการพัฒนาสวัสดิการของพรรคแม้จะไม่ได้พูดนโยบายโดยตรงแต่สามารถตีความว่า เขาและพรรคจะสนับสนุนประเด็นแรงงานที่น่าสนใจดังนี้
1.พรรคจะเสนอว่ารัฐมนตรีแรงงานจะเป็นผู้ใช้แรงงานเอง
2.สนับสนุนการรวมตัวของสหภาพแรงงาน และไม่กีดกันแรงงานข้ามชาติ ในลักษณะสามัคคีกรรมกรข้ามเชื้อชาติ (ก่อนหน้านี้เขาแสดงจุดยืนที่เป็นมิตรกับผู้อพยพด้านมนุษยธรรมเช่นกัน)
3.แม้ไม่ได้พูดโดยตรง แต่ธนาธรระบุว่าถ้ารัฐบาลประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ ' 450บาท/วัน' ก็เป็นไปได้ทุกบริษัทที่ต้องปรับตัว เพื่อให้ชีวิตของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น
4.ชีวิตคนผูกติดกับที่ทำงานมากกว่าชุมชนโดยกำเนิด สิ่งจำเป็นคือการให้ผู้ใช้แรงงานเลือกตั้งตามสถานประกอบการ
5.หนี้สินของผู้ใช้แรงงานด้านหนึ่งเกิดจากลูก ที่ต้องรับภาระสูงมาก เขาได้ย้ำข้อเสนอ เงินเลี้ยงดูเด็กเดือนละ 1500/เดือน -จะทำให้เด็กไม่ถูกกักขังบนความโชคร้ายที่เกิดมายากจน
6.การเสนอ แนวคิด Negative Income Tax -เงินคืนภาษีคนรายได้น้อยกว่า 100,000/ปี ได้รับเงินคืนภาษีทันทีเพื่อให้สามารถก้าวพ้นความยากจนได้ สิ่งนี้จะช่วยแรงงานนอกระบบได้ส่วนหนึ่ง และทำให้คนเข้าระบบภาษีเยอะขึ้นง่ายต่อการจัดสวัสดิการต่อไป
7.เสนอที่รับเลี้ยงเด็กในย่านอุตสาหกรรม(และพื้นที่อื่นๆ) ที่ ฟรี และดี เพื่อให้แม่ไม่ต้องออกจากงานมาเลี้ยงลูกและพลาดโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ประเด็นสำคัญคือการย้ำเรื่อง social mobility ทุกคนต้องไม่ถูกขังด้วยความโชคร้ายโดยชาติกำเนิด และมีชะตาชีวิตของตัวเองได้
เราอาจไม่สามารถบอกได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
แต่คงบอกได้ว่าหากประเมินแนวนโยบายตามนี้ นับเป็นทิศทางที่ดีในการพัฒนาสู่พรรคที่เน้นประโยชน์คนส่วนใหญ่ ที่อาจพัฒนาสู่ลักษณะพรรค Labour ภายใต้เจเรมี คอร์บินของอังกฤษในอนาคตก็เป็นได้"
อย่างไรก็ตามยังคงมีประเด็นค้างคาใจ ในปี 2549 พนักงานบริษัทไทยซัมมิท อีสเทิร์น ซีบอร์ด ออโต้พาร์ท อินดัสตรี จำกัด จำนวน 260 คน ถูกเลิกจ้างงานเพราะได้ไปสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้าประเทศไทย
ต่อมาในปี 2557 บริษัทซัมมิทมีการกดดันให้พนักงานทำงานล่วงเวลา แทนที่จะจ่ายค่าจ้างในระดับเพียงพอและรับสมัครคนงานเพิ่ม และบริษัทก็ลงโทษพนักงานที่ไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานล่วงเวลา
นอกจากนี้ทางบริษัทได้ออกคำสั่งให้กรรมการสหภาพ 4 คน คือ ประธาน รองประธาน กรรมการพื้นที่แหลมฉบัง และกรรมการพื้นที่ระยอง หยุดปฏิบัติงาน เพื่อหวังปลดออก
และล่าสุดบริษัทซัมมิท โอโตซิท อินดัสตรี จำกัด ของคนในตระกูลเดียวกัน ได้เลิกจ้างถึงนายพนม รองประธานสหภาพแรงงานซัมมิท โอโตซิท อินดัสตรี (SAS) อ้างว่า มาจากการปรับลดขนาดขององค์กรลงให้มีความเหมาะสมกับสภาพธุรกิจในปัจจุบันที่ประสบภาวะขาดทุน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |