รัฐบาลเดินเครื่อง'อีอีซี'เต็มสูบ ลงนามอภิโปรเจ็กต์2.9แสนล.


เพิ่มเพื่อน    


    เดินเครื่องอีอีซีเต็มสูบ "บิ๊กตู่" เซ็นร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ผนึก 3 ทุนใหญ่ในประเทศ “ปราสาททองโอสถ-บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์-ซิโน-ไทย” พุ่งเป้าสู่ศูนย์กลางการบินประตูสู่เศรษฐกิจเอเชีย ยกระดับประเทศพร้อมรับการลงทุนทุกมิติ 
    เมื่อวันศุกร์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ระหว่างสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นเฉพาะกิจโดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส
     โดยผู้ร่วมลงนามสัญญาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ ประกอบด้วย พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ, นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท การบินกรุงเทพ จํากัด (มหาชน), นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) และนายภาคภูมิ ศรีชํานิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน)
    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ทุกคนยินดีที่โครงการมีความคืบหน้า ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนต่อเนื่องจากการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เมื่อ 24 ต.ค.2562 ที่ผ่านมา เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักของอีอีซีที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน พร้อมยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาค อีกทั้งจะมีความต่อเนื่องในการลงทุนในทุกมิติ
     "เราจะต้องเป็น new normal คิดใหม่ ชีวิตที่เป็นปกติใหม่ เราต้องมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นคือความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ซึ่งไม่มีอะไรทำได้โดยคนคนเดียว โครงการอีอีซีเกิดขึ้นโดยการนำพาของรัฐบาล มีหลายพรรคหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ขอฝากทุกคนไว้ด้วยว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นแบบนี้ขอให้ทำกันต่อไป ผมคาดหวังว่าส่งที่ทำในวันนี้จะเป็นประโยชน์เพื่ออนาคต โครงการนี้มีอายุสัญญาโครงการกว่า 50 ปี พวกเราใครจะอยู่ก็อยู่ ผมก็หวังว่าจะอยู่กันได้ทุกคน แต่ไม่ว่าเราจะอยู่หรือไม่อยู่โครงการนี้ก็จะอยู่คู่กับประเทศยาวนาน” นายกรัฐมนตรีระบุ
    ด้านนายคณิศกล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่รัฐบาลร่วมกันเอกชน ซึ่งเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่เอเชียแปซิฟิกในปีนี้ที่มีเงินลุงทุน 2.9 แสนล้านบาท ถือเป็นโครงการที่รัฐได้ผลประโยชน์ด้านการเงิน 305,555 ล้านบาท ได้ภาษีอากรกว่า 62,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานเพิ่ม 15,600 ตำแหน่งต่อปีในระยะ 5 ปีแรก เกิดการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านธุรกิจการบินและธุรกิจเชื่อมโยง เพิ่มเทคโนโลยีองค์ความรู้ด้านธุรกิจการบิน โดยทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา และที่น่ายินดีคือบริษัทของประเทศไทยเป็นผู้นำในการพัฒนาโดยไม่ต้องพึ่งต่างชาติ จะทำให้เงินไหลเวียนภายในประเทศไม่ถูกนำออกนอกประเทศไปกับบริษัทต่างชาติ
    นายคณิศระบุด้วยว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ถือเป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักสําคัญของอีอีซี มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง ทําให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี
    “นอกจากนี้ โครงการจะทําให้เกิดศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมาย โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของมหานครการบินภาคตะวันออก ที่ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง ประมาณ 30 กม. โดยรอบสนามบิน (พัทยาถึงระยอง) ซึ่งเป็นการสานต่อเจตนารมณ์การพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจเข้าเชื่อมโยงเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯและปริมณฑลไปทางตะวันออก ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้สะดวกทั้งทางน้ำ ทางบกและทางอากาศ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย” นายคณิศระบุ 
    ด้าน พล.ร.ต.เกริกไชย วรนาภรณ์ รองปลัดบัญชีทหารเรือ ในฐานะเลขานุการและกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน กล่าวว่า ในส่วนของกองทัพเรือ ขั้นตอนจากนี้คือการส่งมอบพื้นที่ 6,500 ไร่ และขณะนี้สนามบินอู่ตะเภา มีอยู่ 1 รันเวย์ ที่มีขนาดใหญ่ การสร้างรันเวย์ที่ 2 ผบ.ทร.ให้แนวทางไว้ชัดเจนว่าต้องสร้างได้เทียบเท่าหรือดีกว่ารันเวย์ที่ 1 และขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ehia) ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง เหลืออีก 1 ครั้ง จากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามขั้นตอนต่อไป
    ขณะที่นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นับเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย  จากการผนึกกำลังของภาคเอกชนทั้งสามกิจการ ภายใต้ความร่วมมือกันใช้ทรัพยากรและศักยภาพที่โดดเด่น สามารถสร้างผลประโยชน์สูงสุดคืนให้กับภาครัฐและประชาชน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"