สตช.-อย.ทะลาย2 โกดังนำถุงมือแพทย์ใช้แล้วจากประเทศเพื่อนบ้าน 10ล้านชิ้น มาบรรจุขายใหม่ รวมมูลค่า50ล้าน


เพิ่มเพื่อน    


18 มิ.ย.63-  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดย พลตำรวจโท เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานปราบปรามผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพที่ผิดกฎหมาย พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. ในฐานะเลขานุการคณะทำงานฯ, พ.ต.อ.ธวัช ปิ่นประยงค์, พ.ต.อ.อนันต์ นานาสมบัติ, พ.ต.อ.ศารุติ แขวงโสภา, พ.ต.อ.ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ รอง ผบก.ปคบ, พ.ต.อ.ภาส สิริสุขะ   รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.เชษฐ์พันธ์ กิติเจริญศักดิ์ ผกก.1 บก.ปคบ., พ.ต.ท.ไกรวิศท์ แสนทวีสุข, พ.ต.ท.รังษิต ทะริยะ รอง ผกก.1 บก.ปคบ., พ.ต.ต.อนันต์ บัวแก้ว, ร.ต.อ.มานิตย์ สุ่มมาตย์ สว.กก.1 บก.ปคบ., พ.ต.ท.เอกรัตน์ ทัศเจริญรอง ผกก.ป.สภ.หนองเสือ, พ.ต.ท.ธวัชชัย โป๊ะโดย สว.สส. สภ.ซับใหญ่ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข 


โดย นพ. ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการตรวจยึดถุงมือทางการแพทย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปทุมธานี หลังจากตำรวจกองกำกับการ 1 ปคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่า พบโกดังแห่งหนึ่งนำถุงมือทางการแพทย์ที่ใช้แล้วจากประเทศเพื่อนบ้านมาหลอกขายในราคาสินค้าใหม่แกะกล่อง ซึ่งสินค้าดังกล่าวประชาชนรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์จะต้องนำไปใช้เพื่อป้องกันโรค โดยเฉพาะในช่วงนี้จะต้องใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Covid-19 ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค คณะทำงานฯ จึงได้สั่งการให้ชุดสืบสวนทำการสืบสวน จนเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2563 จึงได้ขออนุมัติหมายค้นจากศาลรวม 2 จุด ดังนี้

               จุดที่ 1 บริษัท เนเซอรัลเลเท็กซ์ แมทเทรส แอนด์ พิลโล จำกัด ตั้งอยู่ เลขที่ 9/9 หมู่ที่ 2 ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ขณะเข้าทำการตรวจค้น พบว่า กำลังคัดแยกและบรรจุถุงมือลงกล่อง เพื่อเตรียมจัดส่งให้กับลูกค้า และพบถุงมือที่มีสภาพทั้งดีและเสียบรรจุในกระสอบเป็นจำนวนมาก

               จุดที่ 2 LEK OMAK CO., LTD. & ROYAL CORPORATION CO., LTD. ตั้งอยู่เลขที่ 392 ถนนพระราม 2 ซอย 44 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นโกดังเก็บสินค้า ผลการตรวจค้น พบถุงมือในกระสอบเป็นจำนวนมาก
               จึงได้ทำการตรวจยึดและอายัดของกลาง
               1. กระสอบสีขาวบรรจุถุงมือยาง 1,945 กระสอบ รวม 10,835,000 ชิ้น  
               2. ลังบรรจุกล่องกระดาษสีขาวฟ้า ยี่ห้อ skymed บรรจุ Examination Glove 656 ลัง รวม 656,000 ชิ้น
               3. ลังบรรจุถุงมือยาง ไม่ระบุยี่ห้อ 95 ลัง รวม 9,500 ชิ้น
               4. กล่องเปล่าสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ skymed 500 กล่อง     และคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์สำหรับการบรรจุ
               รวมของกลางมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท

               ทั้งนี้ จากการสอบสวนเบื้องต้น เข้าข่ายความผิดดังนี้ฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้น         ไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
      2. ฐานไม่จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
      3. ฐานผลิตเครื่องมือแพทย์ปลอม โดยลวงให้เข้าใจผิดในเรื่องชื่อ ส่วนประกอบ คุณภาพ ชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   
      4. ฐานขายเครื่องมือแพทย์ปลอม โดยลวงให้เข้าใจผิดในเรื่องชื่อ ส่วนประกอบ คุณภาพ ชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      5. ฐานผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ คือเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตหรือเก็บรักษาโดยไม่ถูกสุขลักษณะ โดยนำถุงมือที่มีสภาพทั้งดีและเสียบรรจุกระสอบมาคัดแยก จากนั้นจึงนำมาบรรจุใส่กล่องผลิตภัณฑ์ขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      6. ฐานขายเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ คือเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตหรือเก็บรักษาโดยไม่ถูกสุขลักษณะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พลตำรวจโท เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเป็นช่องของผู้ประกอบการที่ขาดคุณธรรมฉวยโอกาสนำผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานมาจำหน่าย โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจทำให้พี่น้องประชาชนได้รับอันตราย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานปราบปรามผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพที่ผิดกฎหมายขึ้นมา โดยเน้นย้ำในการจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ และประสานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งผลการปฏิบัติที่ผ่านมาสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดและตรวจยึดของกลางได้เป็นจำนวนมากนับแสนรายการ ทั้งแอลกอฮอล์เจล หน้ากากอนามัย ชุด PPE เทอร์โมมิเตอร์ เป็นต้นจึงขอเตือนผู้ประกอบการที่ยังลักลอบกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นการผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายให้หยุดการกระทำดังกล่าวทันที หากตรวจพบจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด 

          ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ถุงมือตรวจโรคเป็นถุงมือทางการแพทย์ที่มีวัตถุประสงค์สําหรับใช้สวมมือเพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างผู้ป่วยและผู้ใช้ในการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาโรค รวมถึงใช้สําหรับการจับหรือสัมผัสกับวัสดุทางการแพทย์ที่อาจปนเปื้อนด้วย ซึ่งต้องมีคุณภาพ มาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งในช่วงของสถานการณ์โควิด-19 มักพบการฉวยโอกาสลักลอบผลิตและนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นต้องใช้เกี่ยวกับการป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ซึ่ง อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยกันสอดส่องดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค หากพบเห็นการลักลอบผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องสงสัย หรือต้องการตรวจสอบการได้รับอนุญาตของผลิตภัณฑ์สุขภาพสามารถดำเนินการผ่าน 4 ช่องทางหลัก ได้แก่ สายด่วน อย. 1556 หรือ Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ และ สายด่วน บก.ปคบ. 1135 รองเลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"