ยางรถยนต์ต้นแบบ “รีชาร์จ” (reCharge) ของกู๊ดเยียร์ คือ คอนเซ็ปต์การสร้างดอกยางได้เองที่ปฏิวัติวงการยางรถยนต์ พร้อมสามารถปรับและเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการของผู้ขับขี่
ไมค์ ไรโตโคสกี้ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด กู๊ดเยียร์ภาคพื้นยุโรป เปิดเผยว่า ความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้านี้เอง ที่ผลักดันให้เราพัฒนายางรถยนต์ต้นแบบที่ตอบโจทย์โลกแห่งอนาคตเพื่อการขับขี่ที่สะดวกสบายและปรับให้เข้ากับความต้องการของแต่ละคนได้ ยางรถยนต์ต้นแบบ “รีชาร์จ” มาพร้อมกับนวัตกรรมที่ล้ำสมัยมากมายที่พัฒนาบนพื้นฐาน 3 แนวคิดหลัก ต่อไปนี้ปรับเปลี่ยนให้ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะตัว หัวใจสำคัญของยางรถยนต์ต้นแบบ “รีชาร์จ” คือยางที่คอมพาวด์สามารถย่อยสลายทางชีวภาพและเติมเต็มใหม่ได้ด้วยแคปซูลพิเศษที่พลิกโฉมทำให้การเปลี่ยนยางสะดวกและง่ายดาย แคปซูลพิเศษที่บรรจุคอมพาวด์เหลวตามลักษณะการใช้งาน จะทำให้เกิดการสร้างดอกยางขึ้นมาใหม่ และเส้นยางใหม่ที่ได้จะค่อย ๆ ปรับสภาพให้เข้ากับสภาวะอากาศ สภาพถนน โดยตอบสนองความต้องการในการเดินทางของคุณได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก AI ได้สร้างข้อมูลรายละเอียดของผู้ขับขี่ขึ้นมาให้เหมาะกับการปรับตัวของคอมพาวด์ที่เติมเข้าไป กลายเป็นส่วนผสมคอมพาวด์ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของผู้ขับขี่แต่ละคน ตัวเนื้อยางหรือคอมพาวด์นั้น ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ เสริมความแข็งแกร่งด้วยเส้นใยที่ได้ แรงบันดาลใจมาจากเส้นใยแมงมุม หนึ่งในเส้นใยทางธรรมชาติที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก จึงทำให้เส้นยางทนทานที่สุดและสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% นอกจากจะพลิกโฉมขั้นตอนการเปลี่ยนยางให้ง่ายดายที่สุดด้วยแคปซูลที่เติมลงไปในยางเก่าได้แล้ว ดอกยางที่ได้ยังมีน้ำหนักเบา ไร้ลมยาง ทรงสูง–แคบ ทำให้เส้นยางมีทรงที่เพรียว คล่องตัว ดูแลง่ายเป็นที่สุด ช่วยลดปัญหาการดูแลลมยาง หรือการที่ยางรั่วจนไม่สามารถใช้การได้ ยางรถยนต์ต้นแบบ “รีชาร์จ” ของกู๊ดเยียร์ เป็นคอนเซ็ปต์ที่โดดเด่นเหนือใคร คิดค้นมาเพื่อรองรับวิถีแห่งการขับขี่และขับเคลื่อนที่สะดวก สบาย ยั่งยืน และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |