'ชาวไทใหญ่' จัดงานรำลึกวันกองทัพพม่าสังหารโหด 56 ชีวิตเมืองพันเกาะ


เพิ่มเพื่อน    

16 มิ.ย.63 - นาวสาวจ๋ามตอง นักสิทธิมนุษยชนไทใหญ่เปิดเผยว่าชุมชนชาวไทใหญ่ ในรัฐฉาน ได้ออกแถลงการณ์และจัดกิจกรรมทำบุญเพื่อรำลึกลึกถึงการสังหารหมู่ประชาชนรัฐฉาน จำนวน 56 ราย โดยกองทัพพม่า ที่น้ำตกตาดพาโฮ และทรายขาว ในเขตเมืองพันเกาะ หรือเมืองกุ๋นฮิง ในรัฐฉาน ประเทศพม่า เมื่อปี 2540 ซึ่งเป็นการสังหารหมู่ประชาชนโดยกองทัพพม่าในวันเดียวที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด ในช่วงที่มีปฏิบัตการกวาดล้างทางภาคกลางและภาคใต้ของรัฐฉาน ระหว่างปี 2539-2541

นักสิทธิมนุษยชนไทใหญ่กล่าวว่า ในวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ชาวบ้านรัฐฉาน ที่มีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กๆ จำนวน 56 คน ถูกกองทัพพม่าสังหารอย่างโหดเหี้ยม โดย 1 เดือนก่อนหน้านั้น ชาวบ้านถูกบังคับอพยพจากหมู่บ้านเดิมที่ริมแม่น้ำป๋าง ลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาละวิน ให้ไปอยู่ที่เมืองกุ๋นฮิง โดยกองทัพพม่าได้อนุญาตให้ชาวบ้านกลับไปยังหมู่บ้านเดิมด้วยเกวียนเทียมวัว เพื่อเก็บข้าวสารและสิ่งของ แต่ระหว่างทาง ชาวบ้านกลุ่มนี้ถูกทหารพม่าจับกุม และยิงสังหารทั้งหมดตามคำสั่งที่ได้รับมา ที่พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำป๋าง ใกล้น้ำตกตาดพาโฮ โดยหลังจากการสังหารไม่ได้มีการเก็บศพ หรือทำพิธีใดๆ แต่ศพทั้งหมดถูกปล่อยให้เน่าสลายไปเอง

นักสิทธิมนุษยชนชาวไทใหญ่ กล่าวว่า ที่ผ่านมายังไม่มีผู้กระทำผิดจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ให้ได้รับโทษ ไม่มีผู้รับผิดต่อการทรมาน ข่มขืน และสังหารประชาชนอีกหลายร้อยคนในรัฐฉาน ระหว่างปฏิบัติการกวาดล้างของกองทัพพม่า ระหว่างปี2539-2540 ที่ถอนรากถอนโคนประชาชนกว่า 400,000 คน ใน15 เมืองของรัฐฉาน เป็นเหตุให้หมู่บ้านต่างๆ นับร้อยแห่งทางตอนใต้ของเมืองกุ๋นฮิง หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เมืองฟันเกาะ” ยังคงถูกทิ้งร้างจนกระทั่งทุกวันนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้หนีมายังประเทศไทย และไม่สามารถกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนได้ เนื่องจากทหารพม่ายังคงอยู่ในพื้นที่

"จากการสำรวจสำมะโนประชากรของพม่าเมื่อปี 2557 เจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าไม่ได้นับรวมประชาชนที่เคยอาศัยอยู่ในเขตเมืองกุ๋นฮิงจำนวนหลายหมื่นคน ทำให้ชาวบ้านเหล่านี้ไม่มีสัญชาติพม่า ไม่มีสิทธิในการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา คือเมื่อ พ.ศ.2553  และ พศ. 2558 และจะไม่มีสิทธิเลือกตั้งในครั้งที่จะมาถึงในปลายปีนี้ด้วย"

การขับไล่และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัฐบาลพม่า ในการขับไล่ ยึดครอง และแสวงหาประโยชน์จากพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ ในขณะที่รัฐบาลพม่าก็เดินหน้าโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบร้ายแรง อาทิ โครงการเขื่อนเมืองโต๋น หรือเขื่อนมายตง ในภาษาพม่า ซึ่งจะสร้างกั้นแม่น้ำสาละวิน ในรัฐฉาน โดยจะทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง รวมทั้งท่วมหมู่บ้านต่างๆ ตามแม่น้ำป๋าง ในเมืองกุ๋นฮิง

"ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ทหารพม่าก็ยังคงปฏิบัติการรอบๆ พื้นที่หัวงานเขื่อน และปฏิบัติมิชอบกับประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นเราจึงเรียกร้องให้รัฐบาลและบริษัทจากต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุน หยุดแสร้งทำเป็นเหมือนมองไม่เห็นต่ออาชญากรรมทั้งในอดีตและปัจจุบันของกองทัพพม่า และยุติความสัมพันธ์แบบปกติกับรัฐบาลพม่า จนกว่ากองทัพพม่าจะเข้ามารับผิด และจนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ ที่รับประกันสิทธิและความปลอดภัยของชุมชนชาติพันธุ์ ที่ถูกทหารพม่าถือปืนขับไล่ออกจากแผ่นดินของตนเอง” นักสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ กล่าว

อนึ่ง โครงการเขื่อนมายตง เป็น 1ใน 7 โครงการเขื่อนที่มีการวางแผนก่อสร้างบนแม่น้ำสาละวิน ในพม่า และพรมแดนไทย-พม่า โดยมีแผนที่จะส่งไฟฟ้าให้แก่จีน และไทย โดยก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่า จะเป็นการลงทุนโดยรัฐวิสหากิจของจีน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"