จัดสรรทุนศิลปะร่วมสมัย ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านช่างสกุลบายศรี –หนุนศิลปินรุ่นใหม่วาดการ์ตูนสู้โควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

 

   วันที่ 16 มิ.ย. - ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า  สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ได้พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนโครงการเงินอุดหนุนการพัฒนาและส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ครั้งที่ 5  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563  จำนวน 7 โครงการ ดังนี้ 1.โครงการจัดศิลปกรรมร่วมสมัยและเชิงปฏิบัติการบนสื่ออินเตอร์เน็ตสังคมออนไลน์ โดย นายสุบิน เมืองจันทร์ 2.โครงการศิลปะบำบัดทุกข์ บำรุงสุข "หยุดเชื้อ อยู่บ้าน สร้างงานศิลป์ เพื่อแผ่นดิน สู้วิกฤตโควิด - 19" โดย รศ.ลิปิกร มาแก้ว 3.โครงการการ์ตูนร่วมสมัยสู้วิกฤตโควิด-19 โดย นายเนติ พิเคราะห์ 4. โครงการ "พลังเพลง พลังศิลป์ พลังใจ" (เพื่อคนไทยสู้ภัยโควิด) โดยนายศรัณย์ ดุ้งบรรพต 5. โครงการ "ศิลปะร่วมสมัยสร้างสรรค์และต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน" โดยวิสาหกิจชุมชนบ้านช่างสกุลบายศรี 6.โครงการ "ศิลปะเพื่อการเยียวยา Art and Creative Healing" ณ ไอคอน อาร์ต แอนด์ คัลเชอร์ สเปซ โดย บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และ 7. โครงการต้นกล้าหัวใจไทย : การแสดงร่วมสมัยปลูกความเป็นไทยในใจเยาวชน โดย บริษัท คิดบวกสิปป์ จำกัด ทั้งนี้ สศร. ได้เน้นย้ำถึงการสร้างสรรค์ผลงาน โดยให้เข้ากับสถานการณ์ของประเทศ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของประชาชนทุกระดับ   สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และเผยแพร่สู่ประชาคมทั่วโลกได้

      นายเนติ พิเคราะห์ ผู้ประสานงานเครือข่ายศิลปินล้านนา กล่าวว่า   โครงการการ์ตูนร่วมสมัยสู้วิกฤตโควิด – 19 ได้จัดทำขึ้น ด้วยการรวมกลุ่มนักศึกษา ศิลปินรุ่นใหม่ ภาคเหนือ จำนวน 35 คน ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้านการวาดภาพการ์ตูน ผ่านมิติทางศิลปะร่วมสมัย สร้างคุณค่าจาก แรงบันดาลใจในช่วงวิกฤตการณ์โควิด - 19    จำนวน 35 เรื่อง เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์วิกฤตการณ์โรคติดต่อโควิด- 19 ในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ จะแสดงผลงานทางออนไลน์ผ่านสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดต่อวงการงาน ศิลปะร่วมสมัย การศึกษา และเป็นการสนับสนุนรายได้เยียวยาศิลปินในวิกฤตการณ์โควิด- 19ด้วย

     นายธนากร  สดใส  ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนช่างสกุลบายศรี กล่าวว่า  โครงการศิลปะร่วมสมัยสร้างสรรค์และต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นการนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น จากความเชื่อ สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัย  ซึ่งมีการถอดรหัสอัตลักษณ์ของชุมชน ไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ จากต้นกล้วยตานี ที่มากกว่าผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น งานตกแต่ง งานดีไซน์ และงานเฟอร์นิเจอร์ โดยใช้นวัตกรรมใหม่เข้ามามีส่วนร่วม ให้มีความสวยงามคงทนมากยิ่งขึ้น  ซึ่งการสนับสนุนดังกล่าว นอกจากจะเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับคนในชุมชนแล้ว ในอนาคตจะมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านการออกแบบสำหรับชุมชน เพื่อการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และการนำเสนอผลงานศิลปะการออกแบบร่วมสมัยในระดับชาติ และระดับนานาชาติต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"